ไขมันช่องท้อง คืออะไร ?
ไขมันช่องท้อง หรือ visceral fat คือ ไขมันที่สะสมอยู่ในร่างกายเนื่องจากเผาผลาญไม่หมด ทำให้ไขมันไปเกาะอยู่ระหว่างกล้ามเนื้อท้องกับอวัยวะในช่องท้อง ทำให้มีลักษณะลงพุง ย้วย ย้อย ซึ่งถือเป็นจุดที่อันตราย เนื่องจากไขมันช่องท้องเหล่านี้ จะขัดขวางทางเดินของเลือดที่ไปหล่อเลี้ยงเซลล์เนื้อเยื่อในร่างกาย และเป็นตัวก่อโรคต่าง ๆ
ในบทความนี้ หมอจะแนะนำวิธีการลดไขมันหน้าท้อง การดูแลตัวเอง สาเหตุและอันตรายจากไขมันหน้าท้อง เพื่อให้ป้องกันและแก้ไขได้ตรงจุดครับ
- ไขมันในช่องท้อง เกิดจากการรับประทานอาหารประเภทไขมัน
เมื่อรับประทานอาหารที่เป็นไขมัน รวมไปถึงคาร์โบไฮเดรตและน้ำตาลเป็นปริมาณมากเกินไป ทำให้ร่างกายเผาผลาญไม่หมด สุดท้ายก็จะถูกเปลี่ยนสภาพมาเป็นไขมัน เกิดการสะสมและแทรกซึมอยู่บริเวณอวัยวะต่าง ๆ
- ไขมันในช่องท้อง เกิดจากการไม่ออกกำลังกาย
สาเหตุที่ร่างกายเผาผลาญไขมันไม่หมด เนื่องมาจากชีวิตประวันที่ไม่ค่อยมีการขยับ หรือเคลือนไหวร่างกายน้อย ไม่ออกกำลังกาย ทำให้ใช้พลังงานน้อย ถึงแม้ว่าจะไม่ได้รับประทานอาหารที่มีไขมันสูง ก็ยังพบภาวะไขมันช่องท้องได้ครับ
การวัดค่าไขมันในช่องท้อง
หากอยากทราบว่าตอนนี้มีไขมันในช่องท้องมากน้อยแค่ไหน เบื้องต้นสามารถวัดด้วยตัวเองได้ เรียกว่า Waist-to-Hip Ratio Measurement โดยการใช้สายวัดสัดส่วน เป็นวิธีที่ทางองค์การอนามัยโลก (WHO) ให้การยอมรับ
วิธีวัด
- วัดรอบเอว โดยใช้หน่วยวัดเป็นเซนติเมตร
- วัดรอบสะโพก โดยใช้หน่วยวัดเป็นเซนติเมตร
- นำตัวเลขรอบเอว มาหารด้วยตัวเลขรอบสะโพก จะได้ทศนิยม 2 หลัก
ตัวอย่าง : รอบเอว 74 ÷ 90 = 0.88
สำหรับไขมันในช่องท้องค่าปกติ ของผู้หญิงและผู้ชายจะมีความแตกต่างกันเล็กน้อยครับ
- ผู้หญิง ที่ได้ค่ามากกว่า 0.80 แปลว่ามีไขมันในช่องท้องเยอะ
- ผู้ชาย ที่ได้ค่ามากกว่า 0.95 แปลว่ามีไขมันในช่องท้องเยอะ
โรคที่เกิดจากไขมันช่องท้องเยอะมากเกินไป
- โรคเบาหวานประเภท 2 เนื่องจากไขมันเข้าไปกระตุ้นให้เกิดภาวะดื้ออินซูลิน
- โรคไขมันในเลือดสูง ร่างกายกระตุ้นการสร้างไขมันเหลว หรือคลอเลสเตอรอลมากกว่าไขมันดี
- โรคความดันโลหิตสูง ร่างกายมีระดับอินซูลินในเลือดสูง
- โรคหัวใจ เกิดจากไขมันไปเกาะอยู่ตามหลอดเลือดหัวใจ ทำให้หัวใจทำงานหนัก และไขมันอุดตันในเส้นเลือด
- โรคอัลไซเมอร์ ไขมันไปอุดตันตามหลอดเลือดแดง ทำให้สมองมีเลือดไปเลี้ยงไม่พอ
- ภาวะไขมันพอกตับ ไขมันจะขัดขวางการเผาผลาญน้ำตาล
- ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Sleep Apnea) ไขมันขัดขวางการขยายตัวของปอด ทำให้หายใจไม่เป็นปกติ ร่างกายอาจหยุดหายใจขณะนอนหลับได้
- โรคหลอดเลือดหัวใจขาดเลือด ไขมันไปเกาะอยู่ตามผนังหลอดเลือด ทำให้ระบบการไหลเวียนโลหิตผิดปกติ
- โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ไขมันทำให้หลอดเลือดในสมองตีบ และนำไปสู่โรคหลอดเลือดสมอง
- ภาวะภูมิแพ้ ไขมันไปอุดตันอยู่ตามหลอดเลือด ทำให้การไหลเวียนของเลือดผิดปกติ ส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ
ในการรักษาหากมีไขมันในช่องท้องเยอะจนก่ออันตรายต่อสุขภาพ สามารถวัดไขมันในเลือด (วัด Total cholesterol, Triglycerides, HDL-c, LDL-c) เพื่อเช็คระดับไขมัน คอเลสเตอรอลชนิดดี คอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี และวางแผนการรักษากับแพทย์ อาจมีการให้ยาลดไขมัน เพื่อลดไขมันในเลือดที่ผิดปกติ
นอกจากนี้ ยังต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดการกินคาร์โบไฮเดรต น้ำตาล ลดแป้งแปรรูป และที่สำคัญคือ High fructose corn syrup (น้ำเชื่อมข้าวโพด ร่างกายไม่ย่อยเหมือนกับการกินน้ำตาลในผลไม้ทั่วไป ทำให้สะสมในช่องท้อง) รวมไปถึงการออกกำลังกาย ขยับตัวระหว่างวัน งดดื่มแอลกอฮอล์และพักผ่อนให้เพียงพอร่วมด้วย
หลายคนที่อยากมีหุ่นดี มักติดกับดักตัวเลขบนตาชั่งน้ำหนัก ยิ่งน้อยยิ่งดี ซึ่งความจริงแล้ว น้ำหนักน้อย ≠ หุ่นดีครับ เพราะร่างกายเรามีน้ำหนักได้จากหลายส่วน ตั้งแต่น้ำ ไขมัน อวัยวะ ฯลฯ หมออยากให้เข้าใจการลดน้ำหนักและลดไขมันก่อนครับว่าเกี่ยวข้องกันอย่างไร
ลดน้ำหนัก
การลดน้ำหนักเพื่อให้ตัวเลขบนตาชั่งลดลง ทำให้ได้ง่ายครับ หากอดหรือทำให้ร่างกายขาดอาหารมาก ๆ ก็ทำให้น้ำหนักลดลงได้แล้ว แต่เป็นวิธีการที่ผิดและไม่ปลอดภัย น้ำหนักที่ลดลงอาจเป็นน้ำหรือกล้ามเนื้อ และไม่ได้ช่วยลดไขมัน น้ำหนักลดลงก็จริงแต่สัดส่วนไม่ได้ลดลงตาม รวมไปถึงอาจมีอาการโยโย่และสุขภาพไม่ดี
ลดไขมัน
ตามหลักแล้วการจะพิจารณาว่าคน ๆ หนึ่ง มีภาวะอ้วนหรือไม่ ต้องวัดจากปริมาณไขมันในร่างกาย (Body Fat) โดยมี 2 จุดที่ควรลด คือ ไขมันใต้ผิวหนัง (ต้นแขน ต้นขา สะโพก หน้าท้อง) และไขมันในช่องท้อง (เกาะตามอวัยวะในช่องท้อง เช่น ลำไส้ ตับ ไต) ทำให้มีปัญหาอ้วนลงพุง เอวหนา ท้องป่อง ก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ
ดังนั้น หากต้องการลดน้ำหนักให้ได้หุ่นสวย ฟิต เฟิร์ม ควรมุ่งเน้นการลดไขมัน ไม่ใช่ลดแต่น้ำหนักเพียงอย่างเดียว จะให้ผลลัพธ์ที่ยั่งยืน และส่งเสริมสุขภาพที่ดีมากกว่าครับ
วิธีลดไขมันในช่องท้องด้วยตัวเอง
1. ออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ
คาร์ดิโอ คือ การออกกำลังกายที่ช่วยสริมความแข็งแรงของระบบหัวใจ การไหลเวียนเลือด และการทำงานของปอด ให้สามารถนำออกซิเจนมาใช้ได้มากขึ้น
การออกกำลังกายประเภทนี้จะใช้ออกซิเจนในการเผาผลาญพลังงาน จากน้ำตาลและไขมัน ทำให้ไขมันในร่างกายลดลง และช่วยลดไขมันในช่องท้องได้ เช่น เดิน วิ่ง กระโดดเชือก ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน ฯลฯ การคาร์ดิโอสามารถเริ่มได้ตั้งแต่ วันละ 30 นาที 3-4 วัน/สัปดาห์ ไปจนถึงวันละ 50 นาทีหรือหนึ่งชั่วโมง
2. ควบคุมอาหาร
การควบคุมอาหารเป็นการจัดการปัญหาไขมันช่องท้องจากต้นเหตุ แต่ไม่ควรอดอาหารเพื่อหวังจะให้ตัวเลขบนตาชั่งน้ำหนักลดลงเพียงอย่างเดียวครับ ควรลดอาหารที่ทำให้เกิดการสะสมของไขมัน โดยเฉพาะ
- น้ำตาล ของหวาน
- ของทอด
- ของมัน
- อาหารที่มีส่วนผสมของ tran fat (เนยเทียม มาการีน ขนมซอง)
นอกจากนี้การทานน้ำตาลมาก ๆ จะทำให้รู้สึกอยากอาหาร อยากกินเยอะ และเกิดการสะสมของไขมันได้ง่าย แนะนำให้หันมาบริโภคอาหารประเภทไฟเบอร์มาก ๆ เช่น ข้าวกล้อง ข้าวโอ๊ต อโวคาโด ถั่วและเบอร์รี่ชนิดต่าง ๆ ซึ่งมีงานวิจัยที่พบว่าการสามารถช่วยลดพุง ลดไขมันช่องท้องได้ครับ
ในการลดไขมัน วิธีการควบคุมแคลอรี่เป็นหนึ่งในวิธีที่ได้รับความนิยมสูงมาก แต่ก็มีทั้งข้อดีและข้อเสียครับ ข้อดีคือทำให้สามารถรับประทานอาหารได้ตามความต้องการของร่างกาย เผาผลาญหมด ไม่มีส่วนที่เหลือไปเป็นไขมันสะสม แต่ข้อเสียคือแต่ละคนและแต่ละวันใช้พลังงานไม่เท่ากัน ผู้ที่ควบคุมอาหารด้วยวิธีนี้ ต้องรู้จักร่างกายตัวเอง และทราบว่าแต่ละวันต้องการพลังงานกี่แคลอรี่ เพื่อจัดการประเภทอาหารอย่างเหมาะสม
การควบคุมอาหารอย่างหนัก และนับแคลอรี่อย่างผิด ๆ นอกจากจะไม่ได้ผลแล้ว ยังทำให้เกิดความเครียด และไม่เป็นผลดีในระยะยาว
3. การทำ IF (Intermittent Fasting)
การทำ IF เพื่อลดน้ำหนัก เป็นการควบคุมแคลอรี่และจำกัดเวลาในการทานอาหาร แต่ทั้งนี้การลดน้ำหนักและการลดไขมันที่ดี ไม่ควรเป็นวิธีที่ทำให้เกิดความเครียด หรือทำจนหักโหมมากเกินไป วิธีการลดน้ำหนักแบบ IF ต้องใช้วินัยในการทำสูง ด้วยการกินอาหารเป็นช่วงเวลา (Feeding) และปล่อยให้ร่างกายหยุดรับอาหารเป็นช่วงเวลา (Fasting) แบ่งเป็นระดับ ดังนี้
- Feeding 8 ชั่วโมง / Fasting 16 ชั่วโมง
- Feeding 5 ชั่วโมง / Fasting 19 ชั่วโมง
- Fasting 24 ชั่วโมง 1-2 ครั้ง / สัปดาห์ วันอื่น ๆ กินอาหารปกติ
- Fasting 2 วัน กินอาหารปกติ 5 วัน (วันที่กินปกติต้องลดแคลอรี่ลงเหลือ ¼ ที่ได้รับต่อวัน)
- อดเช้า - กินค่ำ (The Warrior Diet) กลางวันดื่มได้แค่น้ำเปล่า และรับอาหารหนักในมื้อค่ำ
- อดอาหารแบบวันเว้นวัน (Alternate Day Fasting)
โดยแต่ละคนต้องประเมินถึงความพร้อมของตัวเองก่อนเข้าโปรแกรมแบบต่าง ๆ ซึ่งมีความยากง่ายต่างกันไปครับ ที่ได้รับความนิยมคือแบบที่ 1
ในการทำ IF มีประโยชน์ในการช่วยเพิ่มอัตราการเผาผลาญไขมันของร่างกายได้ 3.6-14% ช่วยลดไขมันในช่องท้อง ไขมันในเลือดได้ดี โดยไม่ทำให้กล้ามเนื้อลดลง และยังช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกัน ความจำและสมองดีขึ้นได้ด้วย
*การทำ IF ไม่เหมาะกับผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน
4. ควบคุมความเครียด
ความเครียดเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้เป็นโรคอ้วนซึ่งหลายคนมองข้าม โดยความเครียดจะส่งผลต่อพฤติกรรม เมื่อมีความเครียดร่างกายจะหลั่งฮอร์โมน Cortisol ออกมา เมื่อหลั่งมากเกินไปจะส่งผลต่อปริมาณน้ำตาลและอินซูลินในเลือด ทำให้อยากอาหารจำพวกแป้ง น้ำตาล ทำให้ระบบการทำงานของร่างกายผิดเพี้ยน บางคนจะรู้สึกเบื่อหรืออยากอาหารอยู่ตลอดเวลา มีการรับประทานอาหารมากกว่าปกติ เมื่อเป็นหนักเข้าก็จะส่งผลต่อร่างกายในระยะยาว
สำหรับคนที่มีปัญหาไขมันช่องท้องที่เกิดจากความเครียด ถ้าลดความเครียดได้ ร่างกายกลับมาทำงานเป็นปกติ ก็จะช่วยลดปัญหาไขมันสะสมได้ครับ ในการลดความเครียดเบื้องต้น มีขั้นตอนดังนี้
- วิเคราะห์สาเหตุที่ทำให้เกิดความเครียด
- พิจารณาว่าสามารถแก้ไขจากต้นเหตุได้หรือไม่
- หาวิธีผ่อนคลายตัวเอง เช่น หากใจเข้าลึก ๆ, ทำสมาธิ, ดูภาพยนตร์, การฟังเพลง, สร้างอารมณ์ขันและเสียงหัวเรา, คิดบวก
5. หลับพักผ่อนให้เพียงพอ
การนอนส่งผลอย่างยิ่งต่อระบบเผาผลาญ ขณะนอนหลับร่างกายจะหลั่งฮอร์โมน Leptin ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ทำให้สมองระงับความอยากอาหาร กระตุ้นการเผาผลาญพลังงานขณะนอนหลับ เมื่อพักผ่อนไม่เพียงพอร่างกายจะหลั่งฮอร์โมน Ghrelin ที่ทำให้ร่างกายต้องการอาหารมากขึ้นเพื่อเอาพลังงานมาใช้ เกิดการต้านทานอินซูลิน ทำให้การเผาผลาญกลูโคสลดลง และเกิดไขมันสะสมได้ง่าย ลดไขมันได้ยาก ส่งผลให้เกิดภาวะน้ำหนักเกินตามมา
มีงานวิจัยว่าผู้ที่มีการตอบสนองต่อฮอร์โมนเลปตินได้น้อย มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดโรคอ้วนอย่างมีนัยสำคัญ เพื่อให้การลดไขมันช่องท้องเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ การนอนจึงเป็นเรื่องสำคัญเช่นกันครับ ควรนอนให้เพียงพอตั้งแต่ 7 ชั่วโมงขึ้นไป เพื่อรักษาระดับฮอร์โมนทั้ง 2 ชนิดให้อยู่ในระดับปกติ
6. หลีกเลี่ยงบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
การดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่เป็นประจำ มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะน้ำหนักเกิน และไขมันในช่องท้อง จากประสิทธิภาพการทำงานของระบบเผาผลาญไขมันที่ลดลง ต่อต้านฮอร์โมนอินซูลิน (ร่างกายหลั่งฮอร์โมนอินซูลินออกมา เพื่อนำน้ำตาลไปใช้เป็นพลังงาน)
ทำให้อ้วนง่ายขึ้น เส้นเลือดอุดตันได้เร็วขึ้น และเกิดปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ตามมา ไม่ว่าจะเป็นโรคอ้วน โรคความดันโลหิตสูง ไขมันพอกตับ หรือโรคหัวใจ ดังนั้นการลดหรือเลิกการสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์ จะช่วยให้อินซูลินทำงานได้อย่างปกติ มีการเผาผลาญไขมัน และช่วยลดปัญหาไขมันในช่องท้องได้
*การสูบบุหรี่มี นิโคติน ทาร์ คาร์บอนมอนอกไซด์ ไฮโดรเจนไซยาไนด์ กระตุ้นประสาทส่วนกลาง ทำให้หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง ร่างกายได้รับออกซิเจนน้อยลง มีความเสี่ยงต่อภาวะไขมันพอกตับ แม้จะไม่ได้ดื่มแอลกอฮอล์เลยก็ตาม
สำหรับวิธีเหล่านี้เป็นการกำจัดไขมันและป้องกันการเกิดไขมันช่องท้องที่สามารถทำได้ในชีวิตประจำวันครับ บางคนอาจต้องใช้เวลาและวินัย เพื่อให้ได้ผลลัพธ์อย่างที่ต้องการ และไขมันช่องท้องลดลงอย่างเห็นผล สำหรับใครที่อยากได้วิธีที่รวดเร็ว หมอแนะนำในข้อต่อไปครับ
การลดไขมันช่องท้องด้วย Coolsculpting เป็นการกำจัดเซลล์ไขมันถาวร โดยปกติเซลล์ไขมันในร่างกายจะเพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอจนถึงอายุ 20 ปี และจะไม่เพิ่มขึ้นอีก เวลาที่เราอ้วนหรือผอมจะเกิดจากการที่เซลล์ไขมันขยายตัวหรือฟีบลงครับ
Coolsculpting จึงผลิตขึ้นมาเพื่อลดจำนวนเซลล์ไขมันโดยเฉพาะ โดยการปล่อยความเย็น -11°C แช่แข็งก้อนไขมันที่ถูกดูดขึ้นมานาน 35 นาที เซลล์ไขมันจะตายและถูกสลายไปตามกลไกขับของเสียของร่างกาย หลังจากนั้นเซลล์ไขมันจะไม่เพิ่มขึ้นอีก จึงเป็นวิธีลดไขมันช่องท้องและจุดอื่น ๆ ที่มีไขมันสะสมได้อย่างเห็นผล
เครื่อง Coolsculpting มีความปลอดภัยสูง โดยตัวเครื่องจะแช่แข็งเฉพาะเซลล์ไขมันในชั้นไขมันบริเวณที่ต้องการลด ไม่ทำอันตรายต่อผิวหนังชั้นนอก จะเริ่มเห็นผลว่าชั้นไขมันยุบลงเมื่อเวลาผ่านไป 1 เดือน เห็นผลเต็มที่ใช้เวลา 3 เดือน และสามารถทำเพิ่มได้ในจุดเดียวกันเมื่อผ่านไป 1 เดือนครับ
หมอเขียนอธิบายเกี่ยวกับการทำ Coolsculpting ไว้ในบทความ CoolSculpting คืออะไร ? VS การดูดไขมัน VS การสลายไขมันส่วนเกินด้วยวิธีต่าง ๆ สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ครับ
การดูดไขมัน ไม่สามารถช่วยลดไขมันในช่องท้องได้
แม้การดูดไขมันดูจะเป็นวิธีกำจัดไขมันที่เห็นผลเร็ว แต่ใช้ไม่ได้กับไขมันในช่องท้องครับ เนื่องจากไขมันในจุดนี้จะติดกับลำไส้ และอวัยวะสำคัญต่าง ๆ ถ้าดูดออกจะส่งผลอันตรายต่ออวัยวะภายในได้ ส่วนที่ดูดออกได้จะมีเพียงไขมันหน้าท้องบริเวณใต้ผิวหนังเท่านั้นครับ
สรุป
ไขมันช่องท้อง เป็นภัยเงียบที่ไม่ควรมองข้ามครับ นอกจากจะทำให้หุ่นไม่สวย ลงพุง พุงย้อย ไขมันเหล่านี้ยังเป็นต้นเหตุของการเกิดโรคภัยต่าง ๆ ที่อันตราย ควรหาวิธีป้องกันและวิธีลดไขมันช่องท้องที่ยั่งยืน เพื่อรักษาทั้งสุขภาพและรูปร่างของตัวเองครับ
ฟิลเลอร์ (Filler) กับโบท็อกซ์ (Botox) ต่างกันอย่างไร ? ทำพร้อมกันได้ไหม ?
Reading Time: 4 minutes- ฟิลเลอร์ คืออะไร ? - โบท็อกซ์ คืออะไร ? - ฟิลเลอร์ (Filler) กับ โบท็อกซ์ (Botox) ต่างกันอย่างไร ? - เปรียบเทียบข้อดี ข้อจำกัดของฟิลเลอร์ กับโบท็อกซ์ - เลือกฉีดฟิลเลอร์หรือโบท็อกซ์ดี แบบไหนเหมาะกับใครบ้าง ?
9 ข้อ ที่ต้องระวัง ! และควรรู้ในการทำ Hifu | โดยทีมแพทย์ ...
Reading Time: 5 minutes- Hifu คืออะไร อันตรายกับผิวไหม ? - อายุไม่ถึง 25 ปีทำ Hifu จะมีผลเสียอย่างไร ? - ควรเลือกทำ Hifu ที่ไหนดี คลินิกไหนดี ระวังการโฆษณา Hifu ที่เกินจริง ของคลินิกต่าง ๆ - Hifu เห็นผลทันที จริงไหม ? - Hifu ทั่วทั้งตัว ได้ผลทุกส่วนจริงหรือไม่ ?
โบท็อกยิ้มเห็นเหงือก คืออะไร ? อันตรายไหม ? เหมาะกับใครบ้...
Reading Time: 4 minutes- ภาวะยิ้มเห็นเหงือก คืออะไร ? เกิดจากสาเหตุใดบ้าง ? - โบท็อกยิ้มเห็นเหงือก คืออะไร ? แก้ยิ้มเห็นเหงือกได้อย่างไร ? - โบท็อกยิ้มเห็นเหงือก ช่วยเรื่องใดบ้าง ? - โบท็อกยิ้มเห็นเหงือก เหมาะกับใคร ? - โบท็อกยิ้มเห็นเหงือก ข้อดี และข้อเสีย
ฟิลเลอร์สะโพก เสริมก้น เติมเต็มส่วนที่เว้า บุ๋ม ต้องใช้ฟิ...
Reading Time: 3 minutes- ฟิลเลอร์สะโพกคืออะไร ? - ฟิลเลอร์สะโพกอันตรายไหม ? มีอะไรที่ควรรู้ก่อนตัดสินใจ - ฟิลเลอร์สะโพกช่วยปรับรูปทรงสะโพกให้โค้งสวยได้จริงหรือไม่ ? - แก้ปัญหา Hip Dip ด้วยฟิลเลอร์สะโพก เคล็ดลับเพื่อสะโพกสวยเนียน - ปัญหาสะโพกที่ฟิลเลอร์สามารถช่วยแก้ไขได้ มีอะไรบ้าง ?
[เจาะลึก] ฟิลเลอร์คาง vs ผ่าตัดคาง แต่ละวิธี มีข้อดี-ข้อเ...
Reading Time: 3 minutes- ทำไม ? ฉีดฟิลเลอร์คาง มาแล้วยิ้มเป็นก้อน ดูไม่ธรรมชาติ - ฉีดฟิลเลอร์คางด้วยเทคนิคเดียวกับการผ่าตัด ดีอย่างไร ? - ฟิลเลอร์คาง vs ผ่าตัดเสริมคาง ? - ฟิลเลอร์คาง มีข้อดี ข้อเสีย อย่างไร ? - ฟิลเลอร์คาง ใช้ยี่ห้อไหนดีที่สุด ?
ฟิลเลอร์ร่องแก้ม แก้ร่องแก้มลึก ด้วยเทคนิคเฉพาะที่แตกต่าง...
Reading Time: 3 minutesฟิลเลอร์ร่องแก้ม แก้ร่องแก้มลึก ด้วยเทคนิคเฉพาะที่แตกต่างในแต่ละเคส