สิวที่หน้าผาก เกิดจากอะไร ? รักษาและป้องกันอย่างไรได้บ้าง ?

Reading Time: 3 minutes

สิวที่หน้าผาก

สิวที่หน้าผากเกิดจากอะไรแก้ไขอย่างไรให้ถูกวิธี

สิวที่หน้าผาก เกิดจากอะไร ? แก้ไขอย่างไร ให้ถูกวิธี

สิวที่หน้าผาก มักพบได้บ่อย เพราะหน้าผากอยู่ในบริเวณ T-Zone ซึ่งมีต่อมไขมันจำนวนมาก จึงมีการผลิตน้ำมันออกมาที่ผิวมากกว่าบริเวณอื่น เช่นเดียวกับสิวที่คาง และสิวที่รอบปาก นอกจากจะมองเห็นได้ชัดจนสร้างความรำคาญใจแล้ว หากปล่อยไว้นานหรือรักษาไม่ถูกวิธีก็อาจทิ้งรอยสิวไว้ได้ด้วยครับ

สำหรับใครที่มีปัญหาสิวที่หน้าผากไม่หายสักที ในบทความนี้ หมอจะแนะนำวิธีการรักษาและป้องกันสิวที่หน้าผากอย่างไร ไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำ พร้อมเจาะลึกถึงสาเหตุว่า สิวที่หน้าผาก เกิดจากอะไร ? มีกี่ประเภท ? เพื่อแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุดครับ     

สารบัญ สิวที่หน้าผาก


สิวที่หน้าผากสาเหตุเกิดจากอะไร ?

สิวที่หน้าผากเกิดจากอะไร

สาเหตุหลักของสิวขึ้นหน้าผากเกิดจาก ร่างกายผลิตน้ำมัน (Sebum) ที่ชั้นผิวหนังมากเกินไป เมื่อรวมกับเซลล์ผิวที่ตายแล้วและสิ่งสกปรก จะทำให้รูขุมขนอุดตัน กระตุ้นให้เชื้อแบคทีเรียเจริญเติบโต นำไปสู่การอักเสบและก่อให้เกิดสิว

นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดสิวที่หน้าผาก เช่น

  • กรรมพันธุ์ : หากพ่อแม่หรือบุคคลในครอบครัวเป็นสิว ลูกก็จะมีโอกาสเป็นสิวด้วยเช่นกัน
  • ฮอร์โมน : ปริมาณฮอร์โมนเพศที่ไม่สมดุลในร่างกาย จะกระตุ้นให้ต่อมไขมันผลิตไขมันส่วนเกินเพิ่มมากขึ้นจนรูขุมขนอุดตันและอักเสบ ทำให้เกิดสิวฮอร์โมน สามารถพบได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย
  • ความเครียด : เมื่อเกิดความเครียด ระดับฮอร์โมนในร่างกายเปลี่ยนแปลง จะเป็นสิวได้ง่ายขึ้น
  • การใช้ยา : ยาบางชนิดอาจส่งผลให้เกิดสิวได้ เช่น ยาที่มีคอร์ติโคสเตียรอยด์ เทสโทสเตอโรน และลิเธียม  
  • เครื่องสำอาง : การใช้เครื่องสำอางแล้วล้างหน้าไม่สะอาด มีสิ่งสกปรกตกค้าง ทำให้เกิดสิว
  • ผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผม : ผลิตภัณฑ์บางอย่างมีส่วนผสมของน้ำมัน ทำให้เส้นผมมีความมัน เป็นสาเหตุให้สิวอุดตันขึ้นหน้าผากและไรผม
  • เหงื่อและสิ่งสกปรก : ความมันจากเหงื่อ ความอับชื้น และสิ่งสกปรกต่าง ๆ หากไม่รักษาความสะอาด ปล่อยทิ้งไว้อาจสะสมกลายเป็นสิวเสี้ยนในรูขุมขน
  • แสงแดดและมลภาวะ : รังสียูวีในแสงแดดและมลพิษทางอากาศ เป็นตัวทำลายเกราะป้องกันผิว กระตุ้นให้ผิวผลิตน้ำมันมากขึ้น ส่งผลต่อการอุดตันและเกิดผิวอักเสบ   

ประเภทของสิวที่หน้าผาก

ประเภทของสิวหน้าผาก

สิวที่พบบ่อยบริเวณหน้าผาก สามารถแบ่งประเภทได้ตามขนาดของตุ่มและระดับความรุนแรง ดังนี้  

1. สิวหัวดำ (Blackhead)

สิวหัวดำ หรือสิวอุดตันหัวเปิด มีลักษณะเป็นตุ่มนูนขนาดเล็กมีสีดำอยู่ตรงกลาง หัวสิวจะเป็นก้อนแข็ง เกิดจากการสะสมของเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้วจนทำให้เกิดการอุดตันในรูขุมขน โดยสิวหัวดำที่หน้าผาก มักพบมากในคนที่มีผิวมันหรือผิวผสม ใส่หมวกหรือผ้าโพกหัวแล้วเกิดการอับชื้น สามารถกดหรือบีบออกได้แต่อาจเกิดการอักเสบและเป็นรอยสิว  

2. สิวหัวขาว (Whitehead)

สิวหัวขาว หรือสิวอุดตันหัวปิด จะมีลักษณะคล้ายสิวหัวดำ แต่มีสีขาว เกิดจากการอุดตันของรูขุมขนที่ปิด ทำให้ไขมันไม่ได้สัมผัสกับอากาศ ไม่เกิดปฏิกิริยากับออกซิเจนจึงไม่ได้กลายเป็นสีดำ หากเป็นสิวหัวขาวที่หน้าผากแล้วจะบีบออกได้ยากครับ เพราะรากสิวอยู่ลึก มีโอกาสติดเชื้อและพัฒนากลายเป็นสิวอักเสบได้

3. สิวตุ่มนูนแดง (Papule)

สิวตุ่มนูนแดง หรือสิวตุ่มแดง คือสิวอักเสบระยะเริ่มต้นที่พัฒนามาจากสิวอุดตัน พบได้มากบริเวณที่หน้าผากและคาง มีลักษณะเป็นตุ่มสีแดงขนาดเล็กอยู่ภายในผิว ขนาดไม่เกิน 0.5 cm เป็นสิวไม่มีหัว สัมผัสแล้วจะรู้สึกนูน ๆ กดไม่เจ็บ มีความรุนแรงน้อยกว่าและรักษาได้ง่ายกว่าสิวอักเสบประเภทอื่น ๆ

4. สิวหัวหนอง (Pustule)

สิวหัวหนอง หรือสิวหนอง มีลักษณะคล้ายสิวแบบตุ่มนูนแดง แต่มีหนองสีขาวให้เห็นอยู่ตรงกลางและมีการอักเสบมากกว่า ซึ่งอาจเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่รุนแรงขึ้นทำให้กลายเป็นตุ่มหนอง เมื่อสัมผัสจะรู้สึกเจ็บเล็กน้อย มักพบในบริเวณที่มีต่อมไขมันจำนวนมาก เช่น หน้าผาก ไรผม แก้ม และสิวที่หลัง

5. สิวซีสต์ (Cyst)

สิวซีสต์ มีความคล้ายกับสิวหัวช้าง เป็นสิวที่เกิดการอักเสบรุนแรงมาก ลักษณะเป็นก้อนนูนแข็ง คล้ายถุงน้ำใต้ผิวหนัง อาจมีหนองและปนเลือดในบางราย ทำให้บวมแดงและเจ็บปวด หากเป็นสิวซีสต์ที่หน้าผากแม้จะรักษาหายแล้วก็มีโอกาสสูงที่จะเป็นรอยแผลเป็นนูนหรือเป็นหลุมสิวขนาดใหญ่ได้ครับ     

6. สิวอักเสบแดงเป็นก้อนลึก (Nodule)

สิวอักเสบแดงเป็นก้อนลึก หรือสิวอักเสบลึก ลักษณะเป็นตุ่มแดงใต้ผิวหนัง ขนาดใหญ่มากกว่า 8 mm ไม่มีหัวหรือหนอง อาจพบเป็นหลายหัวสิวที่อยู่ติดกัน มีการอักเสบรุนแรงมาก และรู้สึกเจ็บปวดแม้ไม่ได้สัมผัส มักเกิดจากการบีบหรือกดสิว ทำให้แบคทีเรียและน้ำมันในสิวแตกกระจายอยู่ใต้ผิวหนัง จึงทำให้สิวยิ่งอักเสบบวมแดงมากขึ้น          

7. สิวผด (Acne Aestivalis) 

สิวผด มีลักษณะเป็นผื่นเล็ก ๆ ไม่มีหัว สิวผดที่หน้าผากมักพบในผู้ที่ไว้ผมหน้าม้าหรือผมปรกหน้า มีสาเหตุเกิดจากการเจริญเติบโตผิดปกติของเชื้อราประเภทยีสต์ในกลุ่ม มาลาสซีเซีย (Malassezia) และความร้อน ความมัน คราบเหงื่อ ฝุ่นละออง กระตุ้นให้เกิดอาการแพ้ คัน เป็นเม็ดผื่น ไม่สามารถบีบออกได้

Vsquare tips

ข้อควรรู้ : เป็นสิวที่หน้าผากไม่หายสักที สิวขึ้นบ่อยซ้ำ ๆ ตรงจุดเดิม อาจเป็นสัญญาณของ “สิวเรื้อรัง (Chronic Acne)” หรือภาวะที่มีอาการสิวขึ้นในที่เดิม ๆ ไม่หายขาด หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่รักษา จะทำให้เกิดแผลเป็นและรักษาได้ยากขึ้นครับ


วิธีรักษาสิวที่หน้าผาก

วิธีรักษาสิวที่หน้าผาก สามารถทำได้หลายวิธีครับ ขึ้นอยู่กับสภาพผิว และระดับความรุนแรงของสิว ก่อนทำคนไข้ควรปรึกษาแพทย์เพื่อประเมินปัญหาและวางแผนการรักษาอย่างเหมาะสม หมอรวบรวม 5 วิธีรักษาสิวหน้าผากที่เห็นผลดีมาแนะนำดังนี้ 

  • 1. แปะแผ่นดูดสิว
แผ่นดูดสิวหน้าผาก

การแปะแผ่นดูดสิว สามารถใช้รักษาสิวอักเสบหัวหนองได้ โดยแผ่นดูดจะช่วยดูดเอาหนอง ของเหลว หรือไขมันส่วนเกินออกมาจากผิวหนัง ทำให้สิวแห้งไวขึ้น ลดการติดเชื้อ ถือเป็นวิธีที่ง่ายและสะดวก แต่จะใช้ได้กับสิวที่หัวสิวอยู่ไม่ลึกมาก หากเป็นสิวที่หัวสิวอยู่ลึกลงไปในผิวหนังหรือสิวอุดตันจะไม่ได้ผล

  • 2. กดสิว
กดสิวหน้าผาก

การกดสิว จะช่วยให้หัวสิวหลุดออกจากชั้นผิวหนังได้ง่ายและเร็วมากขึ้น โดยการใช้เครื่องมือแพทย์กดให้สิวอุดตันหัวเปิดหรือสิวหัวดำหลุดออกมา ช่วยลดการสะสมของไขมันในรูขุมขน แต่ข้อจำกัดของวิธีนี้คือไม่เหมาะกับการกดสิวอักเสบ และควรทำโดยผู้เชี่ยวชาญเท่านั้นครับ เพราะหากกดไม่ถูกวิธีหรือความสะอาดไม่เพียงพอ อาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ทิ้งรอยดำ เป็นหลุมสิวถาวรได้

  • 3. ฉีดสิว
ฉีดสิวหน้าผาก

การฉีดสิว คือการฉีดสเตียรอยด์เข้าไปใต้หัวสิว เพื่อลดการอักเสบ เหมาะสำหรับสิวอักเสบแบบตุ่ม สิวหนอง สิวอักเสบลึก สิวขึ้นหน้าผากไม่มีหัว สิวซีสต์ เป็นไตแข็งนูน จับแล้วรู้สึกเจ็บ หลังฉีด 2-3 วัน จะรู้สึกเจ็บน้อยลงและสิวยุบลงได้จริง แต่หัวสิวนั้นจะยังคงอยู่ใต้ผิวเหมือนเดิม ดังนั้นวิธีนี้จะไม่ทำให้สิวหายขาด มีโอกาสที่จะเป็นซ้ำได้และอาจก่อให้เกิดการอุดตันหากฉีดบ่อยเกินไปครับ  

  • 4. เลเซอร์สิว
เลเซอร์สิวหน้าผาก

การทำเลเซอร์รักษาสิวมีหลายชนิดครับ เช่น CO2 Laser เข้าไปช่วยเปิดช่องทางออกของต่อมไขมัน เห็นผลดีในการใช้รักษาสิวผดหน้าผากและสิวอุดตัน เหมาะกับกรณีที่ใช้วิธีทั่วไปแล้วไม่ได้ผล ดื้อยา หรือต้องการลดรอยสิวร่วมด้วย และ Omnilux นวัตกรรมแสงบำบัด (Light Therapy) ใช้แสงสีน้ำเงิน และแสงสีแดง ในการฆ่าเชื้อสิว ลดการอักเสบแดง ควบคุมความมันบนชั้นผิว

  • 5. ใช้ยารักษาสิว
ยารักษาสิวหน้าผาก

การใช้ยารักษาสิว มีจุดประสงค์เพื่อกำจัดสิว ลดการผลิตไขมันจากต่อมไขมัน เร่งให้การอักเสบหายเร็วขึ้น มีทั้งประเภทยาทาและยารับประทาน จำเป็นต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ผิวหนังหรือเภสัชกรเท่านั้นครับ เพราะยาบางชนิดอาจมีผลข้างเคียงได้ 


​​วิธีการป้องกันสิวที่หน้าผาก

ปัจจุบันมีหลายหัตถการทางการแพทย์ที่ช่วยป้องกันการเกิดสิวที่หน้าผาก ช่วยลดรอยดำ รอยแดงจากสิว และหุลมสิวได้ ดังนี้ครับ

  • 1. ฉีดเมโสหน้าใส

การฉีดเมโสหน้าใส คือการฉีดวิตามินและสารสกัดที่มีประโยชน์เข้าสู่ผิวโดยตรง เพื่อบำรุง ฟื้นฟูผิวที่เสื่อมสภาพ และแก้ปัญหาต่าง ๆ บนผิวหน้า ตัวยามีหลายสูตรหลายยี่ห้อ ฉีดเมโสยี่ห้อไหนดี หมอจะเป็นผู้ประเมินและเลือกสูตรที่เหมาะสมให้กับคนไข้ ส่วนผลลัพธ์หลังฉีดเมโสหน้าใส อยู่ได้นานแค่ไหน ขึ้นอยู่กับการดูแลตัวเองของแต่ละบุคคลครับ

  • 2. ฉีดมาเด้คอลลาเจน

มาเด้คอลลาเจน เป็นยี่ห้อยาฉีดเมโสหน้าใสที่มีจุดเด่นด้านการขับสารพิษที่ตกค้างอยู่ในผิว ช่วยขจัดสิ่งสกปรกที่ตกค้างอันเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดสิวและรูขุมขนอุดตัน หลังฉีดมาเด้ คนไข้จะรู้สึกว่าผิวดีขึ้น สิวที่หน้าผากลดลง และหากฉีดอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับดูแลตัวเองเป็นอย่างดีก็จะทำให้ผิวแข็งแรงยิ่งขึ้น ลดโอกาสการเกิดสิวในอนาคตได้ครับ     

  • 3. ฉีดวิตามินผิว

การฉีดวิตามินผิว คือการฉีดตัวยาที่มีส่วนผสมของวิตามิน แร่ธาตุ และกรดอะมิโน เข้าไปในผิวเพื่อเสริมสร้างภูมิต้านทาน ต่อต้านอนุมูลอิสระ และซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของเซลล์ผิว เมื่อเซลล์แข็งแรง ผิวจะมีคุณภาพดีขึ้นจากภายในสู่ภายนอก ช่วยฟื้นฟูหน้าโทรม เป็นสิว ผิวหมองคล้ำ ให้กระจ่างใส เปล่งปลั่ง

  • 4 .ฉีด Rejuran

การฉีด Rejuran มีจุดประสงค์คล้ายกับการฉีดฟิลเลอร์ Skin Booster คือช่วยฟื้นฟูผิวหน้าให้แข็งแรง และซ่อมแซมผิวจากภายใน กระตุ้นการสร้างคอลลาเจนใหม่ให้ผิวแน่นขึ้น ช่วยแก้ปัญหารูขุมขนกว้าง เสริมเกราะป้องกันผิว ต้านการอักเสบ พร้อมทั้งปรับสภาพผิว ช่วยลดรอยดำ รอยแดงจากสิวให้ดูจางลง

  • 5. ฉีดฟิลเลอร์หลุมสิว 

การฉีดฟิลเลอร์หลุมสิว เป็นการใช้ฟิลเลอร์หรือสารไฮยาลูโรนิค แอซิด ซึ่งมีคุณสมบัติอุ้มน้ำในผิว ฉีดเข้าไปเติมเต็มหลุมสิวให้ตื้นขึ้น ช่วยกระตุ้นคอลลาเจนและปรับสภาพผิวให้ดูเรียบเนียน รูขุมขนกระชับ เหมาะสำหรับคนที่ต้องการรักษาหลุมสิวเร่งด่วนครับ

การทำหัตถการทางการแพทย์ที่หมอได้กล่าวไป เป็นวิธีทำให้หน้าใส บำรุงผิวชั้นลึกให้แข็งแรง แนะนำให้ทำร่วมกับการดูแลตัวเอง จะช่วยชะลอและลดโอกาสเกิดสิวที่หน้าผากได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถปฏิบัติตามได้ดังนี้

  • ทำความสะอาดผิวหน้าให้ถูกวิธี 
  • เลือกใช้เครื่องสำอางอย่างเหมาะสม 
  • ดูแลเส้นผมให้ปราศจากความมัน 
  • หลีกเลี่ยงแสงแดดและความร้อน
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

คำถามที่พบบ่อย

สิวที่หน้าผากเกิดจากความมันเท่านั้นจริงไหม ?

สิวที่หน้าผาก ไม่ได้เกิดจากความมันเท่านั้นเสมอไปครับ ยังอาจเกิดจากปัจจัยอื่น ๆ ที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดสิว เช่น ฮอร์โมน ความเครียด และกรรมพันธุ์ เป็นต้น

แสงแดดทำให้สิวบนหน้าผากเกิดง่ายขึ้นจริงไหม ?

แสงแดดถือเป็นตัวการทำลายผิวที่ทำให้เกิดสิวได้ง่ายครับ เพราะในแสงแดด ประกอบไปด้วยรังสียูวี เมื่อกระทบเข้าสู่ผิวหนังจะก่อให้เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่น กระตุ้นให้รูขุมขนอักเสบและเกิดสิวอักเสบ รวมทั้งความร้อนจากแสงแดดยังทำให้ต่อมเหงื่อขับเหงื่อออกมามากขึ้น นำไปสู่การอุดตันจนเกิดสิวผด

รักษาสิวที่หน้าผากใช้เวลานานไหม ?

ระยะเวลาในการรักษาสิวที่หน้าผากขึ้นอยู่กับประเภทของสิว และวิธีการรักษาครับ หากรักษาด้วยตัวเองในกรณีที่สิวอักเสบไม่รุนแรง สามารถหายได้เองภายใน 4-6 สัปดาห์ สำหรับผู้ที่ต้องการรักษาสิวเร่งด่วน แนะนำให้รับการรักษาโดยแพทย์ จะเห็นผลลัพธ์รวดเร็วและได้ผลดีครับ


สรุป

สิวที่หน้าผาก หากเป็นแล้วควรรีบรักษาครับ แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ผิวหนังเพื่อประเมินหาสาเหตุและทำการรักษาอย่างตรงจุด ช่วยให้สิวหายได้เร็วขึ้น ลดโอกาสติดเชื้อ ป้องกันการเกิดรอยสิวและหลุมสิว 


อ้างอิง

https://pharm.tu.ac.th/uploads/pharm/pdf/articles/acne57.pdf


สำหรับผู้อ่านทุกท่านที่มีข้อสงสัยเพิ่มเติม ทีมแพทย์ V Square Clinic ทุกคนยินดีให้คำปรึกษาฟรี โดยไม่มีค่าใช้จ่าย หรือสามารถปรึกษาหมอทาง inbox facebook หรือ Line นี้ได้เลยครับ หมอตอบเองครับ
Banner_Web_หมอให้คำปรึกษา_หมอ42คน

สามารถ comment สอบถามเข้ามาด้านล่างได้เลยนะครับ หมอตอบเองครับ

บทความแนะนำ

หลังฉีดฟิลเลอร์ ห้ามกินอะไรบ้าง ? มีอาหารอะไรที่ควรระวัง ควรกิน ควรเลี่ยง

Reading Time: 3 minutes- ก่อนฉีดฟิลเลอร์ ห้ามกินอะไรบ้าง ? - หลังฉีดฟิลเลอร์ ห้ามกินอะไรบ้าง ? - หลังฉีดฟิลเลอร์ ควรกินอะไรบ้าง ? - ถ้าเผลอกินอาหาร เครื่องดื่มที่หมอห้าม จะมีผลข้างเคียงไหม ? - คำถามที่พบบ่อย- ก่อนฉีดฟิลเลอร์ ห้ามกินอะไรบ้าง ? - หลังฉีดฟิลเลอร์ ห้ามกินอะไรบ้าง ? - หลังฉีดฟิลเลอร์ ควรกินอะไรบ้าง ? - ถ้าเผลอกินอาหาร เครื่องดื่มที่หมอห้าม จะมีผลข้างเคียงไหม ? - คำถามที่พบบ่อย

December 18, 2024 อ่านต่อ

ฟิลเลอร์ติ่งหู หูกาง คืออะไร ? เหมาะกับใคร ? ช่วยอะไรบ้าง ?

Reading Time: 3 minutes- ฟิลเลอร์ติ่งหู หูกาง คืออะไร ? - สาเหตุที่ทำให้ติ่งหูยาน - สาเหตุที่ทำให้หูกาง - ฟิลเลอร์ติ่งหู หูกาง เหมาะกับใคร ? ช่วยอะไรบ้าง ? - เปรียบเทียบ ฟิลเลอร์ติ่งหู หูกาง VS ศัลยกรรมตกแต่งใบหู - ฟิลเลอร์ติ่งหู หูกาง ยี่ห้อไหนดี ? - ฉีดฟิลเลอร์ติ่งหู หูกาง ใช้กี่ CC ?

ฉีดฟิลเลอร์คาง vs ผ่าตัดคาง แต่ละวิธี มีข้อดี-ข้อเสียอย่า...

Reading Time: 6 minutes- ฉีดฟิลเลอร์คาง คืออะไร ? - ฉีดฟิลเลอร์คาง ช่วยเรื่องอะไรบ้าง ? - ฟิลเลอร์คาง เหมาะกับใคร ? - ฉีดฟิลเลอร์คาง อันตรายไหม ? - ฟิลเลอร์คาง มีข้อดี ข้อเสีย อย่างไร ?

ไขมันช่องท้อง อันตราย! แนะนำวิธีลดไขมันช่องท้อง เพื่อหุ่น...

Reading Time: 4 minutes- ไขมันช่องท้อง เกิดจากอะไร? - การวัดค่าไขมันในช่องท้อง - ไขมันในช่องท้องเยอะ อันตรายไหม? - วิธีลดไขมันในช่องท้องด้วยตัวเอง - วิธีลดไขมันในช่องท้อง เร่งด่วน

ulthera prime รุ่นใหม่ เทียบกับรุ่นเก่าต่างกันอย่างไร ? เ...

Reading Time: 3 minutes- ulthera prime คืออะไร ? - ulthera prime ช่วยอะไรได้บ้าง ? - ulthera prime ทำตำแหน่งไหนได้บ้าง ? - ขั้นตอนการทำ ulthera prime - ulthera prime กี่วันเห็นผล ?

5 อาการหลังทำ HIFU ผลข้างเคียง เจ็บ บวม ช้ำ ปกติหรือไม่ ด...

Reading Time: 2 minutes- หลัง HIFU ผลข้างเคียง มีอะไรบ้าง? - วิธีดูแลตัวเองหลังทำ hifu เพื่อคงผลลัพธ์ได้นานขึ้น - เลือกคลินิกทำ hifu ที่ไหนปลอดภัย เห็นผล

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ สามารถศึกษานโยบายความเป็นส่วนตัวและจัดการความเป็นส่วนตัว ได้ที่ปุ่มตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า