ฟิลเลอร์

หลุมสิว (Atrophic Scars) เกิดจากอะไร มีกี่แบบ รักษาวิธีไหนดี ป้องกันอย่างไร

Reading Time: 5 minutes

หลุมสิว

หลุมสิว

สาเหตุที่แท้จริงของ “หลุมสิว” รักษาวิธีใดได้บ้าง พร้อมแนวทางป้องกัน

หลุมสิวปัญหาผิวหน้าที่มาจากผลแทรกซ้อน หลังจากการเป็นสิวอักเสบที่พบได้บ่อย ๆ โดยจะทำให้ใบหน้าเป็นรอย ไม่เรียบเนียน เชื่อว่าผู้ที่มีปัญหาหลุมสิวจะรู้สึกไม่มั่นใจ และต้องการหาแนวทางการรักษาและป้องกัน เพื่อลดโอกาสเกิดหลุมสิวในอนาคต

ในบทความนี้หมอได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับหลุมสิวแต่ละประเภท พร้อมแนะนำวิธีการรักษาหลากหลายวิธี โดยเฉพาะการฉีดฟิลเลอร์หลุมสิว ที่หลายคนสงสัยว่าช่วยรักษาหลุมสิวได้หรือไม่ เพื่อให้คนไข้มีข้อมูลประกอบการตัดสิน ก่อนเข้ารับการรักษาครับ 

สารบัญ หลุมสิว


หลุมสิว คืออะไร ?

หลุมสิว (Atrophic Scars) คือ รอยแผลเป็นจากการอักเสบของสิวหลังจากสิวหาย มักมาจากสิวอักเสบที่ลงลึกถึงผิวชั้นใน เช่น สิวหนอง สิวหัวช้างขนาดใหญ่ จนแผลไม่สามารถสมานได้เต็มที่ เนื่องจากเกิดพังผืดที่ดึงรั้งทำให้ผิวหนังยุบลงไปตามกระบวนการรักษาแผลของร่างกาย ทำให้เห็นเป็นรอยบุ๋มในผิว ผิวไม่เรียบเนียนเท่ากัน และเป็นหลุมลึกบนใบหน้าครับ 


หลุมสิวเกิดจากอะไร ?

หลุมสิว คือผลกระทบที่เกิดจากปัญหาสิวที่มีการอักเสบ รวมถึงสิวอุดตัน โดยปกติหลังจากสิวหายแล้วจะมีกระบวนการซ่อมแซมผิวหนังโดยไม่ทำให้เกิดรอยแผลเป็น ใช้เวลาประมาณ 7-10 วัน หลังจากสิวหาย จะมีการสร้างเซลล์ผิวหนังและคอลลาเจนล้อมรอบบริเวณที่มีการอักเสบ ซึ่งถ้ากระบวนการนี้เกิดได้อย่างสมบูรณ์ก็จะไม่มีรอยแผลเป็นจากการเกิดสิว 

แต่ถ้ากระบวนการนี้เกิดขึ้นได้อย่างไม่สมบูรณ์หรือผิวเกิดการอักเสบอย่างรุนแรง จนทำให้ผิวยุบลง สร้างคอลลาเจนใหม่ได้ไม่เพียงพอต่อคอลลาเจนที่ถูกทำลายไป เซลล์เนื้อเยื่อเกิดการหดรัดตัว ทำให้เกิดรอยแผลเป็นหรือหลุมจากสิวได้ 

สาเหตุหลุมสิว

การเป็นสิวสามารถเกิดรอยแผลเป็นได้ถึง 95% ของผู้ป่วยที่เป็นสิว แต่รอยแผลเป็นจากสิวที่รุนแรง หรือมีหลุมสิว พบได้ประมาณ 22% ซึ่งเกิดจากปฏิกิริยาการอักเสบรุนแรงที่เกิดขึ้นในชั้นหนังแท้ มีการตอบสนองกับเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า P.acnes ทำให้เกิดรอยแผลเป็นหลุมสิวแบบถาวร เพราะมีการทำร้ายผิวโดยทำให้คอลลาเจนและเนื้อเยื่อรอบ ๆ ถูกทำลายลงด้วย โดยเฉพาะสิวหัวช้าง สิวเม็ดใหญ่ ก็จะทิ้งแผลเป็นขนาดใหญ่ ที่ลงลึกถึงชั้นผิวหนังชั้นใน เกิดเป็นหลุมลึกและพังผืดตามมา 


สิวแบบไหนที่สามารถกลายเป็นหลุมสิวได้

ลักษณะของสิวที่สามารถกลายเป็นหลุมสิวได้แก่ 

  1. สิวหัวช้างเม็ดใหญ่ (Cyst) เป็นสิวขนาดใหญ่ที่มีหนองปนเลือดอยู่ภายในหัวสิว ใช้เวลาในการรักษานาน 
  2. สิวอักเสบรุนแรง (Pustule) หรือสิวหัวหนอง อักเสบเรื้อรัง 
  3. สิวที่ติดเชื้อแบคทีเรียจนลุกลามไปทั่วชั้นใต้ผิว (Nodule)

ลักษณะของหลุมสิว

หลุมสิว มีลักษณะเป็นหลุมเล็ก ๆ บนผิว ทำให้ผิวขรุขระ ไม่เรียบเนียน เป็นรอยบุ๋มลงไป เมื่อเทียบกับชั้นผิวหนังข้างเคียง มองเห็นเป็นหลุมลึกแบบเห็นชัดเจน บางคนอาจจะกระจายทั่วใบหน้า หรือบางคนมีเป็นจุด ๆ เป็นหลุมแผลเป็นทิ้งไว้บนใบหน้า ทำให้ใบหน้าโทรม ดูไม่สดใส และรักษาได้ยากกว่าปัญหาสิวครับ


หลุมสิวมีกี่ประเภท ?

หลุมสิวแบ่งออกเป็น 3  ประเภทหลัก ๆ ดังนี้

ประเภทหลุมสิว

1. ชนิด Ice Pick Scar

หลุมสิวประเภท Ice Pick scar จะเป็นหลุมลึก ปากแผลแคบ มักมีขนาดไม่เกิน 2 มม. อยู่ในระดับความรุนแรงที่สุด สาเหตุจากการกดหรือบีบสิวอุดตัน สิวที่อักเสบ รักษาได้ยาก เนื่องจากสิวกินเนื้อไปจนถึงชั้นรูขุมขน มีการทำลายลึกลงไปถึงชั้นผิวหนังแท้ ทำให้คอลลาเจนหายไปด้วย หลุมสิวจึงเป็นไปในแนวลึก กว่าผิวจะฟื้นฟูจนเต็มต้องใช้เวลานานในการรักษา เพื่อช่วยให้รอยหลุมตื้นขึ้นมา      

ประเภทหลุมสิว Ice Pick scar

2. ชนิด Box Scar 

หลุมสิวประเภท Box Scar จะมีลักษณะเป็นบ่อ มีขนาดกว้าง เห็นขอบของหลุมสิวชัดเจน  ลึกประมาณ 3-5 มิลลิเมตร มีขนาดใหญ่กว่าหลุมสิวประเภท Ice pick scar  อยู่ในระดับความรุนแรงปานกลาง มักพบพังผืด (fibrosis) เกาะติดในชั้นหนังแท้ มีทั้งแผลลึกและแผลตื่น สาเหตุมาจากสิวอักเสบมีขั้นลึก รวมถึงคนที่เป็นโรคอีสุกอีใส 

ประเภทหลุมสิวBox Scar

3. ชนิด Rolling Scar 

หลุมสิวประเภท Rolling Scar เป็นหลุมสิวระดับทั่วไป จะมีลักษณะเป็นหลุมตื้น ๆ เป็นหลุมสิวแค่ช่วงผิวส่วนบนเพียงเล็กน้อย เป็นแอ่งเว้าลงไปไม่ลึก มีความรุนแรงน้อยสุด  มักจะทำการรักษาได้ง่ายกว่าระดับอื่น ๆ  

ประเภทหลุมสิวRolling Scar

วิธีรักษาหลุมสิว รูขุมขนกว้าง

เนื่องจากหลุมสิวมีหลายประเภท อีกทั้งมีระดับความรุนแรงต่างกัน วิธีการรักษาในแต่ละเคสอาจต้องใช้วิธีการรักษาที่ต่างหรือ หรือทำร่วมกันถึงจะเห็นผลลัพธ์ที่ดี โดยมีวิธีการรักษาที่ช่วยให้หลุมสิวดีขึ้นมีหลายวิธี แต่ยังไม่มีวิธีที่ได้ผล 100% ผลการรักษาจึงขึ้นอยู่กับชนิดของหลุมสิวครับ 

1. รักษาหลุมสิวด้วยเลเซอร์ (Laser)

เลเซอร์หลุมสิว (Laser)  เป็นการรักษาหลุมสิวที่ได้รับความนิยมครับ เพราะเห็นผลลัพธ์ได้ดี โดยเลเซอร์ที่นำมาใช้เพื่อแก้ปัญหาหลุมสิว มีทั้งชนิดลอกผิว และไม่ลอกผิว โดยแพทย์จะแนะนำชนิดเลเซอร์ต่างกัน ขึ้นอยู่กับลักษณะหลุมสิวในแต่ละเคส โดยชนิดของเลเซอร์ที่นิยมใช้ได้แก่ Fractional Co2 Laser, Fraxel, Fine Scan, Fractional, Pico Laser, e-matrix เป็นต้น 

ข้อดี ของการใช้เลเซอร์รักษาหลุมสิวคือ ช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน สร้างเซลล์ใหม่ ผลัดเซลล์ผิวเก่า ทำให้ผิวชั้นบนเรียบเนียนขึ้น ส่งผลให้หลุมสิวตื้นขึ้น และลดปัญหารูขุมขนกว้างได้ โดยทั่วไปจะต้องทำ 4-6 ครั้ง เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดี โดยเว้นระยะห่างในการรักษาประมาณ 2-3 สัปดาห์ เพื่อให้ชั้นผิวมีระยะเวลาการสร้างคอลลาเจนและอิลาสตินใหม่มาทดแทนผิวที่เสียหาย 

ข้อควรระวังคือ หลังทำจะมีผลข้างเคียงคือ ผิวแดงมีการตกสะเก็ด ผิวแห้งลอก ต้องอาศัยระยะเวลาในการพักฟื้น เลี่ยงการออกแดดจัด และทาครีมกันแดดทุกครั้ง ใครที่สนใจวิธีนี้จะต้องวางแผนให้ดีครับ เพราะไม่เหมาะกับผู้ที่ต้องการใช้หน้าได้เลย 

2. คลื่นวิทยุ (Radiofrequency – RF)

การใช้คลื่นวิทยุ RF รักษาหลุมสิวคล้ายกับการใช้เลเซอร์ครับ คือปล่อยพลังงานให้เกิดความร้อนที่ชั้นผิว เพื่อกระตุ้นให้มีการสร้างคอลลาเจนที่ผิวชั้นล่าง แต่ก็มีผลข้างเคียงเช่นกัน เช่น หน้าบวม แดง รวมถึงอาศัยระยะเวลาในการพักฟื้น เทียบกับเลเซอร์พักฟื้นสั้นกว่า โดยที่ผลของการรักษาหลุมสิวไม่ค่อยต่างกันมากครับ 

3. กรอผิวด้วยเกล็ดอัญมณี (Dermabrasion)

วิธีรักษาหลุมสิวด้วยการผลัดเซลล์ผิว ด้วยเกล็ดอัญมณีที่มีขนาดเล็ก สามารถใช้กับหลุมสิวชนิด Rolling scars หรือ Box scars ได้  เป็นวิธีที่ต้องใช้ความชำนาญของแพทย์สูงในการกรอผิวหนังส่วนที่เป็นแผลเป็นออก เพื่อให้การสร้างเซลล์ผิวใหม่ขึ้นมาทดแทน จึงช่วยลดรอยสิว รอยหลุมสิว รอยแผลเป็น รวมถึงจุดด่างดำจากสิวบนใบหน้าลดเลือนลง และสภาพผิวให้ดูเรียบเนียนขึ้

รักษาหลุมสิวDermabrasion

โดยทั่วไปต้องทำต่อเนื่อง 8-10 ครั้งขึ้นอยู่กับปัญหา ผลลัพธ์ขึ้นอยู่กับเทคนิคและความชำนาญของแพทย์และมีข้อควรระวังคือในบางเคสอาจ มีการระคายเคืองผิว และอาจมีรอยแดงเรื่อๆ เกิดขึ้นได้ หรือไวต่อแสงแดดได้ ทำให้เกิดรอยดํา, รอยด่างขาว, แผลเป็นนูน, คีลอยด์, สิวหิน เป็นต้น 

4. ใช้กรดลอกผิว (Chemical Peeling)

การทำให้เซลล์ผิวหนังหลุดลอดออก จะช่วยให้รอบหลุมสิวตื้นขึ้น โดยใช้สารเคมีที่มีฤทธิ์เป็นกรดความเข็มข้นต่าง ๆ กัน แบ่งออกเป็น 3 ระดับคือ 

  1. ระดับชั้นหนังกำพร้า (Superficial chemical peeling) สารที่ใช้ เช่น Glycolic acid,lactic acid ,Salicylic acid, Trichloroacetic acid (TCA) ในระดับ % ที่ต่างกัน เป็นต้น หลังทำจะช่วยให้รอยแผลเป็นหลุมสิว ชนิด Icepick scars แบบตื้น ๆ และ Rolling scars ดีขึ้น ช่วยลดรอยแดง รอยดำ ทำให้ผิวนุ่มและมีความยืดหยุ่นมากขึ้น กระตุ้นให้เซลล์ผิวใหม่แบ่งตัวขึ้นมาบริเวณรอบหลุม พร้อมแก้ไขเซลล์ ผิวหนังชั้นนอกที่มีปัญหากลับคืนสู่สภาพปกติ รูขุมขนกระชับขึ้น 
  2. ระดับชั้นหนังแท้ชั้นตื้น (Intermediate chemical peeling) สารที่ใช้ เช่น Trichloroacetic acid (TCA)
  3. ระดับชั้นหนังแท้ชั้นลึก (Deep chemical peeling) สารที่ใช้เช่น Phenol เป็นต้น
รักษาหลุมสิว-Chemical Peeling

โดยการทำ Chemical Peeling ระดับชั้นหนังแท้ชั้นตื้นและลึก มีข้อดีเหมือนการทำ Chemical Peeling ระดับชั้นหนังกําพร้าแต่มีความเสี่ยงต่อการเกิดรอยดําและรอยแผลเป็นมากขึ้น

5. ใช้ยากลุ่มอนุพันธ์วิตามินเอหรือกรดวิตามินเอ

การรักษาหลุมสิวด้วยการใช้ยากลุ่มวิตามินเอ หรืออนุพันธุ์วิตามินเอ เช่น Retin A (เรตินเอ), Retinoid (เรตินอยด์), Retinol (เรตินอล) โดยตัวยากลุ่มนี้จะมีคุณสมบัติในการช่วยปรับโครงสร้างผิวชั้นบน (ผิวหนังชั้นเคราติน) ให้เรียบเนียน ช่วยผลัดเซลล์ผิวให้หลุมสิวดูตื้นขึ้น สร้างเซลล์ผิวใหม่ กระตุ้นการสร้างคอลลาเจน รวมถึงลดการอุดตันของเคราตินในรูขุมขน ลดการอักเสบของสิว  หลุมสิวประเภท Rolling scar เพราะเป็นหลุมสิวตื้น ๆ อยู่ในระดับที่ยังไม่ลึกมาก

ข้อควรระวังคือ อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงเกิดขึ้นได้ เช่น ผิวแห้ง แสบ หน้าแดง ผิวลอก ทำให้ผิวระคายเคืองจึงต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์หรือเภสัช และเลี่ยงการโดนแสงแดด เพราะผิวจะไวต่อแสงแดดมากขึ้น ข้อสำคัญคือผู้ที่กำลังตั้งครรภ์ หรือสงสัยว่าตั้งครรภ์ ห้ามใช้สารในกลุ่มนี้ เพราะจะทำให้เด็กในครรภ์เกิดอันตรายได้ครับ

6. การตัดพังผืด (Subcision)

การตัดพังผืดหลุมสิว หรือ subcision หลุมสิว เป็นวิธีการใช้เข็มขนาดเล็กตัดเลาะพังผืดใต้ผิวหนังออก เหมาะกับผู้ที่มีปัญหาหลุมสิวมานาน และกระจายเต็มผิวหน้า เป็นหลุมสิวชนิด rolling scar และ box car หรือแผลเป็นที่มีขอบชัดและมีขนาดลึก

วิธีการฉีดฟิลเลอร์หลุมสิว

ข้อดีคือหลังทำสามารถเห็นเปลี่ยนแปลงได้ทันทีระดับหนึ่ง แต่จะเห็นผลชัดเจนเมื่อทำติดต่อกัน 3-5 ครั้ง โดยเว้นระยะในการทำแต่ละครั้ง 3 – 6 สัปดาห์ เพื่อให้มีการสร้างคอลลาเจนขึ้นมาใหม่เข้าไปในช่วงว่างที่ตัดพังผืดออกแล้ว จึงเติมเต็มให้รอยหลุมสิวดูตื้นขึ้น และทำให้หลุดสิวลดน้อยลงด้วยครับ สามารถทำร่วมกับการฉีดฟิลเลอร์หลุมสิวได้เช่นกัน เพื่อให้เห็นผลเร็วขึ้น

ข้อระวังคือ หลังทำอาจมีผลข้างเคียง เช่น อาการบวม เขียว ช้ำ และหากคนไข้ดูแลรักษาแผลไม่ดีพอ อาจติดเชื้อ หรือมีรอยแผลใหม่จากการรักษาได้ครับ 

7. การผ่าตัด (Punch  Excision)

การผ่าตัดหลุมสิว เป็นหนึ่งในวิธีการรักษาหลุมสิว วิธีการคือจะใช้เครื่องมือผ่าตัดขนาดเล็ก ประมาณ 2 – 3 มิลลิเมตร ตัดบริเวณป็นหลุมสิว จากนั้นแพทย์จะทำการดึงขอบ 2 ข้างที่เป็นผิวปกติมาเย็บติดกัน เหมาะกับการรักษาหลุมสิวชนิด Ice pix scar ที่เป็นมานาน  และหลุมสิวชนิด Boxcar scar แต่ขนาดขอบไม่ควรกว้างเกิน 3 มิลลิเมตร เพราะหากหลุมสิวที่ใหญ่กว่านี้ หลังผ่าตัดอาจเสี่ยงต่อการเกิดแผลเป็นที่ไม่สวยตามมาได้

ข้อดีคือ ผ่าตัดหลุมสิวเป็นวิธีการสร้างแผลใหม่ ซึ่งเวลาที่ผิวเกิดการบาดเจ็บหรือมีแผลใหม่และทำลายพังผืดก็จะมีการกระตุ้นคอลลาเจนไปในตัว ทำให้เห็นผลการรักษาชัดเจน 

ข้อควรระวังคือ หลังผ่าตัดคนไข้ต้องดูแลตัวเองอย่างดี และอีก 1 สัปดาห์คนไข้จะต้องมาตัดไหมที่เย็บแผล ซึ่งหลังจากตัดไหมแล้วจะเป็นรอยเส้นตรง ใช้เวลาประมาณ 2 เดือน รอยเส้นตรงจะเริ่มดีขึ้น ในระหว่างนี้ควร หลีกเลี่ยงแสงแดดประมาณ 2 สัปดาห์และห้ามโดนน้ำอย่างน้อย 3 วันครับ 

และในวันที่กลับมาตัดไหม แนะนำว่ายังไม่ควรแต่งหน้าในบริเวณที่เพิ่งทำการตัดไหมออก เพราะผิวกำลังฟื้นฟู หากแต่งหน้าแล้วเครื่องสำอางไปกดทับ ก็จะเกิดสิวอุดตันและอักเสบขึ้นมาได้อีกครับ 

8. การฉีดสารเติมเต็มหรือฉีดฟิลเลอร์ (Fillers injection)

การฉีดฟิลเลอร์หลุมสิวเป็นวิธีการรักษาที่ได้รับความนิยมมากขึ้น ไม่แพ้การฉีดฟิลเลอร์ยกหน้า เพราะสามารถทำร่วมกับวิธีการรักษาอื่น ๆ ได้ เพื่อให้เห็นผลัพธ์เร็ว และมีประสิทธิภาพ วิธีการคือ ใช้สารเติมเต็มประเภทไฮยาลูโรนิค แอซิด (Hyaluronic Acid) ฉีดเข้าไปบริเวณหลุมสิว เพื่อเติมเต็มหลุมสิวให้ดูตื้นขึ้น เป็นการแก้ปัญหาหลุมสิวแบบเร่งด่วน 

หลังทำเห็นการเปลี่ยนแปลงได้ทันที ประมาณ 70 % ไม่ทิ้งรอยแผล และไม่ต้องเสียเวลาพักฟื้น ผิวอิ่มเต็ม กระชับและเรียบเนียนเป็นธรรมชาติครับ ส่วนจะใช้ฟิลเลอร์ฟิลเลอร์ยี่ห้อไหนดี ต้องแพทย์ช่วยประเมินครับ 

ข้อดีคือ ยังช่วยกระตุ้นคอลลาเจนใต้ผิวหนัง ทำให้ผิวอิ่มน้ำ ชุ่มชื้นขึ้น แตกต่างจากวิธีอื่น ๆ คือไม่ต้องเสียเวลาพักฟื้น ไม่เกิดรอยแผล สามารถใช้หน้าได้เลย

ข้อควรระวังคือ ต้องเลือกทำกับหมอที่มีความชำนาญเท่านั้น  โดยเฉพาะเคสที่มีปัญหาหลุมสิวแบบมีพังผืด หมอต้องใช้ เข็มเซาะพังผืดพร้อม ๆ กับฉีดเติมฟิลเลอร์  เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่สวยงาม และหลุมสิวดูตื้นขึ้นในทันทีครับ   

อ่านบทความเพิ่มเติม

9. ฉีดเมโสรักษาหลุมสิว 

เมโสหลุมสิว หรือ ฉีดมาเด้คอลลาเจนหลุมสิว เป็นการฉีดตัวยาฉีดเมโส ที่มีส่วนผสมที่ช่วยให้ลดรอยด่างดำบนใบหน้า  รวมถึงวิตามินต่าง ๆ ที่ช่วยบำรุงผิว  เช่น คอลลาเจน  โคเอนไซม์  Vitamin A, B, C, E Transamin, Glutatione ที่ช่วยกระชับรูขุมขน กระตุ้นการสร้างคอลลาเจนให้เซลล์ผิวใหม่ และช่วยฟื้นฟู ซ่อมแซมผิวได้มีสุขภาพที่ดีขึ้น เหมาะสำหรับหลุมสิวที่มีความรุนแรงไม่มาก หลังฉีดจะช่วยให้ผิวชุ่มชื้น อิ่มน้ำ ฟูเด้ง เรียบเนียน ช่วยให้ผิวเก็บความชุ่มชื้นได้ดีขึ้น 

อ่านบทความเพิ่มเติม : ฉีดเมโสหน้าใสคืออะไร? อันตรายหรือไม่ ?[ อัพเดท 2022 ] 


ลักษณะหลุมสิวที่ต้องรักษาโดยแพทย์

หลังจากสิวหาย ไม่ว่าจะเป็นสิวหัวช้าง (Cyst) สิวอักเสบ (Pustule) หรือ สิวที่ติดเชื้อแบคทีเรียจนลุกลามไปทั่วชั้นใต้ผิว (Nodule) มักทิ้งรอยเอาไว้ ทั้งรอยด่างดำ หรือหลุมสิว ในระดับความรุนแรงที่ต่างกันเช่น Ice pick scar, Boxcar scar หรือ Rolling scar ทั้งหมดนี้สามารถเข้าไปพบแพทย์เพื่อรับคำปรึกษา ประเมินความรุนแรง และวางแผนในการรักษาได้ทั้งหมด ข้อดีคือช่วยให้ได้รับการรักษาที่ถูกวิธี ตรงจุด เห็นผลการรักษาดีและเร็วมากยิ่งขึ้น


การดูแลตัวเมื่อมีหลุมสิว

เมื่อมีปัญหาหลุมสิวเกิดขึ้น หากต้องการรักษาให้ได้ผลลัพธ์ที่ดี ต้องอาศัยวิธีทางการแพทย์ และการปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพมากที่สุดดังนี้ 

  • ดูแลผิวให้ไม่เกิดอาการอักเสบซ้ำ ด้วยการล้างหน้าให้สะอาดวันละ 2 ครั้ง ลดอาหารมันและอาหารหวาน ล้างเครื่องสำอางก่อนนอนทุกคืน
  • งดสัมผัสบริเวณแผล เช่น บีบ แคะ เกา ลูบ
  • งดผลิตภัณฑ์ที่ผสมแอลกอฮอล์ น้ำหอม น้ำมัน และไวท์เทนนิ่ง และเลี่ยงการใช้เครื่องสำอางตกแต่งหรือปกปิดหลุมสิว 
  • หลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อมที่มีฝุ่นละออง ควัน สิ่งสกปรก

วิธีป้องกันไม่ให้เกิดหลุมสิว

วิธีการที่ดีที่สุดในการป้องกันการเกิดหลุมสิว คือระวังไม่ให้เกิดสิว หรือมีสิวแล้วต้องรับรักษาครับ เพื่อลดการอักเสบเรื้อรัง เพราะยิ่งสิวอักเสบเม็ดใหญ่ เป็นนาน ก็ยิ่งมีโอกาสที่จะทิ้งหลุมสิวมากขึ้น โดยควรปฎิบัติดังนี้ 

  • เมื่อเกิดสิวห้ามแกะ บีบ หรือขัดถูใบหน้าแรง ๆ  เพราะการบีบเค้นทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อมากขึ้น รวมถึง ยังเป็นการทำร้านชั้นผิวที่ลึกขึ้นทำให้แผลหายยากขึ้น ร่างกายจะใช้เวลานานขึ้นในการสมานแผล ยิ่งทิ้งไว้นานก็จะเกิดพังผืดมากขึ้นกลายเป็นหลุมสิวถาวรรักษาได้ยากครับ
  • เมื่อแผลเริ่มหายห้ามแกะสะเก็ด หลังจากหัวสิวหลุดแล้ว เพราะการแกะสะเก็ดทำให้กระบวนการรักษาแผลต้องทำใหม่อีกครั้ง แผลหายช้าลง
  • ในเคสที่เกิดสิวแล้ว โดยเฉพาะสิวเม็ดใหญ่และมีการกระจายเป็นวงกลว้างบนใบหน้า หมอแนะนำ ให้รีบปรึกษาแพทย์เพื่อทำการรักษาสิวให้หายเร็วที่สุดครับ เพราะสิวลักษณะนี้มักทิ้งรอยหลุมสิวไว้

อ่านบทความเพิ่มเติม : เผยเคล็ดลับจากแพทย์ วิธีทำให้หน้าขาวใส ไร้สิวอยากหน้าเนียน ทำยังไง ?


รักษาหลุมสิวที่ไหนดี ?

การรักษาหลุมสิว ต้องคำนึงความปลอดภัยเป็นสำคัญ รักษาหลุมสิวที่ไหนดี? ควรเริ่มจากศึกษาข้อมูลวิธีการรักษา และเลือกคลินิกที่มีความน่าเชื่อถือ มีเครื่องมือการรักษาที่ได้มาตรฐาน รวมถึงแพทย์สามารถประเมิน พร้อมวางแผนการรักษาได้อย่างถูกต้องเหมาะสม โดยควรพิจารณาจาก 

  1. คลินิกที่ได้มาตรฐานเปิดให้บริการอย่างถูกต้อง จะมีป้ายชื่อสถานพยาบาล เลขที่ใบอนุญาต 11 หลัก ตามกฎหมายระบุให้แสดงใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาลอย่างชัดเจนเพื่อให้ความมั่นใจกับคนไข้ที่เข้ารับบริการ
  2. คลินิกต้องสะอาดสะอ้าน มีพื้นที่และห้องหัตถการกว้างขวาง มีเครื่องมือ อุปกรณ์ ยาและเวชภัณฑ์ครบถ้วน
  3. ให้บริการโดยแพทย์ที่มีประสบการณ์ มีใบประกอบวิชาชีพ มีประสบการณ์ด้านการรักษาสิว แนะนำให้เลือกใช้บริการกับคลินิกที่มีแพทย์ประจำคลินิก สามารถขอดูผลงานของหมอประจำคลินิกได้ เพื่อเพิ่มระดับความมั่นใจครั

อ่านบทความเพิ่มเติม


ราคารักษาหลุมสิว

ราคารักษาหลุมสิวขึ้นอยู่กับวิธีการรักษาครับ แต่ละวิธีมีค่าใช้จ่ายที่ต่างกัน เพราะแต่ละเคสอาจใช้วิธีการรักษาที่เหมาะสมต่างกันด้วย ขึ้นอยู่กับความรุนแรง และโดยทั่วไปการรักษาหลุมสิวไม่ใช่ทำครั้งเดียวแล้วจบ หรือเห็นผลลัพธ์ในครั้งแรกชัดเจน มักเป็นวิธีที่ต้องทำอย่างต่อเนื่องหลายครั้งเพื่อผลลัพธ์ชัดเจน ราคาก็อาจสูงขึ้นตาม นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับราคาโปรโมชั่นของแต่ละคลินิกด้วย


คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับหลุมสิว

หลุมสิวรักษา ให้หายขาด ได้ไหม ?

ปัจจุบันยังไม่วิธีการรักษาวิธีใดที่การันตีว่าสามารถรักษาหลุมสิวให้หายขาดได้ครับ การรักษาจึงมุ่งเน้นไปที่ทำให้ผิวเรียบเนียน หลุมสิวตื้นขึ้น เต็มขึ้น ดูดีขึ้น และอาจรักษาหลายวิธีประกอบกัน ตามดุลพินิจย์ของแพทย์ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์มีประสิทธิภาพมากที่สุดครับ  

รักษาหลุมสิวด้วยตัวเองได้หรือไม่ ?

ได้ครับในกรณีที่หลุมสิวตื้น ๆ สามารถใช้สกินแคร์ หรือผลิตภัณฑ์ดูแลผิว เช่น AHA หรือ BHA ช่วยในการผลัดเซลล์ผิว ช่วยให้หลุมสิวตื้นขึ้นได้ แต่อาจจะต้องใช้เวลานานในการรักษา และปริมาณที่เหมาะสม 

หน้าเป็นหลุมสิวเยอะมาก ควรรักษายังไง ?

ควรปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำและวางแผนการรักษาครับ  โดยทั่วไปมักรักษาด้วยการทำเลเซอร์ ควบคู่กับการฉีดสารเติมเต็มหรือฟิลเลอร์  การทายา ยารับประทานในบางเคส เพื่อป้องกันการเกิดสิวใหม่

ทำไมสิวถึงทำให้เนื้อหายไปจนเป็นหลุมสิว ?

เกิดจาก 2 ปัจจัยหลัก คือ 

  • ปัจจัยจากลักษณะสิว เช่น สิวหัวช้างเม็ดใหญ่ ๆ เมื่อเกิดการอักเสบจะทำให้เกิดโพรงหนองใต้ชั้นผิว การสมานแผลทำได้ไม่สมบูรณ์ เกิดการยุบตัวของผิว จากการที่พังผืดดึงรั้งผิวบริเวณที่เป็นสิว ทำให้เนื้อบริเวณนั้นหายไป กลายเป็นรอยบุ๋ม หรือหลุมสิว 
  • รักษาไม่ถูกวิธี จนทำให้เนื้อเยื่อผิวหนังได้รับการบาดเจ็บ และสมานแผลไม่ทัน เกิดเป็นแผลบุ๋มลงไปในชั้นผิวหนัง

สรุป

หลุมสิว มีสาเหตุหลักมากจากสิวอักเสบ และพฤติกรรมการทำร้ายผิวหน้าของเรา เช่น การบีบหรือกดสิว สิ่งที่ปฏิบัติหากไม่อยากให้เกิดหลุมสิว คือการเลี่ยงพฤติกรรมที่ทำให้เกิดสิวครับ โดยเฉพาะเรื่องของความสะอาด หรือในกรณีที่สิวเกิดขึ้นแล้ว ก็ควรรีบทำการรักษา เพื่อลดโอกาสการเกิดหลุมสิว 

สำหรับใครที่มีปัญหาหลุมสิวเกิดขึ้นแล้ว หากต้องการรักษาให้ได้ผลลัพธ์ที่ดี รวดเร็ว ควรปรึกษาแพทย์เพื่อให้ประเมินความรุนแรงและแนะนำวิธีการรักษาที่เหมาะสมให้ โดยควรเลือกพิจารณาเลือกปรึกษาแพทย์กับคลินิกที่ได้มาตรฐาน และแพทย์มีประสบการณ์เท่านั้น เพื่อความคุ้มค่าและปลอดภัยครับ 


เอกสารอ้างอิง


สำหรับผู้อ่านทุกท่านที่มีข้อสงสัยเพิ่มเติม ทีมแพทย์ V Square Clinic ทุกคนยินดีให้คำปรึกษาฟรี โดยไม่มีค่าใช้จ่าย หรือสามารถปรึกษาหมอทาง inbox facebook หรือ Line นี้ได้เลยครับ หมอตอบเองครับ
Banner_Web_หมอให้คำปรึกษา_หมอ42คน

สามารถ comment สอบถามเข้ามาด้านล่างได้เลยนะครับ หมอตอบเองครับ

บทความแนะนำ

เลเซอร์ขนกี่ครั้งเห็นผล ? ต้องทำกี่ครั้ง ? ทำแล้วขนหายถาวรไหม ?

Reading Time: 2 minutes- เลเซอร์ขนกี่ครั้งเห็นผล ? - เลเซอร์ขนทำแล้วขนหายถาวรไหม ? - เลเซอร์ขนต้องทำกี่ครั้ง ? - เลเซอร์ขนแล้วขนไม่หลุดเกิดจากอะไร ?

January 15, 2025 อ่านต่อ

เลเซอร์ขน ราคาแต่ละตำแหน่ง ต่างกันไหม ? รวมราคาแต่ละบริเว...

Reading Time: 3 minutes- เลเซอร์ขน ราคาแต่ละบริเวณ - ปัจจัยที่ส่งผลต่อราคาเลเซอร์ขน - เลเซอร์ขนต้องทำกี่ครั้ง ? - เลือกเลเซอร์ขนที่ไหนดี ?

เลเซอร์ขนน้องชาย ทำดีไหม ? ต้องทำกี่ครั้ง ? เจ็บไหม ? เตร...

Reading Time: 3 minutes- เลเซอร์ขนน้องชาย ควรทำดีไหม ? - เลเซอร์ขนน้องชาย อันตรายไหม ? - เลเซอร์ขนน้องชาย เหมือนกับเลเซอร์บราซิลเลี่ยนของผู้หญิงไหม ? - รวมทุกเรื่องที่ควรรู้ ก่อนตัดสินใจเลเซอร์ขนน้องชาย - รีวิวเลเซอร์ขนน้องชาย ราคาถูก ๆ ปลอดภัยไหม พิจารณาอะไรบ้าง ?

เลเซอร์ขนขาครั้งแรกควรรู้อะไรบ้าง ข้อดี-ข้อควรระวัง เครื่...

Reading Time: 4 minutes- วิธีการกำจัดขนขา - หลักการทำงานของ Laser ขนขา - ข้อดี - ข้อควรระวังของการ Laser ขนขา - เลเซอร์ขนขาครั้งแรกควรเตรียมตัวอย่างไร ? - ข้อควรรู้ก่อนเลเซอร์ขนขา

เลเซอร์หนวด เครา มีกี่แบบ ? เจ็บไหม ? อยู่ได้ถาวรไหม ?

Reading Time: 4 minutes- เลเซอร์หนวด เครา คืออะไร ? - เลเซอร์หนวด เครา อันตรายไหม ? - เครื่องเลเซอร์หนวด เครา มีกี่แบบ ? - เลเซอร์หนวดผู้หญิง กับเคราผู้ชาย ต่างกันไหม ? - ก่อนเลเซอร์หนวด เคราเตรียมตัวอย่างไร ?

หลังฉีดฟิลเลอร์ปาก ต้องดูแลตัวเองอย่างไร? เพื่อให้ปากทรงส...

Reading Time: 3 minutes- หลังฉีดฟิลเลอร์ปากแล้วบวมเกิดจากสาเหตุอะไร ? - นอกจากอาการบวม หลังฉีดฟิลเลอร์ปากมีผลข้างเคียงอื่นอีกไหม ? - ผลลัพธ์หลังฉีดฟิลเลอร์ปาก กี่วันเข้าที่ ? - หลังฉีดฟิลเลอร์ปากมีวิธีการดูแลตัวเองอย่างไรบ้าง ? - หลังฉีดฟิลเลอร์ปากควรหลีกเลี่ยงอะไรบ้าง ? เพื่อให้อาการบวมยุบไว เห็นผลเร็ว

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ สามารถศึกษานโยบายความเป็นส่วนตัวและจัดการความเป็นส่วนตัว ได้ที่ปุ่มตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า