ฟิลเลอร์ร่องแก้ม
ร่องแก้มลึก เป็นจุดที่บ่งบอกถึงอายุผู้หญิงได้อย่างชัดเจน มักจะลึกมากขึ้นเรื่อย ๆ เมื่ออายุ 25 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะในผู้หญิงถ้ามีร่องแก้มลึกก็จะทำให้หน้าดูแก่กว่าวัย การแก้ไขที่ตรงจุด สามารถทำได้ง่าย ๆ ด้วยการเติมฟิลเลอร์ร่องแก้มชนิดที่ปลอดภัยและผ่าน อย. คือคอลลาเจนชนิดไฮยาลูรอนิก (Hyalrulonic acid) จะอยู่ได้นานประมาณ 1 ปีและดูเป็นธรรมชาติมากที่สุด สลายหมดไม่มีสารตกค้าง
ถ้าชอบก็สามารถเติมฟิลเลอร์ร่องแก้มใหม่ได้เรื่อย ๆ ถ้าไม่เติมก็แค่คืนสภาพเดิมแต่ก็ยังดีกว่าก่อนเติมเพราะฟิลเลอร์จะกระตุ้นให้ร่างกายเราสร้างคอลลาเจนที่ร่องแก้มของตัวเองขึ้นมาด้วย ในการฉีดฟิลเลอร์ร่องแก้มให้ดูเป็นธรรมชาตินั้น หมอที่มีความชำนาญต้องประเมินสาเหตุของการเกิดร่องแก้มในแต่ละคน เพื่อการแก้ไขร่องแก้มลึกได้ตรงจุด เพราะถ้าแก้ผิดวิธี อาจจะยิ่งทำให้ร่องแก้มลึกกว่าเดิม เป็นก้อนและดูไม่เป็นธรรมชาติ
ร่องแก้มลึก มีสาเหตุได้จากหลายปัจจัย การแก้ไม่ถูกจุดจะทำให้ร่องแก้มลึกกว่าเดิมและเป็นก้อนได้ ดังนั้นก่อนฉีดฟิลเลอร์ร่องแก้ม สำหรับคนที่กำลังหาข้อมูลว่า ฉีดฟิลเลอร์ร่องแก้มที่ไหนดี คลินิกไหนดี ฟิลเลอร์ร่องแก้มดีไหม มีข้อดี-ข้อเสียอย่างไร ควรศึกษาข้อมูลต่าง ๆ ดังนี้
1. การเตรียมตัวก่อนฉีด-หลังฉีดฟิลเลอร์ร่องแก้ม
2. เทคนิคการฉีดฟิลเลอร์ร่องแก้มแบบต่าง ๆ 4 แบบ
- ทำไมอยากเติมฟิลเลอร์ร่องแก้มแต่หมอแนะนำให้เติมฟิลเลอร์ใต้ตาก่อน
- ทำไมการแก้ร่องแก้มลึกด้วยการร้อยไหมดึงแล้วไม่สวย
- ทำไมบางคนพอเติมร่องแก้มแล้วเป็นก้อนหน้าดูอ้วน และแก่กว่าเดิม
- ทำไมไปเติมฟิลเลอร์ร่องแก้มมาแล้วผ่านไปแค่ 2 เดือน ร่องแก้มกลับมาลึกเหมือนเดิม บางคนลึกกว่าเดิม และเป็นก้อน
3. ฟิลเลอร์ร่องแก้ม vs ร้อยไหมก้างปลาดึงร่องแก้ม vs ร้อยไหมเติมเต็มร่องแก้ม vs Hifu ร่องแก้ม
4. ฟิลเลอร์ยี่ห้อไหนดี รุ่นไหนเหมาะกับร่องแก้มมากที่สุด และ จุดสังเกตุฟิลเลอร์ของแท้ยี่ห้อต่าง ๆ
5. ฟิลเลอร์ร่องแก้มต้องใช้กี่ CC
เทคนิคการฉีดฟิลเลอร์ร่องแก้มแบบต่าง ๆ 4 แบบ
สาเหตุการเกิดร่องแก้มลึก มี 4 ปัจจัยดังนี้
1. เกิดจากการยุบตัวของกระดูกบริเวณใต้ตา
มักพบในคนที่อายุ 30 ปีขึ้นไป ซึ่งมีการยุบตัวของกระดูกทั้งบริเวณใต้ตาและบริเวณร่องแก้มค่อนข้างมาก การยุบของกระดูกใต้ตาทำให้เนื้อแก้มด้านบนหย่อนลงมากองที่เหนือร่องแก้ม ทำให้ร่องแก้มดูลึก หากคนไข้มีสาเหตุหลักมาจากกระดูกใต้ตายุบตัวลงและหมอเน้นฉีดฟิลเลอร์ที่ร่องแก้มเพียงอย่างเดียว ก็จะทำให้ร่องแก้มของคนไข้แย่ลงกว่าเดิมได้ เนื้อจะยิ่งกองบริเวณเหนือร่องแก้มเป็นก้อนมากขึ้น หน้าจะดูอูม ๆ หน้าอ้วน ดูผิดธรรมชาติ ควรแก้ที่ต้นเหตุด้วยการเติมฟิลเลอร์ใต้ตา โดยฉีดยกผิวในชั้นกระดูกเพื่อดึงโครงสร้างผิวโดยรวมทั้งหมดขึ้นไปด้านบน จะทำให้เนื้อแก้มที่กองเหนือร่องแก้มเป็นก้อนน้อยลง และร่องแก้มตื้นขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติ
ตัวอย่างเคสรีวิวที่ ร่องแก้มลึก จากการยุบตัวของกระดูกใต้ตาเป็นหลัก ในเคสนี้หากหมอเติมฟิลเลอร์ร่องแก้มเพียงอย่างเดียว เมื่อเวลาผ่านไปจะยิ่งทำให้ร่องแก้มลึกขึ้น เพราะเนื้อที่หย่อนลงมาจากด้านบนไม่ได้รับการแก้ไขที่ตรงจุด
2. เกิดจากการยุบตัวของกระดูกบริเวณร่องแก้มโดยตรง
มักพบในคนที่อายุ 20-30 ปี ซึ่งร่องแก้มยังไม่ลึกมาก และกระดูกใต้ตายังยุบตัวลงไม่มาก สามารถแก้ไขด้วยการเติมฟิลเลอร์ที่ร่องแก้มเพียงอย่างเดียวได้ แต่ต้องฉีดฟิลเลอร์ร่องแก้มลงในชั้นกระดูกใต้กล้ามเนื้อและต้องฉีดในจุดที่ต่ำกว่าร่องแก้มเล็กน้อย ไม่ใช่ฉีดที่ร่องแก้มโดยตรงเพื่อป้องกันการดึงของกล้ามเนื้อที่ใช้ยิ้ม มิฉะนั้นเมื่อเวลาผ่านไป 2-3 เดือนฟิลเลอร์ร่องแก้มจะโดนดึงขึ้นไปกองเป็นเนื้อเหนือร่องแก้มทำให้เป็นก้อน และจะยิ่งทำให้ร่องแก้มลึกขึ้นกว่าเดิมได้ครับ
ตัวอย่างเคสรีวิวที่ ร่องแก้มลึก ที่มีสาเหตุมาจากการยุบตัวของกระดูกใต้ร่องแก้มโดยตรง สามารถเติมแค่ฟิลเลอร์ร่องแก้มเพียงจุดเดียวได้
3. เกิดจากการยิ้มบ่อย ๆ จนกล้ามเนื้อที่ดึงร่องแก้มแข็งแรงเกินไป
สามารถใช้โบท็อกเทคนิค Dermotoxin แก้ไขได้ แต่ไม่ควรแก้ด้วยโบท็อกทั้ง 100% เพราะจะทำให้การยิ้มดูแข็ง ๆ ไม่เป็นธรรมชาติ ควรแก้ด้วยโบท็อกแค่ 50% และที่เหลือแก้ด้วยการเติมฟิลเลอร์เทคนิค Myomodulation จะช่วยให้ร่องแก้มตื้นขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติมากกว่า
Dermotoxin คือการฉีดโบท็อกปริมาณที่น้อยมาก ๆ ลงในชั้นผิวหนัง เพื่อให้เส้นใยของกล้ามเนื้อที่มาเกาะกับผิวหนังชั้นบนคลายตัว โดยที่ไม่ทำให้กล้ามเนื้อชั้นล่างคลายไปด้วย เพราะในบางจุดถ้ากล้ามเนื้อคลายตัวมากเกินไป เช่นบริเวณร่องแก้ม ก็จะทำให้การยิ้มดูผิดธรรมชาติยิ้มแข็ง ๆ ได้
Myomodulation เป็นการใช้ฟิลเลอร์ฉีดหนุน หรือฉีดกดกล้ามเนื้อ จะสามารถควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อได้บางส่วน ไม่แข็งเกินไปทำให้ผลออกมาดูเป็นธรรมชาติ และอยู่ได้นานกว่าโบท็อกซ์
4. เกิดจากผิวแห้ง หรือตากแดดบ่อย ชั้นผิวบางลง
จะมีลักษณะเป็นริ้ว ๆ ตื้น ๆ ที่ร่องแก้ม สามารถใช้ฟิลเลอร์เติมความชุ่มชื้นลงในชั้นผิวหนังได้โดยตรง ควรเลือกใช้ฟิลเลอร์โมเลกุลเล็กเพื่อให้เรียนเนียนไปกับผิวไม่เป็นก้อน
ตัวอย่างเคสรีวิวที่ ร่องแก้ม เกิดจากผิวชั้นบนแห้งและบางลง สามารถใช้ฟิลเลอร์ร่องแก้มโมเลกุลเล็กเติมความชุ่มชื้นเก็บรายละเอียดในผิวชั้นตื้นได้โดยตรง
ฟิลเลอร์ร่องแก้ม vs ร้อยไหมก้างปลาดึงร่องแก้ม vs ร้อยไหมเติมเต็มร่องแก้ม vs Hifu ร่องแก้ม
ร่องแก้มลึกวิธีแก้ที่ตรงจุดที่สุดคือเติมฟิลเลอร์ครับ อาจจะใช้ไหมช่วยเสริมเล็กน้อยในผิวชั้นตื้น เพราะถ้าร้อยไหมเงี่ยงก้างปลาดึงร่องแก้มโดยตรงจะทำให้เนื้อขึ้นไปกองที่โหนกแก้มบวมไม่สวยครับ หรือถ้าใช้ไหมเรียบเติมเต็มร่องแก้มก็ต้องร้อยซ้อนกันหลาย ๆ เส้นในจุดเดียวกัน จะเกิด elastin จะทับกับเป็นผังผืดแข็งและไม่เต็มครับ
อ่านบทความเพิ่มเติม : ร้อยไหมก้างปลาแบบไหนดี ? ไหมแต่ละชนิดแตกต่างกันอย่างไร ?
สำหรับคนที่ร่องแก้มไม่ลึกมากและกลัวการฉีดฟิลเลอร์ ก็มีอีกทางเลือกนึงคือการทำ hifu ซึ่งเป็นคลื่นเสียงที่มีความปลอดภัยสูงยิงลงในชั้นผิวกระตุ้นให้เกิดการสร้างคอลลาเจนของตัวเราเอง แต่ผลที่ได้ก็จะไม่ชัดเจนและรวดเร็วเท่าการทำฟิลเลอร์ครับ
อ่านบทความเพิ่มเติม : 9 ข้อต้องระวัง! และควรรู้ในการทำ HIFU Macrofocus
ฟิลเลอร์ร่องแก้มต้องใช้กี่ CC ?
การเติมฟิลเลอร์ร่องแก้ม บางเคสที่อายุเยอะ ๆ (50 ปีขึ้นไป) ปัญหาร่องแก้มลึกเกิดจากหลายปัจจัย ตามข้อ 1-4 ดังที่กล่าวมา จึงต้องใช้ฟิลเลอร์จำนวนหลาย cc (บางเคสใช้ 3-4 cc) และอาจจะต้องทำ Hifu หรือร้อยไหมร่วมด้วย ซึ่งหมอที่ชำนาญจะวางแผนการรักษาโดยเริ่มแก้ไขที่สาเหตุหลักก่อนตามงบประมาณและความต้องการของคนไข้เป็นหลัก โดยที่สามารถค่อย ๆ ทยอยทำได้ ไม่จำเป็นต้องแก้ไขทุกสาเหตุในครั้งเดียว เพราะฟิลเลอร์แท้ที่ปลอดภัยสามารถเติมเพิ่มได้เรื่อย ๆ ซึ่งจะทำให้ได้ผลลัพธ์หน้าเด็กลงอย่างเป็นธรรมชาติมากที่สุด แต่โดยทั่ว ๆ ไปถ้าเคสอายุ 30-40 ปีและร่องแก้มไม่ลึกมากก็จะใช้ฟิลเลอร์ร่องแก้มทั้ง 2 ข้างแค่ประมาณ 1-2 cc
สำหรับที่ V Square Clinic ฟิลเลอร์ร่องแก้มราคาเริ่มต้นจะอยู่ที่ 6,990 บาท/1cc ขึ้นกับยี่ห้อและระยะเวลาความคงทนของฟิลเลอร์ครับ
อ่านบทความเพิ่มเติม : ฟิลเลอร์ยี่ห้อไหนดี ฟิลเลอร์ร่องแก้มควรใช้รุ่นไหน ?
ฟิลเลอร์ร่องแก้มรุ่นที่เหมาะสมคือ Juvederm Ultraplus XC ราคา 6,900 บาท/1CC รุ่นนี้อยู่ได้ 1 ปีครับ
Reference
https://jamanetwork.com/journals/jamafacialplasticsurgery/articlepdf/480585/qoa70048_9_19.pdf
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/m/pubmed/29549406/
เอกสารอ้างอิง
1. Holger G. Gassner, MD; Amir Rafii, MD; Alison Young, MD, PhD; Craig Murakami, MD; Kris S. Moe, MD; Wayne F. Larrabee Jr, MD. 2008. Surgical Anatomy of the Face. แหล่ข้อมูล:https://jamanetwork.com/journals/jamafacialplasticsurgery/articlepdf/480585/qoa70048_9_19.pdf
2. de Maio M. Aesthetic Plast Surg 2018. Myomodulation with Injectable Fillers: An Innovative Approach to Addressing Facial Muscle Movement.. แหล่งข้อมูล:https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK482440/
สามารถ comment สอบถามเข้ามาด้านล่างได้เลยนะครับ หมอตอบเองครับ