อ้วนลงพุง ต้นเหตุของสารพัดโรค เกิดจากอะไร มีวิธีรักษาอย่างไรบ้าง ?

Reading Time: 4 minutes

อ้วนลงพุง

อ้วนลงพุง

รักษา “อ้วนลงพุง” ลดพุงอย่างไร ให้สุขภาพดี

ปัญหาอ้วนลงพุง ไม่เพียงเป็นเรื่องของรูปร่างที่เสียไปเท่านั้น ไขมันที่สะสมอยู่มากเกินไปก็ยังเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมาอีกมากมาย ดังนั้นเป้าหมายในการลดพุง ควบคุมปริมาณไขมันให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม นอกจากเพื่อรักษาหุ่นให้กลับมาฟิตกระชับแล้ว หมออยากให้โฟกัสเรื่องสุขภาพไปพร้อม ๆ กัน

ในบทความนี้ หมอมีข้อแนะนำในการดูแลตัวเองเพื่อป้องกันไม่ให้อ้วนลงพุง และวิธีลดพุง สำหรับคนที่มีปัญหาไขมันสะสมครับ


จะรู้ได้อย่างไรว่าตัวเองเริ่มมีปัญหาอ้วนลงพุง ?

ต้องมาทำความรู้จักกับลักษณะพุงแบบต่าง ๆ กันก่อนครับ การมีพุงแต่ละแบบก็เกิดจากสาเหตุและสื่อถึงปัญหาสุขภาพที่ไม่เหมือนกัน

ลักษณะอาการอ้วนลงพุง

เริ่มสังเกตจากลักษณะง่าย ๆ เช่น พุงเริ่มใหญ่ มองด้านข้างแล้วพุงย้อยลงมาเหมือนห่วงยาง เกิดจากการที่ไขมันเริ่มสะสมบริเวณหน้าท้องมากขึ้น โดยสามารถแบ่งอาการอ้วนลงพุงออกมาเป็น 5 ลักษณะ ดังนี้

• พุงเป็นชั้น (Spare Tyre Tummy)

พุงเป็นชั้น

พุงเป็นชั้น เป็นลักษณะอ้วนลงพุงในคนที่ชอบทานของหวาน ของมัน ของเค็ม และไม่ชอบออกกำลังกาย ทำให้ร่างกายเผาผลาญไม่หมด และเกิดไขมันสะสมในช่องท้อง

• พุงป่อง (Bloated Tummy)

พุงป่อง

พุงป่อง เป็นลักษณะพุงที่ไม่มีปัญหาน่ากังวลครับ เพราะเกิดจากการรับประทานอาหารประเภทแป้ง นม หรือแอลกอฮอล์มากเกินไป ทำให้มีอาการท้องอืด อาหารไม่ย่อยจนพุงป่องออกมา

• พุงป่องช่วงล่าง (The Little Pooch)

พุงป่องช่วงล่าง

หลายคนมีพุงลักษณะนี้ครับ พุงป่องช่วงล่าง เกิดจากการรับประทานอาหารแบบเดิมซ้ำ ๆ เป็นเวลานาน หรือการออกกำลังกายผิดวิธี ทำให้กล้ามเนื้อดันไขมันออกมากองช่วงล่างของหน้าท้อง

• พุงเครียด (Stress Tummy)

พุงเครียด

คนที่มีความเครียดก็สามารถมีอาการอ้วนลงพุงได้ เพราะความเครียด ทำให้ร่างกายผลิต cortisol ออกมามาก ส่งผลให้อยากกินอาหารหวาน มัน และแป้ง หรือเกิดจากระบบย่อยอาหารมีปัญหา ทำให้ท้องอืด

• พุงคุณแม่ (Mummy Tummy)

พุงคุณแม่

พุงคุณแม่จะพบได้ในคุณแม่หลังคลอด มีลักษณะเป็นก้อนย้วย ๆ หรือเป็นห่วงยาง เกิดจากมดลูกยังไม่เข้าที่ดี ซึ่งสามารถยุบตัวลงได้เอง แต่ทางที่ดีคือควรดูแลเรื่องอาหารการกินไปพร้อม ๆ กับออกกำลังกายด้วยครับ


การวินิจฉัยอ้วนลงพุง

แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าเรามีลักษณะอ้วนลงพุงหรือไม่ ?

สามารถวัดได้จากการวัดน้ำหนัก ส่วนสูงและเส้นรอบเอว แล้วคำนวณหาดัชนีมวลกาย

สูตรคำนวณดัชนีมวลกาย

สูตรคำนวณดัชนีมวลกาย

ดัชนีมวลกายที่เหมาะสมทั้งผู้หญิงและชาย คือ 18.5-22.9 กิโลกรัมต่อเมตร

  • หากคำนวณแล้วได้น้อยกว่า 18.5 หมายถึงผอม
  • หากมากกว่า 22.9 ขึ้นไปถึง 24.9 หมายถึงน้ำหนักเกิน
  • หากมากกว่า 25 ขึ้นไป ถือว่า อ้วน

การวัดเส้นรอบเอว

  • สำหรับผู้หญิง ค่าปกติของเส้นรอบเอว ไม่ควรเกิน 80 เซนติเมตร หรือ 32 นิ้ว
  • สำหรับผู้ชาย ค่าปกติของเส้นรอบเอว ไม่ควรเกิน 90 เซนติเมตร หรือ 36 นิ้ว

ในการวินิจฉัยลักษณะว่าอ้วนลงพุง นอกจากการวัดเส้นรอบเอวแล้ว จะมีการวัดจากปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ เพิ่มเติม ได้แก่ ความดันโลหิต 130 ต่อ 85 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป, น้ำตาลในเลือดหลังงดอาหาร 100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรขึ้นไป และ โคเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) ต่ำกว่า 50 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร


อ้วนลงพุง มีสาเหตุจากอะไรบ้าง ?

อาการอ้วนลงพุง เป็นลักษณะที่เกิดจากไขมันที่สะสมในร่างกายเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะไขมันในช่องท้อง ที่ถือว่ามีความอันตราย และเป็นสาเหตุของการเกิดโรคต่าง ๆ

ไขมันในช่องท้องมี 3 ชั้น

สาเหตุที่ทำให้เกิดไขมันในช่องท้อง

  • รับประทานอาหารประเภทไขมันมากเกินไป

เมื่อรับประทานอาหารที่เป็นไขมัน คาร์โบไฮเดรต และน้ำตาล สุดท้ายจะเปลี่ยนสภาพมาเป็นไขมันในปริมาณมาก ๆ และติดต่อกันเป็นเวลานาน ทำให้ร่างกายไม่สามารถเผาผลาญได้หมด จึงเกิดการสะสมและแทรกซึมอยู่บริเวณอวัยวะต่าง ๆ

  • ร่ายกายไม่ค่อยได้ขยับหรือออกกำลังกาย

ในชีวิตประวันที่มีการขยับ หรือเคลือนไหวร่างกายน้อย ไม่ค่อยออกกำลังกาย ร่างกายจึงใช้พลังงานน้อย ถึงแม้ว่าจะไม่ได้รับประทานอาหารที่มีไขมันสูง ก็สามารถมีภาวะอ้วนลงพุงได้เช่นกัน


อ้วนลงพุง อันตรายไหม ?

อ้วนลงพุงอันตรายไหม

เมื่อมีอาการอ้วนลงพุง ให้สังเกตตัวเองว่ามีอาการเสี่ยงอื่น ๆ ที่หมอได้กล่าวไปข้างต้นหรือไม่ เพราะการมีไขมันสะสมในช่องท้องปริมาณมาก ๆ ไขมันจะเกาะอยู่ตามอวัยวะสำคัญ และนำไปสู่โรคที่อันตรายได้หลายชนิด ได้แก่

  • หอบหืด กรดไหลย้อน
  • โรคเบาหวาน
  • โรคไขมันในเลือดสูง
  • โรคความดันโลหิตสูง
  • โรคหัวใจ
  • โรคอัลไซเมอร์
  • ภาวะไขมันพอกตับ
  • ประจำเดือนมาไม่ปกติ
  • ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Sleep Apnea)
  • โรคหลอดเลือดหัวใจขาดเลือด
  • โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)
  • ภาวะภูมิแพ้ ไขมันไปอุดตันอยู่ตามหลอดเลือด
  • ในหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะอ้วนลงพุง จะเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและภาวะครรภ์เป็นพิษ

วิธีการรักษาอ้วนลงพุง

ออกกำลังกายลดพุง

การออกกำลังกาย เป็นการดึงพลังงานไขมันส่วนเกินมาใช้ โดยจะใช้ออกซิเจนในการเผาผลาญพลังงาน จากน้ำตาลและไขมัน ในสภาวะที่หัวใจมีอัตราการเต้น 130-150 ครั้ง/นาที ช่วยให้ไขมันในร่างกายลดลงได้ เช่น เดิน วิ่ง กระโดดเชือก ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน เต้นแอโรบิค สามารถเริ่มตั้งแต่ วันละ 15-45 นาที 3-4 วัน/สัปดาห์ นอกจากนี้การออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องและถูกวิธี ยังช่วยเพิ่มความกระชับให้ผิวได้ด้วย

ออกกำลังกายแก้อ้วนลงพุง

ในการออกกำลังกายเพื่อแก้ปัญหาอ้วนลงพุง ควรพิจารณาประเภทของการออกกำลังกายให้เหมาะสมกับสภาพร่างกาย อายุ และความต้องการ เพื่อไม่ให้เป็นการฝืนตัวเองมากเกินไป และลดพุงได้อย่างมีคุณภาพครับ

การควบคุมอาหาร

ในการเริ่มจัดการกับปัญหาอ้วนลงพุง แนะนำให้จดบันทึกอาหารที่ทานในแต่ละวัน (Food Diary) เพื่อมาวิเคราะห์ว่ากินอะไรไปมากแค่ไหน แล้วกินเพราะหิวหรือกินเพราะอยาก โดยเฉพาะน้ำตาล ของหวาน ของทอด ของมัน และอาหารที่มีส่วนผสมของ tran fat (เนยเทียม มาการีน ขนมซอง) ที่แคลอรี่สูงแต่ให้สารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายน้อย

การควบคุมอาหารแก้อ้วนลงพุง

เมื่อรู้พฤติกรรมการกินของตัวเองแล้ว ก็ค่อย ๆ ปรับเปลี่ยน หลีกเลี่ยงอาหารที่เป็นต้นเหตุของการอ้วนลงพุง และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์มากขึ้น ควบคู่ไปกับการออกกำลังกาย

ทั้งนี้ไม่แนะนำให้อดอาหาร หรือฝืนตัวเองมากเกินไป เพราะอาจทำให้เกิดความเครียด และไม่ได้ผลลัพธ์ในการลดพุงที่ดี

การทำ Coolsculpting

Coolsculpting เป็นเทคโนโลยีสลายเซลล์ไขมันด้วยความเย็น ที่คิดค้นโดยทีมแพทย์จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เพื่อลดจำนวนเซลล์ไขมันโดยเฉพาะ เครื่องจะทำการปล่อยความเย็น -11°C แช่แข็งก้อนไขมันที่ถูกดูดขึ้นมานาน 35 นาที เซลล์ไขมันจะตายและถูกสลายไปตามกลไกขับของเสียของร่างกาย

การลดไขมันของ Coolsculpting

เมื่อเซลล์ไขมันถูกสลายไปแล้วจะไม่เพิ่มขึ้นอีก

โดยปกติเซลล์ไขมันในร่างกายจะเพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอจนถึงอายุ 20 ปี และจะไม่เพิ่มขึ้นอีก เวลาที่เราอ้วนหรือผอมจะเกิดจากการที่เซลล์ไขมันขยายตัวหรือฟีบลงครับ Coolsculpting จึงเป็นวิธีลดไขมันช่องท้องและจุดอื่น ๆ ที่มีไขมันสะสมได้อย่างเห็นผล

เครื่อง Coolsculpting จะแช่แข็งเฉพาะเซลล์ไขมันในชั้นไขมันบริเวณที่ต้องการลดเท่านั้น จะเริ่มเห็นผลว่าชั้นไขมันยุบลงเมื่อเวลาผ่านไป 1 เดือน เห็นผลเต็มที่ใช้เวลา 3 เดือน และสามารถทำเพิ่มได้ในจุดเดียวกันเมื่อผ่านไป 1 เดือนครับ

รีวิว หลังทำ Coolsculpting

50 งานวิจัย ยืนยันว่า CoolSculpting
สามารถลดจำนวนเซลล์ไขมันในบริเวณที่ทำได้ 25% ต่อการทำ 1 ครั้ง

การดูดไขมัน แก้ปัญหาอ้วนลงพุงได้ไหม ?

เมื่อพูดถึงการลดความอ้วน ลดไขมัน หลายคนอาจจะคิดถึงการดูดไขมัน ซึ่งดูเป็นวิธีที่ช่วยกำจัดไขมันได้แบบรวดเร็ว แต่สำหรับคนที่อ้วนลงพุง หมอไม่แนะนำครับ เพราะใช้ไม่ได้กับไขมันในช่องท้อง เนื่องจากไขมันในจุดนี้จะติดกับลำไส้ และอวัยวะสำคัญ ถ้าดูดออกจะส่งผลอันตรายต่ออวัยวะภายในได้ ส่วนที่ดูดออกได้จะมีเพียงไขมันหน้าท้องบริเวณใต้ผิวหนังเท่านั้นครับ

ในการรักษาภาวะอ้วนลงพุง หากมีไขมันในช่องท้องเยอะ สามารถวัดไขมันในเลือด (วัด Total cholesterol, Triglycerides, HDL-c, LDL-c) เพื่อเช็คระดับไขมัน คอเลสเตอรอลชนิดดี คอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี และวางแผนการรักษาทางการแพทย์ ซึ่งจะมีการจ่ายยาลดไขมัน เพื่อลดไขมันในเลือดที่ผิดปกติครับ


การป้องกันอ้วนลงพุง

ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

เพื่อแก้ปัญหาอ้วนลงพุงในระยะยาว ที่สำคัญคือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และความตั้งใจ ในการลดไขมัน โดยเฉพาะลดการกินคาร์โบไฮเดรต น้ำตาล ลดแป้งแปรรูป ออกกำลังกาย และหลีกเลี่ยงปัจจัยที่เป็นต้นเหตุของภาวะอ้วนลงพุง ถ้าไม่สามารถปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิต แม้จะลดไขมันได้ในช่วงแรก แต่ก็จะกลับไปมีปัญหาอ้วนลงพุงได้อีกครับ

ลดความเครียด

ความเครียดเป็นอีกสาเหตุที่ทำให้เกิดไขมันสะสม และอ้วนลงพุงได้ง่าย หลายคนเป็นโดยไม่รู้ตัว เนื่องจากเมื่อมีความเครียดร่างกายจะหลั่งฮอร์โมน Cortisol ออกมา ฮอร์โมนตัวนี้แต่ถ้าหลั่งมากเกินไปจะส่งผลต่อปริมาณน้ำตาลและอินซูลินในเลือด ทำให้อยากอาหารจำพวกแป้ง น้ำตาล ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อผู้กำลังลดไขมันหรือลดความอ้วน และทำให้เสียวินัยในการคุมอาหารได้ง่าย ๆ

ให้ร่างกายพักผ่อนอย่างเพียงพอ

การนอนมีความสำคัญต่อการทำงานของระบบเผาผลาญ เมื่อพักผ่อนไม่เพียงพอจะทำให้ฮอร์โมนในร่างกายร่างกายทำงานผิดปกต เกิดการต้านทานอินซูลิน ทำให้การเผาผลาญกลูโคสลดลง มีความต้องการอาหารมากขึ้นเพื่อเอาพลังงานมาใช้ และเกิดไขมันสะสมได้ง่าย ลดไขมันได้ยาก

หลีกเลี่ยงบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

การดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่ ทำให้อ้วนง่ายขึ้น โดยเฉพาะเบียร์ที่มีแคลอรี่สูง จะลดประสิทธิภาพกการทำงานของระบบเผาผลาญไขมัน ทำให้เส้นเลือดอุดตันได้เร็วขึ้น และเกิดปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ตามมาได้ง่าย ดังนั้นสำหรับคนที่อยากลดไขมันบริเวณพุง สองสิ่งนี้เป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงครับ


สรุป

อาการอ้วนลงพุง และมีไขมันสะสมในช่องท้องมาก ๆ นอกจากจะทำให้หุ่นเสียตรง รูปร่างไม่กระชับแล้ว ยังเป็นต้นเหตุของโรคร้ายหลายชนิด ดังนั้นเพื่อรักษาหุ่นและสุขภาพที่ดี ไม่ควรมองข้ามปัญหาอ้วนลงพุง หาวิธีรักษาและป้องกันอย่างเห็นผลจะดีที่สุดครับ


สำหรับผู้อ่านทุกท่านที่มีข้อสงสัยเพิ่มเติม ทีมแพทย์ V Square Clinic ทุกคนยินดีให้คำปรึกษาฟรี โดยไม่มีค่าใช้จ่าย หรือสามารถปรึกษาหมอทาง inbox facebook หรือ Line นี้ได้เลยครับ หมอตอบเองครับ
Banner_Web_หมอให้คำปรึกษา_หมอ42คน

สามารถ comment สอบถามเข้ามาด้านล่างได้เลยนะครับ หมอตอบเองครับ

บทความแนะนำ

ฟิลเลอร์ (Filler) กับโบท็อกซ์ (Botox) ต่างกันอย่างไร ? ทำพร้อมกันได้ไหม ?

Reading Time: 4 minutes- ฟิลเลอร์ คืออะไร ? - โบท็อกซ์ คืออะไร ? - ฟิลเลอร์ (Filler) กับ โบท็อกซ์ (Botox) ต่างกันอย่างไร ? - เปรียบเทียบข้อดี ข้อจำกัดของฟิลเลอร์ กับโบท็อกซ์ - เลือกฉีดฟิลเลอร์หรือโบท็อกซ์ดี แบบไหนเหมาะกับใครบ้าง ?

November 19, 2024 อ่านต่อ

9 ข้อ ที่ต้องระวัง ! และควรรู้ในการทำ Hifu | โดยทีมแพทย์ ...

Reading Time: 5 minutes- Hifu คืออะไร อันตรายกับผิวไหม ? - อายุไม่ถึง 25 ปีทำ Hifu จะมีผลเสียอย่างไร ? - ควรเลือกทำ Hifu ที่ไหนดี คลินิกไหนดี ระวังการโฆษณา Hifu ที่เกินจริง ของคลินิกต่าง ๆ - Hifu เห็นผลทันที จริงไหม ? - Hifu ทั่วทั้งตัว ได้ผลทุกส่วนจริงหรือไม่ ?

โบท็อกยิ้มเห็นเหงือก คืออะไร ? อันตรายไหม ? เหมาะกับใครบ้...

Reading Time: 4 minutes- ภาวะยิ้มเห็นเหงือก คืออะไร ? เกิดจากสาเหตุใดบ้าง ? - โบท็อกยิ้มเห็นเหงือก คืออะไร ? แก้ยิ้มเห็นเหงือกได้อย่างไร ? - โบท็อกยิ้มเห็นเหงือก ช่วยเรื่องใดบ้าง ? - โบท็อกยิ้มเห็นเหงือก เหมาะกับใคร ? - โบท็อกยิ้มเห็นเหงือก ข้อดี และข้อเสีย

ฟิลเลอร์สะโพก เสริมก้น เติมเต็มส่วนที่เว้า บุ๋ม ต้องใช้ฟิ...

Reading Time: 3 minutes- ฟิลเลอร์สะโพกคืออะไร ? - ฟิลเลอร์สะโพกอันตรายไหม ? มีอะไรที่ควรรู้ก่อนตัดสินใจ - ฟิลเลอร์สะโพกช่วยปรับรูปทรงสะโพกให้โค้งสวยได้จริงหรือไม่ ? - แก้ปัญหา Hip Dip ด้วยฟิลเลอร์สะโพก เคล็ดลับเพื่อสะโพกสวยเนียน - ปัญหาสะโพกที่ฟิลเลอร์สามารถช่วยแก้ไขได้ มีอะไรบ้าง ?

[เจาะลึก] ฟิลเลอร์คาง vs ผ่าตัดคาง แต่ละวิธี มีข้อดี-ข้อเ...

Reading Time: 3 minutes- ทำไม ? ฉีดฟิลเลอร์คาง มาแล้วยิ้มเป็นก้อน ดูไม่ธรรมชาติ - ฉีดฟิลเลอร์คางด้วยเทคนิคเดียวกับการผ่าตัด ดีอย่างไร ? - ฟิลเลอร์คาง vs ผ่าตัดเสริมคาง ? - ฟิลเลอร์คาง มีข้อดี ข้อเสีย อย่างไร ? - ฟิลเลอร์คาง ใช้ยี่ห้อไหนดีที่สุด ?

ฟิลเลอร์ร่องแก้ม แก้ร่องแก้มลึก ด้วยเทคนิคเฉพาะที่แตกต่าง...

Reading Time: 3 minutesฟิลเลอร์ร่องแก้ม แก้ร่องแก้มลึก ด้วยเทคนิคเฉพาะที่แตกต่างในแต่ละเคส

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ สามารถศึกษานโยบายความเป็นส่วนตัวและจัดการความเป็นส่วนตัว ได้ที่ปุ่มตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า