สิวไม่มีหัว เกิดจากอะไร รู้แนวทางการรักษา พร้อมวิธีดูแลป้องกัน เพื่อให้หน้าใสไร้สิว

Reading Time: 2 minutes

สิวไม่มีหัว

สิวไม่มีหัว

สิวไม่มีหัวเกิดจากอะไร ? รักษา – ป้องกันวิธีไหนได้บ้าง

สิวไม่มีหัว เป็นหนึ่งในปัญหาสิวที่หลายคนคงเคยพบเจอ บางคนเป็นแล้วเป็นอีก อักเสบบวมแดง แข็งเป็นไต สุดท้ายก็ทิ้งรอยดำจากสิวไว้บนใบหน้า ใครที่พบปัญหาลักษณะนี้ และต้องการรักษา หรือหาแนวทางป้องกันเพื่อไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำ หมอมีข้อมูลมาแนะนำครับ   

สารบัญ สิวไม่มีหัว


สิวไม่มีหัวคืออะไร  ? 

สิวไม่มีหัว หรือ Papules คือสิวที่เป็นตุ่มลึก เกิดขึ้นใต้ชั้นผิวหนังครับ โดยสิวไม่มีหัวจะต่างไปจากสิวชนิดอื่น ๆ ตรงที่ไม่เห็นหัวสิวสีขาวหรือดำ มีลักษณะเป็นตุ่มนูน แดง อาจมีขนาดเล็ก ใหญ่ หรือไม่มีหนอง โดยปกติสิวไม่มีหัวจะไม่อักเสบครับ หากไม่เกิดการระคายเคือง หรือติดเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งมักมาจากการบีบ แกะเกา จนระคายเคือง ติดเชื้อและอักเสบในที่สุด มีอาการบวมแดง เจ็บปวดตามมา อาจรุนแรงถึงขั้นทำให้เกิดรอยแผลเป็นจากสิวไม่มีหัวได้  

ลักษณะสิวไม่มีหัว

สิวไม่มีหัวเกิดจากอะไร ? 

สิวไม่มีหัว เป็นสิวขนาดเล็กที่เกิดจากการอุดตันในรูขุมขน พบได้มากบริเวณหน้าผากและคาง ซึ่งสิวเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย เช่น 

  • สภาพอากาศร้อน มลพิษทางอากาศ
  • ความเครียด
  • กรรมพันธุ์ 
  • การใช้ผลิตภัณฑ์ หรือเครื่องสำอาง ระคายเคืองผิว 
  • ไม่ทำความสะอาดผิวจนเกิดการอุดตันรูระบายไขมัน กระตุ้นให้เกิดสิวอุดตัน
  • การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน (โดยเฉพาะในช่วงก่อนมีประจำเดือน)
  • การรับประทานอาหาร เช่น ของหวาน ของทอด ไขมันสูง เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • การใช้ยาบางชนิด ยาบางชนิดอาจส่งผลทำให้เกิดปัญหาสิวได้ เช่น ยาที่มีคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids) เทสโทสเตอโรน (Testosterone) ลิเธียม (Lithium)

รักษาสิวไม่มีหัววิธีไหนได้บ้าง ? 

การรักษาสิวไม่มีหัวสามารถรักษาได้ด้วย 2 วิธีหลัก ๆ คือ

1. วิธีรักษาสิวไม่มีหัวแบบธรรมชาติ

เมื่อเกิดสิวสามารถรักษาได้ด้วยการดูแลตัวเอง ดังนี้

  • ห้ามบีบเค้นสิว เนื่องจากสิวไม่มีหัวนูน ๆ เป็นสิวที่อยู่ค่อนข้างลึก ทำให้เมื่อพยายามบีบสิว จะเกิดการระคายเคือง หรืออักเสบ มากกว่าที่สิวจะแตกหรือหลุดออกมาครับ 
ห้ามบีบสิวไม่มีหัว

เมื่อเกิดสิว ไม่ว่าจะเป็นสิวประเภทใดหมอไม่แนะนำให้ บีบ เค้นสิวด้วยตัวเองครับ เพราะจะทำให้สิวอักเสบมากขึ้น เป็นแผล และเกิดแผลเป็นได้ง่าย

  • ทำความสะอาดผิว แต่เลี่ยงการขัด หรือสครับผิวเพราะจะทำให้เกิดความระคายเคือง
  • ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของ Benzoyl Peroxide หรือ Benzac เพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่อยู่ใต้ผิวหนัง

วิธีรักษาสิวไม่มีหัวทางการแพทย์ผิวหนัง

การรักษาสิวในปัจจุบันก้าวหน้าไปมาก โดยมีทั้งยาทา ยารับประทาน รวมถึงการรักษาอื่น ๆ เช่นการใช้แสงความยาวคลื่นต่าง ๆ การใช้แสงเลเซอร์มาช่วยในการรักษาสิว ทั้งระยะที่เป็นสิวอักเสบและสามารถรักษาแผลจากสิวให้ดีขึ้นได้ครับ 

โดยทั่วไปหมอจะดูว่าสิวที่เกิดขึ้นเป็นสิวชนิดใด หรือมีปัจจัยอะไรเป็นตัวกระตุ้น ถึงจะแนะแนวทางการรักษาได้อย่างเหมาะสม เช่น   

  • รักษาสิวไม่มีหัวด้วยการใช้ยา

การเลือกใช้ยารักษาสิว จะขึ้นอยู่กับชนิดและความรุนแรงครับ ถ้าเป็นการรักษาสิวไม่มีหัวชนิดรุนแรงน้อย การใช้ยาทาก็เพียงพอครับ ซึ่งยาทามีหลายชนิดที่ออกฤทธิ์แตกต่างกันไป บางชนิดลดจำนวนเชื้อแบคทีเรีย บางชนิดลดการอุดตัน บางชนิดลดการอักเสบ ซึ่งการรักษาที่ได้ผลดี คือการใช้ยาทาหลายชนิดที่ออกฤทธิ์ต่างกันร่วมกันเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้สิวหายเร็วขึ้น และช่วยลดการดื้อยาของเชื้อแบคทีเรีย P.acne  ซึ่งสิวไม่มีหัวเป็นสิวที่ค่อนข้างดื้อต่อยาทาครับ ในบางคนอาจจะต้องใช้ยาปฏิชีวนะชนิดรับประทาน ร่วมกับยาทาครับ 

ยารักษาสิวไม่มีหัว

ยารับประทานจะมี 3 กลุ่มหลัก ๆ คือ ยาปฏิชีวนะ ยากลุ่มกรดวิตามินเอ และยาในกลุ่มฮอร์โมน ซึ่งยารับประทานทั้งสามกลุ่มนี้จะต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์กว่าจะเห็นผลเต็มที่ และมักเป็นยาที่ต้องใช้ต่อเนื่อง จึงจำเป็นต้องอยู่ในการควบคุมดูแลของแพทย์ครับ ไม่ควรซื้อยารับประทานรักษาสิวเอง เพราะอาจมีผลข้างเคียงได้ 

  • รักษาสิวไม่มีหัวด้วยแสง และเลเซอร์ 

การทำเลเซอร์และการบำบัดด้วยแสง เป็นวิธีการรักษาสิวอีกทางเลือกหนึ่ง ในกรณีที่ใช้การรักษาวิธีทั่วไปแล้วไม่ได้ผล เห็นผลช้า เชื้อดื้อยา หรือต้องรักษาผลข้างเคียงจากการใช้ยา เช่น รอยแดง รอยหลุมสิว เช่น การใช้ Pulse dye laser 595nm (vBeam), Copper-Bromide laser 578nm (DualYellow), Diode laser 1450nm, Long-pulse Nd:YAG laser 1064nm, Er:Glass laser 1550nm เป็นต้น

เลเซอร์สิว

สิวไม่มีหัว กี่วันหาย ?

สิวไม่มีหัว หรือ สิวอักเสบไม่มีหัว โดยทั่วไปหากดูแลตัวเองอย่างเหมาะสม จะอาการดีขึ้นจนหายดี ประมาณ 4 – 6 สัปดาห์ครับ  


วิธีดูแล-ป้องกันสิวไม่มีหัว 

  1. ทำความสะอาดผิวหน้า

การล้างหน้า ควรใช้สบู่อ่อนล้างหน้าวันละ 1-2 ครั้ง เบา ๆ หลีกเลี่ยงการเช็ดถูกหรือล้างหน้าอย่างรุนแรง หากแต่งหน้าบ่อย ๆ ควรเช็ดเครื่องสำอางด้วยคลีนซิ่งทุกครั้ง โดยเช็ดตามแนวรูขุมขน และห้ามปล่อยเครื่องสำอางไว้บนใบหน้านานข้ามคืน เพราะอาจก่อให้เกิดสิวอุดตันได้ง่ายครับ 

  1. ฉีดเมโสหน้าใส-มาเด้คอลลาเจน 

การฉีดเมโสหน้าใส – มาเด้คอลลาเจน เป็นศาสตร์การบำรุงผิว แบบโฮมีโอพาธีย์ (HOMEOPATHY) ที่ถูกออกแบบมาเพื่อการขับล้างสารพิษออกจากผิวโดยเฉพาะ สามารถช่วยแก้ปัญหาผิวหน้า ช่วยลดสิว ผดผื่น ลดการอักเสบ ขับสารพิษ จึงเหมาะกับคนที่ต้องการฟื้นฟูผิว ให้สุขภาพดี ผิวแข็งแรงขึ้นครับ

ฉีดมาเด้ลดสิว โดย หมอเอก
  1. การเลือกใช้เครื่องสำอาง

ในคนที่มีปัญหาหน้ามันหรือมีผิวแพ้ง่าย ควรเลี่ยงเครื่องสำอางและสกินแคร์ที่มีส่วนผสมของน้ำมัน เพราะมีเนื้อสัมผัสที่ค่อนข้างหนาและหนัก จะยิ่งทำให้เกิดการอุดตันได้ง่ายครับ หากเป็นไปได้ควรแต่งหน้า ใช้เครื่องสำอางเท่าที่จำเป็น และเลือกใช้ที่ไม่ก่อให้เกิดการอุดตัน (non comedogenic) 

  1. ดูแลเส้นผม 

ในผู้ที่มีปัญหาผมมัน ควรทำความสะอาดผมทุกวัน และเลี่ยงทรงผมที่ลงมาปรกหน้า และเลี่ยงการใช้น้ำมันแต่งผมหรือเจลใส่ผมครับ

  1. ใช้ผลิตภัณฑ์ลดสิว

ในกรณีที่มีสิวเกิดขึ้น การใช้ครีมแต้มสิวที่ได้รับการรับรองจากแพทย์ผิวหนัง จะช่วยให้หัวสิวแห้งและดันตัวออกมา โดยไม่ทำร้ายผิว

  1. พักผ่อนให้เพียงพอ 

การพักผ่อนไม่เพียงพอ มีผลต่อระบบการหมุนเวียนเลือดและน้ำเหลือง การอดนอน จะส่งผลให้ผิวหน้าหยาบกระด้าง หน้ามัน รูขุมขนกว้าง และเกิดสิวขึ้นได้ง่าย สำหรับคนที่ไม่ค่อยมีสิวอาจจะมีขึ้นอักเสบตุ่มแดง ๆ แต่ถ้าใครที่เป็นสิวอยู่แล้วพบว่าสิวยิ่งเห่อมากขึ้นครับ 

  1. การดื่มน้ำ 

น้ำเป็นองค์ประกอบหลักของร่างกายรวมถึงผิวหนังของเราครับ การดื่มน้ำอย่างเพียงพอจะช่วยทำให้องค์ประกอบต่าง ๆ ในผิวทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยในการนำสารพิษที่ตกค้างอยู่ในร่างกายให้ถูกขับออกมาด้วยจึงลดการเกิดสิวได้เช่นกัน


สรุป 

สิวไม่มีหัว มักเป็นสิวตุ่มนูนแดง หากเกิดขึ้นไม่ควรบีบ แกะเกา แนะนำรักษาสิวด้วยยา หรือปรึกษากับแพทย์เรื่องการใช้ยา เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการอักเสบลุกลาม กลายเป็นสิวอักเสบรุนแรงที่สามารถทิ้งรอยแผลเป็นไว้บนผิวได้หลังการรักษา


เอกสารอ้างอิง 

  1. Begum, J. (2021, June 23). What to Know About Blind Pimples. WebMD
  2. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmedhealth/PMH0072395/

สำหรับผู้อ่านทุกท่านที่มีข้อสงสัยเพิ่มเติม ทีมแพทย์ V Square Clinic ทุกคนยินดีให้คำปรึกษาฟรี โดยไม่มีค่าใช้จ่าย หรือสามารถปรึกษาหมอทาง inbox facebook หรือ Line นี้ได้เลยครับ หมอตอบเองครับ
Banner_Web_หมอให้คำปรึกษา_หมอ42คน

สามารถ comment สอบถามเข้ามาด้านล่างได้เลยนะครับ หมอตอบเองครับ

บทความแนะนำ

เลเซอร์ขนกี่ครั้งเห็นผล ? ต้องทำกี่ครั้ง ? ทำแล้วขนหายถาวรไหม ?

Reading Time: 2 minutes- เลเซอร์ขนกี่ครั้งเห็นผล ? - เลเซอร์ขนทำแล้วขนหายถาวรไหม ? - เลเซอร์ขนต้องทำกี่ครั้ง ? - เลเซอร์ขนแล้วขนไม่หลุดเกิดจากอะไร ?

January 15, 2025 อ่านต่อ

เลเซอร์ขน ราคาแต่ละตำแหน่ง ต่างกันไหม ? รวมราคาแต่ละบริเว...

Reading Time: 3 minutes- เลเซอร์ขน ราคาแต่ละบริเวณ - ปัจจัยที่ส่งผลต่อราคาเลเซอร์ขน - เลเซอร์ขนต้องทำกี่ครั้ง ? - เลือกเลเซอร์ขนที่ไหนดี ?

เลเซอร์ขนน้องชาย ทำดีไหม ? ต้องทำกี่ครั้ง ? เจ็บไหม ? เตร...

Reading Time: 3 minutes- เลเซอร์ขนน้องชาย ควรทำดีไหม ? - เลเซอร์ขนน้องชาย อันตรายไหม ? - เลเซอร์ขนน้องชาย เหมือนกับเลเซอร์บราซิลเลี่ยนของผู้หญิงไหม ? - รวมทุกเรื่องที่ควรรู้ ก่อนตัดสินใจเลเซอร์ขนน้องชาย - รีวิวเลเซอร์ขนน้องชาย ราคาถูก ๆ ปลอดภัยไหม พิจารณาอะไรบ้าง ?

เลเซอร์ขนขาครั้งแรกควรรู้อะไรบ้าง ข้อดี-ข้อควรระวัง เครื่...

Reading Time: 4 minutes- วิธีการกำจัดขนขา - หลักการทำงานของ Laser ขนขา - ข้อดี - ข้อควรระวังของการ Laser ขนขา - เลเซอร์ขนขาครั้งแรกควรเตรียมตัวอย่างไร ? - ข้อควรรู้ก่อนเลเซอร์ขนขา

เลเซอร์หนวด เครา มีกี่แบบ ? เจ็บไหม ? อยู่ได้ถาวรไหม ?

Reading Time: 4 minutes- เลเซอร์หนวด เครา คืออะไร ? - เลเซอร์หนวด เครา อันตรายไหม ? - เครื่องเลเซอร์หนวด เครา มีกี่แบบ ? - เลเซอร์หนวดผู้หญิง กับเคราผู้ชาย ต่างกันไหม ? - ก่อนเลเซอร์หนวด เคราเตรียมตัวอย่างไร ?

หลังฉีดฟิลเลอร์ปาก ต้องดูแลตัวเองอย่างไร? เพื่อให้ปากทรงส...

Reading Time: 3 minutes- หลังฉีดฟิลเลอร์ปากแล้วบวมเกิดจากสาเหตุอะไร ? - นอกจากอาการบวม หลังฉีดฟิลเลอร์ปากมีผลข้างเคียงอื่นอีกไหม ? - ผลลัพธ์หลังฉีดฟิลเลอร์ปาก กี่วันเข้าที่ ? - หลังฉีดฟิลเลอร์ปากมีวิธีการดูแลตัวเองอย่างไรบ้าง ? - หลังฉีดฟิลเลอร์ปากควรหลีกเลี่ยงอะไรบ้าง ? เพื่อให้อาการบวมยุบไว เห็นผลเร็ว

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ สามารถศึกษานโยบายความเป็นส่วนตัวและจัดการความเป็นส่วนตัว ได้ที่ปุ่มตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า