ฉีดฟิลเลอร์ อันตรายไหม เลือกฉีดฟิลเลอร์ที่ไหนดีและปลอดภัย

Reading Time: 3 minutes

ฟิลเลอร์ อันตรายไหม

ฟิลเลอร์ อันตรายไหม

ฉีดฟิลเลอร์อันตรายไหม ? เลือกฉีดฟิลเลอร์ที่ไหนดี และปลอดภัย

บทความนี้จะอธิบายถึงข้อมูลต่าง ๆ  เกี่ยวกับอันตรายของฟิลเลอร์ ว่าการ ฉีดฟิลเลอร์ อันตรายไหม? ที่คนส่วนมากยังเข้าใจผิดและสับสนจากข่าวตามสื่อต่าง ๆ  ครับ เนื่องจากคำว่า “ฟิลเลอร์” ที่คนไทยส่วนมากเข้าใจนั้นมีความหมายไม่ตรงกับ injectible filler ในทางการแพทย์สากล

ฟิลเลอร์ (Filler) ในทางการแพทย์ หมายถึง สารฉีดเติมเต็ม (Injectible filler) ซึ่งในต่างประเทศ มีหลายประเภทดังนี้

  1. HA (hyaluronic acid) เป็นฟิลเลอร์ที่นิยมและปลอดภัยที่สุด สามารถย่อยสลายได้ และสามารถฉีดใหม่ได้เรื่อย ๆ  มีใช้แพร่หลายทั่วโลก
  2. Collagen จากสัตว์ ไม่นิยมในปัจจุบัน เนื่องจากจะมีอาการแพ้ฟิลเลอร์ บวมแดงได้ง่าย
  3. Transplanted fat (เติมไขมัน) เหมาะกันคนที่ต้องการฉีดครั้งละมาก ๆ  10-20 cc ขึ้นไป
  4. Biosynthetic polymers เช่น Calcium hydroxylapatite, polymethylmethacrylate, ซิลิโคนเหลว กลุ่มนี้จะเป็นฟิลเลอร์ชนิดที่สลายไม่หมด ไม่ปลอดภัย ไม่แนะนำให้ใช้ ไม่ผ่าน อย.

แต่คำว่า “ฟิลเลอร์” ที่คนไทยส่วนใหญ่เข้าใจและที่หมอในประเทศไทยกล่าวถึง จะหมายถึง HA ในข้อ 1 นั่นคือ ฟิลเลอร์แท้ที่ปลอดภัย 

ฟิลเลอร์อยู่ได้นานแค่ไหน ถ้าเป็นฟิลเลอร์ปลอม จะหมายถึง ฟิลเลอร์ประเภทที่ 4 Biosynthetic polymers คือ ฟิลเลอร์ราคาถูกที่ย่อยสลายไม่ได้ หรือย่อยสลายไม่หมด อยู่ได้เกิน 5 ปี และยังหมายรวมถึง ฟิลเลอร์ (hyaluronic acid) ประเภทที่ 1 ที่ราคาถูก ไม่ได้มาตรฐาน นำเข้าแบบผิดกฏหมาย ที่ไม่ผ่าน อย. และย่อยสลายไวเกินไปคุณสมบัติไม่คงตัวอีกด้วย

จะเห็นว่า การเติมไขมัน และ ฟิลเลอร์ปลอม ในต่างประเทศจะจัดรวมไว้ในคำว่า filler (ฟิลเลอร์) ด้วยทั้งหมด  นั่นคือเหตุผลที่ว่า ทำไมจึงพบหลายงานวิจัยในต่างประเทศให้ข้อมูลว่าฟิลเลอร์นั้นอันตราย ฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อน นั่นเป็นเพราะคำว่าฟิลเลอร์ในทางสากลนั้นจะหมายรวมถึงฟิลเลอร์ประเภทที่ 1,2,3,4 ทั้งหมด

ดังนั้นที่ข่าวหรือสื่อต่าง ๆ  ตีพิมพ์ ก็จะยึดตามหลักสากล ซึ่งก็จะไม่ตรงกับความเข้าใจของคนไทยส่วนมาก เช่น ในสื่อเขียนว่า ฉีดฟิลเลอร์แล้วหน้าพัง ทั้ง ๆ  ที่เมื่อดูเนื้อข่าวแล้วฟิลเลอร์ที่ฉีดนั้นเป็นฟิลเลอร์ประเภทที่ 4. ที่ไม่ปลอดภัยและฉีดกับหมอกระเป๋า

ถ้าจะให้คนไทยส่วนใหญ่เข้าใจถูกต้องควรจะพาดหัวข่าวว่า ฉีดฟิลเลอร์ปลอมแล้วหน้าพัง แบบนี้แทนครับ

แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า ฉีดฟิลเลอร์แท้แล้วจะปลอดภัย 100% ฉีดฟิลเลอร์แท้ก็มีโอกาสเกิดอันตรายได้ แต่ฟิลเลอร์แท้จะสามารถแก้ไขได้ง่ายกว่า ทั้งนี้ขึ้นกับประสบการณ์และเทคนิคในการฉีดของแพทย์ด้วยครับ

เคสที่แก้ไขกรณีเกิดอุบัติเหตุฟิลเลอร์เข้าหลอดเลือด
ตัวอย่าง เคสที่แก้ไขกรณีเกิดอุบัติเหตุฟิลเลอร์เข้าหลอดเลือด

ตัวอย่างเคสที่แก้ไขกรณีเกิดอุบัติเหตุฟิลเลอร์เข้าหลอดเลือด มีเนื้อตายชั่วคราว (จุดสีดำ ๆ ) จากการฉีดฟิลเลอร์จมูก หากทำโดยแพทย์ที่มีประสบการณ์สูง และใช้ผลิตภัณฑ์ฟิลเลอร์ HA ที่ได้มาตรฐาน ก็จะสามารถแก้ไขได้อย่างทันท่วงทีและปลอดภัย


ฉีดฟิลเลอร์ อันตรายไหม ? อันตรายจากฟิลเลอร์ในที่นี้หมายถึง

  • เนื้อตาย เนื้อตายนั้นเกิดจากการอุดตันในเส้นเลือด (necrosis) ทำให้เลือดไม่สามารถไปหล่อเลี้ยงเซลล์ได้ จะพบได้บ่อยที่สุดในฟิลเลอร์ประเภทที่ 3 หรือการเติมไขมัน (Transplanted fat)
    แต่หากเป็นฟิลเลอร์ประเภทที่ 1 HA (hyaluronic acid)  ที่เป็นของแท้ หมอสามารถตรวจพบการอุดตันในเส้นเลือดได้จาก
    การเปลี่ยนแปลงของสีผิวขณะฉีดและหลังฉีด และสามารถแก้ไขได้ทันท่วงทีเนื่องจาก ฟิลเลอร์ประเภทที่ 1 HA (hyaluronic acid)  นั้นสามารถฉีดสลายได้โดย เอนไซม์ที่ชื่อ Hyaluronidase สามารถละลายหมดได้ 100% ทำให้รักษาให้เนื้อกลับคืนมาได้ 100%
  • ตาบอด (blindness) พบได้ในการเติมไขมัน(Transplanted fat) หรือฟิลเลอร์ประเภทที่ 3 มากที่สุด
    แต่หากฉีดฟิลเลอร์ด้วย hyaluronic acid (ฟิลเลอร์ประเภทที่ 1) โดยแพทย์ที่ฉีดด้วยเทคนิคที่ถูกต้อง (ตามที่จะอธิบายต่อไปนี้) ความเสี่ยงในการเกิดตาบอด ก็จะน้อยมาก ๆ  ประหนึ่งว่าการนั่งรถยนต์โดยสารก็ยังเสี่ยงอุบัติเหตุมากกว่า
  • แพ้บวมแดง (reaction,granuloma) ฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อนแข็งเมื่อเวลาผ่านไป 3-5 ปี เกิดขึ้นได้ในฟิลเลอร์ประเภทที่ 4 มากที่สุด
  • การอักเสบติดเชื้อ(infection) ขึ้นอยู่กับเทคนิคการฉีดของแพทย์แต่ละคลินิก และพบได้บ่อยในเคสที่ฉีดโดยหมอกระเป๋า หรือคลินิกเถื่อน
  • การย้อยเป็นก้อนแข็ง(migration) ฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อนบวม แข็ง ย่อยสลายไม่หมด หรือไม่สามารถย่อยสลายได้ พบได้มากที่สุดในฟิลเลอร์ประเภทที่ 4 
การเติมไขมัน มีความเสี่ยงสูงที่สุด ที่จะเกิดเนื้อตายและตาบอด

จากกราฟจะเห็นว่าการเติมไขมัน (ฟิลเลอร์ประเภทที่ 3) มีความเสี่ยงสูงที่สุด ที่จะเกิดเนื้อตายและตาบอด เนื่องจากไม่มียาที่ฉีดสลายออกได้ทันที

การฉีดฟิลเลอร์ที่ปลอดภัย นั่นคือการเลือกใช้ Hyaluronic Acid (ฟิลเลอร์ประเภทที่ 1) ที่ได้มาตรฐาน สามารถย่อยสลายได้ในระยะ 6-18 เดือน มี อย.รับรอง และเนื่องจาก 60% ของคลินิกต่าง ๆ  ที่เปิดอยู่ในปัจจุบันมีการตรวจเจอ ฟิลเลอร์ปลอม ฟิลเลอร์หิ้วที่สลายไม่หมด ทางที่ดีคนไข้ควรศึกษาวิธีตรวจสอบฟิลเลอร์ HA (Hyaluronic Acid) แท้ที่ปลอดภัย เพื่อป้องกันตัวเองครับ เพราะถ้าเจอฟิลเลอร์ปลอม ก็อาจจะเกิดปัญหาตามที่เป็นข่าวในสื่อต่าง ๆ 

เทคนิคการฉีดฟิลเลอร์ (hyaluronic acid) ให้ปลอดภัย 

ก็เป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้คนไข้เข้าใจมากขึ้น และลดความกังวลเกี่ยวกับอันตรายของฟิลเลอร์ จึงขอลงรายละเอียดทางเทคนิคการฉีดดังนี้นะครับ

A. เลือกสารเติมเต็มที่สามารถย่อยสลายออกได้ทันทีหากเกิดปัญหา เช่น hyaluronic acid แท้ (ประเภท 1) สามารถใช้ hyaluronidase ฉีดเพื่อสลายออกได้ 100% ภายใน 5 นาที (แต่ประเภทที่ 2,3,4 ยังไม่มียาที่ฉีดสลายออกได้ทันที) วิธีเลือกใช้ฟิลเลอร์ HA (Hyaluronic Acid) แท้ยี่ห้อไหนดีตามจุดต่าง ๆ บนใบหน้า(link)

B. เข็มแหลมจะใช้ฉีดฟิลเลอร์ชิดกระดูกเท่านั้น

เข็มทู่จะใช้ฉีดฟิลเลอร์ในชั้นเนื้อที่ตื้นขึ้นมา หรือสามารถฉีดชิดกระดูกได้ในบางจุด ถึงแม้จะเป็นเข็มทู่ก็ไม่สามารถหลบหลีกเส้นเลือดได้ 100% ต้องอาศัยเทคนิคการฉีดในข้อต่อ ๆ  ไปช่วยเสริม (ในยุคแรก ๆ  ของ hyaluronic acid มีหมอจำนวนไม่น้อยที่ประมาทว่าใช้เข็มทู่แล้วจะไม่เข้าเส้นเลือด จึงทำให้เกิดเคสเนื้อตายหลายเคส ต่อมาเมื่อได้เรียนรู้เทคนิคการฉีดอย่างปลอดภัย ก็สามารถลดความเสี่ยงจุดนี้ลงได้มาก)

อันตรายหากเข็มฟิลเลอร์แทงเข้าเส้นเลือด

แม้จะเป็นเข็มทู่ ถ้าใช้ขนาดเข็มเล็กเกินไปก็สามารถแทงเข้าเส้นเลือดได้

C. สำหรับเข็มทู่ ควรใช้ยาชาฉีดนำเข้าไปในบริเวณนั้น ๆ  ก่อน ยาชาเป็นน้ำจะช่วยให้เส้นเลือดลื่น และลดโอกาสที่เข็มทู่จะเข้าเส้นเลือดได้

D. ก่อนที่หมอจะดันยาทุกครั้ง หมอจะต้องทดสอบโดยการดูดเข็มเข้ามาก่อน เพื่อให้มั่นใจว่าเข็มไม่เข้าเส้นเลือด โดยจะต้องดูดค้างไว้อย่าน้อย10วินาที จึงจะมั่นใจและเดินยาได้ หากเข็มมีการตัดผ่านเส้นเลือดขณะที่ดูดเข้มเข้ามา จะมีเลือดผสมเข้ามาในเข็มด้วย

E. ทั้งเข็มทู่และเข็มแหลมควรเลือกใช้ขนาดของเข็มที่ไม่เล็กจนเกินไป ขนาดที่เหมาะสมคือ 22G-25G

เข็มที่ขนาดเล็กเกินไปมีข้อเสียดังนี้

  • เพิ่มความเสี่ยงในการแทงเข้าหลอดเลือด 
  • ขณะที่หมอดูดเข็มเพื่อทดสอบก่อนฉีด ถ้าเข็มเล็กเกินไป อาจจะทำให้ดูดไม่เจอเลือดถึงแม้จะเข้าเส้นเลือด
  • ขณะที่เดินยาถ้ารูเข็มเล็กจะเพิ่มแรงดัน และเพิ่มโอกาสที่ฟิลเลอร์จะเข้าเส้นเลือดได้ง่ายขึ้น
เข็มฟิลเลอร์

ภาพตัวอย่างแสดงขนาดของเข็มฟิลเลอร์ จะเห็นว่า ยิ่งเบอร์เล็กขนาดจะยิ่งใหญ่ครับ

F. ขณะที่เดินยาหมอจะคลำปลายเข็ม เพื่อตรวจสอบทุกครั้งว่ามีฟิลเลอร์ออกจากปลายเข็มและทำให้เนื้อยกขึ้น เต็มขึ้น เหมือนเป่าลมลูกโป่งแล้วเห็นลูกโป่งฟองขึ้น จะมั่นใจได้ว่าฟิลเลอร์ไม่ได้เข้าหลอดเลือด

G. ขณะเดินยาหมอจะคอยสังเกตุการเปลี่ยนแปลงของสีผิวคนไข้ ถ้าฟิลเลอร์เข้าเส้นเลือด สีผิวจะซีดหรือแดงขึ้นเป็นบริเวณกว้าง ก็จะสามารถฉีดสลายเพื่อแก้ไขได้ทันท่วงที

ถ้าฟิลเลอร์เข้าเส้นเลือด สีผิวจะซีดหรือแดง

H. ในแต่ละจุดที่ฉีดหมอจะเดินยาอย่างช้า ๆ  เพื่อให้เกิดแรงดันน้อยที่สุด และฉีดปริมาณน้อย ๆ  ในแต่ละจุด ไม่เกินจุดละ 0.1cc ถ้าสังเกตุเห็นสิ่งผิดปกติก็จะสามารถแก้ไขได้ทันที โดยที่ปัญหานั้น ๆ จะยังไม่กระจายบริเวณกว้าง

ซึ่งเทคนิค A-H ทุกอย่างที่กล่าวมานี้ เป็นเทคนิคที่แพทย์ของ V square clinic ทุกคนใช้ในการฉีดฟิลเลอร์เพื่อให้เกิดความปลอดภัย 100% แก่คนไข้ครับ


สำหรับผู้อ่านทุกท่านที่มีข้อสงสัยเพิ่มเติม ทีมแพทย์ V Square Clinic ทุกคนยินดีให้คำปรึกษาฟรี โดยไม่มีค่าใช้จ่าย หรือสามารถปรึกษาหมอทาง inbox facebook หรือ Line นี้ได้เลยครับ หมอตอบเองครับ
Banner_Web_หมอให้คำปรึกษา_หมอ42คน

สามารถ comment สอบถามเข้ามาด้านล่างได้เลยนะครับ หมอตอบเองครับ

บทความแนะนำ

ฟิลเลอร์ (Filler) กับโบท็อกซ์ (Botox) ต่างกันอย่างไร ? ทำพร้อมกันได้ไหม ?

Reading Time: 4 minutes- ฟิลเลอร์ คืออะไร ? - โบท็อกซ์ คืออะไร ? - ฟิลเลอร์ (Filler) กับ โบท็อกซ์ (Botox) ต่างกันอย่างไร ? - เปรียบเทียบข้อดี ข้อจำกัดของฟิลเลอร์ กับโบท็อกซ์ - เลือกฉีดฟิลเลอร์หรือโบท็อกซ์ดี แบบไหนเหมาะกับใครบ้าง ?

November 19, 2024 อ่านต่อ

9 ข้อ ที่ต้องระวัง ! และควรรู้ในการทำ Hifu | โดยทีมแพทย์ ...

Reading Time: 5 minutes- Hifu คืออะไร อันตรายกับผิวไหม ? - อายุไม่ถึง 25 ปีทำ Hifu จะมีผลเสียอย่างไร ? - ควรเลือกทำ Hifu ที่ไหนดี คลินิกไหนดี ระวังการโฆษณา Hifu ที่เกินจริง ของคลินิกต่าง ๆ - Hifu เห็นผลทันที จริงไหม ? - Hifu ทั่วทั้งตัว ได้ผลทุกส่วนจริงหรือไม่ ?

โบท็อกยิ้มเห็นเหงือก คืออะไร ? อันตรายไหม ? เหมาะกับใครบ้...

Reading Time: 4 minutes- ภาวะยิ้มเห็นเหงือก คืออะไร ? เกิดจากสาเหตุใดบ้าง ? - โบท็อกยิ้มเห็นเหงือก คืออะไร ? แก้ยิ้มเห็นเหงือกได้อย่างไร ? - โบท็อกยิ้มเห็นเหงือก ช่วยเรื่องใดบ้าง ? - โบท็อกยิ้มเห็นเหงือก เหมาะกับใคร ? - โบท็อกยิ้มเห็นเหงือก ข้อดี และข้อเสีย

ฟิลเลอร์สะโพก เสริมก้น เติมเต็มส่วนที่เว้า บุ๋ม ต้องใช้ฟิ...

Reading Time: 3 minutes- ฟิลเลอร์สะโพกคืออะไร ? - ฟิลเลอร์สะโพกอันตรายไหม ? มีอะไรที่ควรรู้ก่อนตัดสินใจ - ฟิลเลอร์สะโพกช่วยปรับรูปทรงสะโพกให้โค้งสวยได้จริงหรือไม่ ? - แก้ปัญหา Hip Dip ด้วยฟิลเลอร์สะโพก เคล็ดลับเพื่อสะโพกสวยเนียน - ปัญหาสะโพกที่ฟิลเลอร์สามารถช่วยแก้ไขได้ มีอะไรบ้าง ?

[เจาะลึก] ฟิลเลอร์คาง vs ผ่าตัดคาง แต่ละวิธี มีข้อดี-ข้อเ...

Reading Time: 3 minutes- ทำไม ? ฉีดฟิลเลอร์คาง มาแล้วยิ้มเป็นก้อน ดูไม่ธรรมชาติ - ฉีดฟิลเลอร์คางด้วยเทคนิคเดียวกับการผ่าตัด ดีอย่างไร ? - ฟิลเลอร์คาง vs ผ่าตัดเสริมคาง ? - ฟิลเลอร์คาง มีข้อดี ข้อเสีย อย่างไร ? - ฟิลเลอร์คาง ใช้ยี่ห้อไหนดีที่สุด ?

ฟิลเลอร์ร่องแก้ม แก้ร่องแก้มลึก ด้วยเทคนิคเฉพาะที่แตกต่าง...

Reading Time: 3 minutesฟิลเลอร์ร่องแก้ม แก้ร่องแก้มลึก ด้วยเทคนิคเฉพาะที่แตกต่างในแต่ละเคส

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ สามารถศึกษานโยบายความเป็นส่วนตัวและจัดการความเป็นส่วนตัว ได้ที่ปุ่มตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า