สิวที่คอเกิดจากอะไร ? รวมวิธีรักษาสิวที่คอ และวิธีป้องกันไม่ให้สิวเห่อ

Reading Time: 4 minutes

สิวที่คอ

สิวที่คอ

สิวที่คอเกิดจากอะไร ? รู้สาเหตุ พร้อมวิธีป้องกันไม่ให้สิวเห่อ

สิวที่คอ แม้เป็นตำแหน่งที่สังเกตได้ไม่ชัดเหมือนสิวบนใบหน้าอย่างสิวที่แก้ม หรือสิวที่หน้าผาก แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้ครับ บางรายเมื่อทำกิจกรรมกลางแจ้งแล้วมีเหงื่อ เผชิญกับสภาวะอากาศที่อับชื้นก็อาจทำให้มีอาการคัน เป็นผื่นแดงได้ง่ายกว่าคนทั่วไป และยังทำให้สิวที่คอก็ลุกลามและมีความรุนแรงขึ้นได้ครับ

สำหรับใครที่มีสิวที่คอ และต้องบรรเทาความรุนแรงของสิวให้ลดน้อยลง ในบทความนี้หมอจะมาแนะนำวิธีรักษาสิวที่คออย่างถูกต้อง พร้อมบอกสาเหตุ วิธีป้องกันไม่ให้สิวที่คอเห่อ และไขข้อสงสัยที่ว่าสิวที่คอ อันตรายไหม ? สิวที่คอบอกโรคอะไรได้บ้าง ? คนไข้ติดตามอ่านได้ครับ


สิวที่คอ คืออะไร ลักษณะเป็นอย่างไร ?

สิวที่คอ คืออะไร ลักษณะเป็นอย่างไร

สิวที่คอ คือสิวที่เกิดจากความผิดปกติของรูขุมขนที่อุดตันด้วยน้ำมัน เชื้อแบคทีเรีย และเซลล์ผิวที่ตายแล้ว รวมถึงอากาศที่อับชื้น ทำให้มีตุ่มนูนปรากฏได้ทั้งบริเวณลำคอและท้ายทอย ในบางรายอาจพบว่ามีสิวกรอบหน้า สิวที่กรามได้เช่นกัน ส่วนใหญ่จะพบได้ทั้งสิวผด สิวอักเสบ สิวอุดตันแบบมีหัวและไม่มีหัวครับ


สิวที่คอ เกิดจากอะไร ?

สิวที่คอ เกิดจากอะไร

ต่อมไขมันที่ผลิตน้ำมันออกมามากเกินไป เป็นสาเหตุหลักที่ก่อให้เกิดสิว

สิวที่คอ เกิดจากต่อมไขมัน (Sebaceous Gland) ผลิตน้ำมันออกมามากเกินไป จนทำให้ไขมัน (Sebum) และเซลล์ผิวที่ตายแล้ว เช่น ขน เนื้อเยื่อเกิดการสะสม และตกค้างอยู่ในรูขุมขน จนทำให้เกิดสิวที่คอในที่สุด

นอกจากนี้ยังมีสาเหตุอื่น ๆ ที่เป็นปัจจัยทำให้เกิดสิวที่คอ ได้แก่

  • สภาพอากาศร้อน อากาศอบอ้าวทำให้ร่างกายขับเหงื่อออกมากเกินไป จนเกิดการหมักหมมของสิ่งสกปรก เช่น แบคทีเรีย ขี้ไคล คราบเหงื่อ
  • การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง ของมัน ของทอด อาหารรสจัดเป็นประจำ ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดสิวที่คอได้
  • เกิดการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน โดยเฉพาะผู้หญิงช่วงมีประจำเดือน ผู้ที่กำลังตั้งครรภ์ หรือช่วงเข้าสู่วัยรุ่น
  • ความเครียด พักผ่อนไม่เพียงพอ
  • การทานยาบางชนิด เช่น ยาคุมกำเนิด, ยาสเตียรอยด์
  • ปัจจัยทางพันธุกรรม โดยเฉพาะในผู้ชาย เนื่องจากมีฮอร์โมนแอนโดรเจนที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของต่อมไขมัน ให้ผลิตน้ำมันออกมามากเกินไป
  • ใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิว เช่น ครีมอาบน้ำ ยาสระผม ครีมนวดผม หรือโลชันที่มีส่วนผสมที่ทำให้เสี่ยงต่อการอุดตัน
  • การใส่เครื่องประดับ หรือสวมใส่เสื้อผ้าที่รัดแน่นเกินไป จนทำให้ผิวระคายเคืองจากการเสียดสีกับผิวหนังโดยตรง
  • รบกวนผิวมากเกินไปจนทำให้เกิดการระคายเคือง เช่น การขัดผิว บีบสิว การผลัดเซลล์ผิวด้วยสารเคมี หรือการทำเลเซอร์
  • การชำระร่างกายไม่สะอาดจนทำให้ คราบเหงื่อ คราบขี้ไคล สิ่งสกปรกยังหลงเหลืออยู่บนผิว เกิดการสะสมจนกลายเป็นสิวที่คอ

สิวที่คอ อันตรายไหม ?

บางคนมีสิวที่คอ และกังวลว่าสิวที่คอบอกโรคร้ายแรง ซึ่งความจริงแล้วสิวที่คอไม่อันตรายครับ เป็นอาการทางผิวหนังชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นได้ทั่วไป พบได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย เพียงแต่ถ้าหากสิวมีการอักเสบ ไม่รักษา สิวอาจจะลุกลามรุนแรงขึ้น ทำให้รักษาได้ยาก ทิ้งรอยแผลเป็น หรือหลุมสิวที่ส่งผลต่อความมั่นใจได้ 

สำหรับคนไข้ที่ต้องการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีลดรอยสิว วิธีรักษาหลุมสิว สามารถติดตามอ่านบทความที่หมอเคยเขียนไว้ด้านล่างนี้ครับ

อ่านบทความเพิ่มเติม 

สิวที่คอบอกโรคอะไรได้บ้าง

ปัจจุบันยังไม่มีงานวิจัยหรือหลักฐานที่ชี้ชัดว่าสิวที่คอบอกโรคได้ครับ เพราะสาเหตุหลักของการเกิดสิวส่วนใหญ่จะเกิดจากการอุดตันของรูขุมขน ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ตามปกติ โดยเฉพาะวัยรุ่นและผู้หญิงมีประจำเดือนที่เกิดจากฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว สรุปคือ สิวที่คอไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับโรคร้ายแต่อย่างใดครับ 


ประเภทของสิวที่คอ

ประเภทของสิวที่คอ

1. สิวหัวขาว หรือ สิวอุดตันหัวปิด (Whiteheads)

สิวหัวขาว (Whiteheads) หรือสิวอุดตันหัวปิด (Closed Comedone) มีลักษณะเป็นตุ่มนูนขนาดเล็ก มองเห็นเป็นจุดสีขาว เกิดจากการอุดตันของรูขุมขนทำให้ไขมันไม่ได้สัมผัสกับอากาศ ไม่เกิดปฏิกิริยากับออกซิเจนจึงไม่ได้กลายเป็นสีดำเหมือนสิวหัวดำ แต่รากสิวจะอยู่ลึกกว่าและรักษายากกว่าสิวหัวดำ หากปล่อยไว้เม็ดสิวจะใหญ่ขึ้น มีโอกาสเกิดการติดเชื้อและพัฒนาเป็นสิวอักเสบได้

2. สิวหัวดำ หรือ สิวอุดตันหัวเปิด (Blackheads)

สิวหัวดำ (Blackheads) หรือสิวอุดตันหัวเปิด (Open Comedone) มีลักษณะเป็นตุ่มนูนขนาดเล็ก มีหัวสีดำอยู่ตรงกลางขนาดประมาณ 0.1-3 mm. หัวสิวจะเป็นก้อนแข็ง กดแล้วไม่ยุบ ไม่มีการอักเสบ เกิดจากการสะสมของสิ่งสกปรกในรูขุมขน ในระยะแรกหัวสิวจะเป็นสีเหลือง แต่จะเปลี่ยนเป็นสีดำในภายหลัง เพราะไขมันและเคราตินทำปฏิกิริยาออกซิเดชัน (Oxidation) กับออกซิเจนในอากาศ ทำให้เรามองเห็นหัวสิวเป็นสีดำ

3. สิวตุ่มแดง (Papule)

สิวตุ่มแดง (Papule) เป็นสิวไม่มีหัว มีลักษณะเป็นตุ่มนูน แดง มีขนาดเล็ก ใหญ่ เกิดจากการอุดตันในรูขุมขน ตำแหน่งที่พบได้บ่อย คือ สิวที่หน้าผาก  สิวที่คาง และสิวที่หลัง โดยปกติสิวประเภทนี้จะไม่มีการอักเสบครับ แต่จะอักเสบก็ต่อเมื่อผิวเกิดการระคายเคืองหรือติดเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งมักมาจากการบีบ แกะเกา จนระคายเคือง ติดเชื้อและอักเสบในที่สุด 

4. สิวหัวหนอง (Pustule)

สิวหัวหนอง (Pustule) คือสิวอักเสบที่พัฒนามาจากสิวอุดตัน มีลักษณะเป็นตุ่มนูนสีแดงขนาดเล็กไม่เกิน 0.5 cm. เป็นสิวไม่มีหัว สัมผัสแล้วจะนูน ๆ กดแล้วไม่เจ็บ มีความรุนแรงน้อย และรักษาได้ง่ายกว่าสิวอักเสบประเภทอื่น ๆ

5. สิวตุ่มแดงขนาดใหญ่ (Nodule)

สิวตุ่มแดงขนาดใหญ่ (Nodule) หรือสิวอักเสบลึก เป็นสิวที่มีลักษณะเป็นตุ่มแดงใต้ผิวหนัง มีขนาดใหญ่มากกว่า 8 mm. จัดเป็นสิวที่ไม่มีหัวหรือหนอง แต่จะรู้สึกเจ็บแม้ไม่ได้สัมผัส มักเกิดจากการบีบหรือกดสิวผิดวิธีจนทำให้แบคทีเรียและน้ำมันในสิวแตกกระจายอยู่ใต้ผิวหนัง หลังสิวหายมักทิ้งรอยแดงสิวหรือรอยดำสิวได้

6. สิวหัวช้าง (Nodulocystic acne)

สิวหัวช้าง (Nodulocystic acne) คือ สิวอักเสบหรือสิวอุดตันชนิดรุนแรง เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย P.acnes (Propionibacterium acnes) มีการเจริญเติบโตและดึงดูดเซลล์เม็ดเลือดขาวเข้ามารวมตัวอยู่ในตุ่มสิว บวกกับในตัวแบคทีเรียมีเอนไซม์สำหรับย่อยน้ำมัน (Sebum) ให้กลายเป็นกรดไขมัน จึงกระตุ้นให้สิวเกิดอักเสบบริเวณกว้างลึกลงไปในชั้นผิว จนกลายเป็นสิวหัวช้าง

7.  สิวเสี้ยน (Small Pimple)

สิวเสี้ยน (Small Pimple) มีลักษณะคล้ายสิวอุดตัน แต่ความจริงแล้วไม่ใช่สิวครับ เป็นขนและรากขนที่อุดตันอยู่ในรูขุมขน เกิดจากเกิดจากรูขุมขนและต่อมไขมันสร้างเส้นขนออกมามากกว่าปกติ เมื่อเส้นขนมาเกาะกับไขมัน เคราติน และเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้ว จะทำให้เกิดเป็นกลุ่มขนขนาดเล็กที่ลักษณะคล้ายเสี้ยนโผล่พ้นขึ้นมาจากผิวหนัง 

8. สิวเทียม สิวผด สิวหิน (Acne Aestivale)

สิวเทียม สิวผด สิวหินที่คอ (Acne Aestivale) มีลักษณะเป็นตุ่มผื่นขนาดเล็ก ๆ เกิดจากเชื้อรายีสต์ Pityrosporum ovale (P. ovale) โดยทั่วไปจะพบเชื้อชนิดนี้ที่ผิวหนังของทุกคนครับ สิวผดจะดูเรียบหรือดีขึ้นในตอนเช้า แต่จะเห่อขึ้นจนเห็นได้ชัดในช่วงบ่าย เวลาเหงื่อออก หรือเวลาที่อากาศร้อน บางรายอาจมีอาการคันร่วมด้วย 


วิธีการรักษาสิวที่คอ

วิธีรักษาสิวที่คอมีทั้งการทำหัตถการ, เลเซอร์, ใช้ยาทารักษาสิว, กินยารักษาสิว รวมถึงการใช้ครีมรักษาสิว โดยจะแบ่งวิธีการรักษาตามความรุนแรงของสิวของแต่ละบุคคลตามความเหมาะสมครับ

1. รักษาสิวที่คอด้วยยาทาและยารับประทาน 

ยารักษาสิวแบบทา ในกลุ่มอนุพันธ์วิตามินเอ เช่น เรตินเอ (Retin A), เรตินอล (Retinol), เรติโนอิก แอคซิด (Retinoic acid), วิตามินเอ (Vitamin A), Tretinion, Epiduo และกรดวิตามินเอที่เป็น Active Form (วิตามินเอสังเคราะห์) ได้แก่ Retinoid Differin หรือ Adapalene และ เบนโซอิลเพอร์ออกไซด์ (Benzoyl Peroxide), Clindamycin, Azelaic acid 

ตัวยาเหล่านี้จะช่วยปรับโครงสร้างผิวชั้นบนให้เรียบเนียนขึ้น ลดการอุดตันของรูขุมขน ลดการอักเสบของสิว ผลัดเซลล์ผิวเก่า สร้างเซลล์ผิวใหม่ กระตุ้นการสร้างคอลลาเจน ทำให้สิวที่คอลดน้อยลงครับ

ยากินรักษาสิว สำหรับคนที่มีสิวที่คอระดับปานกลางถึงรุนแรง หมออาจพิจารณาจ่ายยาลดสิวให้ เช่น 

  • กลุ่มยาปฏิชีวนะ Erythromycin, Clindamycin, Tetracycline, Doxycycline 
  • กลุ่มยาอนุพันธ์ของกรดวิตามินเอ เช่น Isotretinoin, โรแอคคิวเทน (Roaccutane), โรแอคคิวเทนแอคโนทิน (Acnotin) เพื่อไปกดการทำงานของต่อมไขมันให้ผลิตไขมัน (Sebum) และยับยั้งการสร้างคอมีโดน (comedone) ให้ผลิตน้ำมันน้อยลง 
  • ยาปรับฮอร์โมนในร่างกายเพื่อเพิ่มฮอร์โมนเพศหญิง และลดฮอร์โมนเพศชาย (Anti-Androgenic) ที่เป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดสิวอุดตันหัวดำ เช่น ยาคุมบางชนิด (Oral Contraceptives) และยากลุ่ม Gonadotropin-Releasing Hormone Agonists (GnRH Agonists)

ทั้งนี้การรักษาสิวโดยการใช้ยาทาหรือยารับประทาน ควรเป็นไปตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด ไม่ควรซื้อยามาใช้เอง รับประทานเอง ที่สำคัญยานี้ห้ามใช้ในหญิงที่กำลังตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร เพราะอาจทำให้เกิด Teratogenic Effect ที่ส่งผลอันตรายต่อเด็กในครรภ์ได้ครับ

2. ฉีดยารักษาสิวที่คอ

การฉีดยารักษาสิวที่คอ จะเป็นยาในกลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroid) เหมาะกับปัญหาสิวอุดตัน สิวซีสต์ สิวผด เพื่อลดความรุนแรงของสิว ป้องกันสิวลุกลาม แต่ก็มีความเสี่ยงทำให้ผิวเกิดรอยบุ๋มได้ ไม่เหมาะกับผู้ที่มีประวัติแพ้ยาไตรแอมซิโนโลน เป็นวัณโรคหรือติดเชื้อราที่ผิวหนัง โรคเบาหวานชนิดควบคุมอาการไม่ได้ หัวใจวาย หรือความดันโลหิตสูงอย่างรุนแรงครับ

3. รักษาสิวที่คอด้วยเวชสำอาง/สกินแคร์

  • ใช้ครีมอาบน้ำ ที่ช่วยทำความสะอาดผิวอย่างอ่อนโยน เพื่อช่วยปรับสมดุลผิวให้แข็งแรง เพิ่มความชุ่มชื้น ผิวไม่แห้งตึงหลังอาบน้ำ
  • เป็นสิวที่คอใช้อะไรดี ? คนไข้สามารถใช้เวชสำอางหรือสกินแคร์ที่มีส่วนผสมของกรดซาลิไซลิก (Salicylic acid) เช่น  AHA, PHA, BHA และ LHA เพื่อลดสิวที่คอได้ครับ

4. เลเซอร์สิวที่คอ

การเลเซอร์สิวที่คอ จะเป็นการใช้เข็มเจาะเพื่อช่วยให้กดสิวออกมาได้ง่ายครับ เครื่องเลเซอร์ที่นิยม เช่น CO2 Laser และ mnilux  เหมาะกับใช้รักษาสิวอุดตันที่คอ และช่วยรักษารอยดำ รอยแดงจากการกดสิวได้

5. ฉีดมาเด้คออลาเจน ลดสิวที่คอ

ฉีดมาเด้คอลลาเจน ลดสิวที่คอ

การฉีดมาเด้คอลลาเจน หรือการฉีดเมโสหน้าใสลดสิวที่คอ จะเป็นการนำวิตามินที่จำเป็นต่อผิวมาฉีดเข้าสู่ชั้นผิวโดยตรง จึงทำให้เห็นผลไวกว่าการทาครีมบำรุง ตัวยามาเด้คอลลาเจนจะสกัดมาจากธรรมชาติ เช่น Hyaluronidase , วิตามิน C, วิตามินดี6 , วิตามินบี1 6 รวมถึง Nicotinamide ที่มีส่วนช่วยในการยับยั้งอนุมูลอิสระ ปกป้องผิว กระตุ้นการสร้างคอลลาเจน Collagen และขับของเสียออก และบำรุงเนื้อเยื่อให้ผิวแข็งแรงขึ้น หลังฉีดมาเด้ผลลัพธ์ที่ได้ คือสิวที่คอลดน้อยลง ผิวเรียบเนียนขึ้นครับ

ที่ V Square Clinic ใช้มาเด้คอลลาเจนแท้ ประกอบด้วย Made 2 cc และ Collagen 2 cc รวม 4 cc ก่อนฉีดควรให้หมอประเมินสภาพผิวของคนไข้อย่างละเอียด เพื่อแก้ไขปัญหาได้ตรงจุด เห็นผลลัพธ์ที่ชัดเจน

6. ฉีดวิตามินผิว ลดสิวที่คอ

การฉีดวิตามินผิว ลดสิวที่คอ จะเป็นการนำสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อผิว มาฉีดเข้าสู่ชั้นผิวโดยตรง เพื่อช่วยในการเสริมสร้างภูมิต้านทาน ต่อต้านอนุมูลอิสระ กระตุ้นการสร้างคอลลาเจน ซึ่งคอลลาเจนมีประโยชน์ต่อการรักษาสุขภาพ ทำให้ผิวแข็งแรง เสริมสร้างคอลลาเจน เพิ่มความยืดหยุ่น ความชุ่มชื้นให้ผิว ลดโอกาสเกิดสิวที่คอซ้ำซาก 

สำหรับสูตรวิตามินผิวที่ V Square Clinic จะใช้ตัวยาล้วน ไม่มีน้ำเกลือผสม ได้แก่ Vit C megadose + Vit B รวม + Glutamine + Amino + Nac โดยสามารถปรับสูตรได้ตามความเหมาะสมกับปัญหาผิวและความต้องการของคนไข้

7. ฉีด Rejuran ลดสิวที่คอ

การฉีด Rejuran จะเป็นการฉีด Polyneucleotide (DNA ปลาแซลมอน) เข้าไปในชั้นผิวหนังแท้เพื่อให้ตัวยาเข้าไปกระตุ้นให้ผิวมีการหลั่ง Growth Factor ที่เป็นโปรตีนบริสุทธิ์ขึ้นมา เพื่อให้ผิวซ่อมแซมตัวเองอย่างเร่งด่วน ส่งผลให้ผิวมีความเต่งตึง ดูอ่อนเยาว์ และตัว PN ยังเข้าไป Block การสร้างเม็ดสี จึงช่วยลดริ้วรอยฝ้า กระ จุดด่างดำ ลดรอยสิวที่คอ ถือเป็นอีกหนึ่งวิธีทำให้หน้าใส ฟื้นฟูผิวที่เสื่อมสภาพให้ดูสุขภาพดีขึ้นได้อย่างเห็นผลครับ


เป็นสิวที่คอไม่หายสักที ทำอย่างไร ?

หากใครที่พยายามรักษาสิวด้วยตัวเองแล้วสิวยังไม่หาย หรือมีความรุนแรงขึ้น แนะนำให้พบแพทย์เฉพาะทางครับ เพื่อที่แพทย์จะได้หาสาเหตุและวางแผนการรักษาที่เหมาะสมครับ


รักษาสิวที่คอ ที่ไหนดี ?

รักษาสิวที่คอ ที่ไหนดี โดย หมอกิ๊ป
  • รักษาสิวที่คอ ที่ไหนดี ? ควรรักษากับแพทย์ผิวหนังเฉพาะทางที่มีประสบการณ์ เพราะแพทย์จะสามารถแก้ไขปัญหา วางแผนการรักษาได้ตรงจุด
  • คลินิกหรือสถานประกอบการต้องมีมาตรฐาน สังเกตได้จากการมีป้ายชื่อสถานพยาบาล เลขที่ใบอนุญาต 11 หลัก และแสดงใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล
  • สถานประกอบการต้องมีความสะอาด มีพื้นที่และห้องหัตถการกว้างขวาง อุปกรณ์และเครื่องมือแพทย์ได้รับการฆ่าเชื้ออย่างถูกต้อง เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
  • ควรมีการนัดติดตามผลหลังทำเสมอ แพทย์ต้องให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัว ก่อน – หลัง ทำหัตถการอย่างใกล้ชิด 
  • มีช่องทางออนไลน์ไว้ติดต่อ เช่น Facebook หรือ Line@ ที่คนไข้สามารถสอบถามข้อสงสัยกับหมอที่ทำเคสของตัวเองได้โดยตรง

วิธีดูแลตัวเองไม่ให้มีสิวที่คอ

  • ควรทำความสะอาดผิวให้สะอาดทุกครั้ง โดยเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่อ่อนโยน 
  • หากทาครีมกันแดด หรือใช้เครื่องสำอาง เช่น รองพื้น แป้งบริเวณคอ ก่อนอาบน้ำควรเช็ดทำความสะอาดด้วยผลิตภัณฑ์ล้างเครื่องสำอางก่อนทุกครั้ง เพื่อเป็นการ double cleansing 
  • สระผมเป็นประจำ เพื่อลดไขมันและคราบสกปรกบนเส้นผมที่อาจทำให้เป็นสิวที่คอได้
  • ทำความสะอาดของใช้ส่วนตัวให้สะอาดอยู่เสมอ เช่น ซักผ้าปูที่นอน หมอน ผ้าห่ม ผ้าเช็ดตัว รวมถึงแปรง และฟองน้ำที่ใช้แต่งหน้าทุกอาทิตย์ เพื่อลดการสะสมของแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดสิว
  • หลีกเลี่ยงแสงแดด หรือทาครีมกันแดดอย่างสม่ำเสมอ 
  • รักษาสภาพผิวให้แข็งแรง ดูสุขภาพดีอยู่เสมอ เช่น การดื่มน้ำอย่างเพียงพอ การรับประทานผักผลไม้ การรับประทานวิตามิน เพื่อบำรุงผิวพรรณให้แข็งแรง ป้องกันการเกิดสิวในอนาคต
  • เลี่ยงอาหารประเภทไขมันสูง ของทอด ของมัน ของหวาน เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และการสูบบุหรี่ เพราะเป็นต้นเหตุทำให้ผิวเสียความสมดุล
  • สวมเสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดี ไม่รัดแน่นจนเกินไป 

สรุป

สิวที่คอ เป็นสิวที่ไม่อันตราย หากรักษาความสะอาดก็จะช่วยบรรเทาความรุนแรงของสิวได้ครับ แต่หากเป็นสิวที่คอระดับรุนแรง หมอแนะนำให้ปรึกษาแพทย์ผิวหนังเพื่อประเมินหาสาเหตุและทำการรักษาอย่างตรงจุด ช่วยให้สิวที่คอหายได้เร็วขึ้น ลดโอกาสติดเชื้อ ป้องกันการเกิดรอยสิวและหลุมสิวครับ


สำหรับผู้อ่านทุกท่านที่มีข้อสงสัยเพิ่มเติม ทีมแพทย์ V Square Clinic ทุกคนยินดีให้คำปรึกษาฟรี โดยไม่มีค่าใช้จ่าย หรือสามารถปรึกษาหมอทาง inbox facebook หรือ Line นี้ได้เลยครับ หมอตอบเองครับ
Banner_Web_หมอให้คำปรึกษา_หมอ42คน

สามารถ comment สอบถามเข้ามาด้านล่างได้เลยนะครับ หมอตอบเองครับ

บทความแนะนำ

หลังฉีดฟิลเลอร์ ห้ามกินอะไรบ้าง ? มีอาหารอะไรที่ควรระวัง ควรกิน ควรเลี่ยง

Reading Time: 3 minutes- ก่อนฉีดฟิลเลอร์ ห้ามกินอะไรบ้าง ? - หลังฉีดฟิลเลอร์ ห้ามกินอะไรบ้าง ? - หลังฉีดฟิลเลอร์ ควรกินอะไรบ้าง ? - ถ้าเผลอกินอาหาร เครื่องดื่มที่หมอห้าม จะมีผลข้างเคียงไหม ? - คำถามที่พบบ่อย- ก่อนฉีดฟิลเลอร์ ห้ามกินอะไรบ้าง ? - หลังฉีดฟิลเลอร์ ห้ามกินอะไรบ้าง ? - หลังฉีดฟิลเลอร์ ควรกินอะไรบ้าง ? - ถ้าเผลอกินอาหาร เครื่องดื่มที่หมอห้าม จะมีผลข้างเคียงไหม ? - คำถามที่พบบ่อย

December 18, 2024 อ่านต่อ

ฟิลเลอร์ติ่งหู หูกาง คืออะไร ? เหมาะกับใคร ? ช่วยอะไรบ้าง ?

Reading Time: 3 minutes- ฟิลเลอร์ติ่งหู หูกาง คืออะไร ? - สาเหตุที่ทำให้ติ่งหูยาน - สาเหตุที่ทำให้หูกาง - ฟิลเลอร์ติ่งหู หูกาง เหมาะกับใคร ? ช่วยอะไรบ้าง ? - เปรียบเทียบ ฟิลเลอร์ติ่งหู หูกาง VS ศัลยกรรมตกแต่งใบหู - ฟิลเลอร์ติ่งหู หูกาง ยี่ห้อไหนดี ? - ฉีดฟิลเลอร์ติ่งหู หูกาง ใช้กี่ CC ?

ฉีดฟิลเลอร์คาง vs ผ่าตัดคาง แต่ละวิธี มีข้อดี-ข้อเสียอย่า...

Reading Time: 6 minutes- ฉีดฟิลเลอร์คาง คืออะไร ? - ฉีดฟิลเลอร์คาง ช่วยเรื่องอะไรบ้าง ? - ฟิลเลอร์คาง เหมาะกับใคร ? - ฉีดฟิลเลอร์คาง อันตรายไหม ? - ฟิลเลอร์คาง มีข้อดี ข้อเสีย อย่างไร ?

ไขมันช่องท้อง อันตราย! แนะนำวิธีลดไขมันช่องท้อง เพื่อหุ่น...

Reading Time: 4 minutes- ไขมันช่องท้อง เกิดจากอะไร? - การวัดค่าไขมันในช่องท้อง - ไขมันในช่องท้องเยอะ อันตรายไหม? - วิธีลดไขมันในช่องท้องด้วยตัวเอง - วิธีลดไขมันในช่องท้อง เร่งด่วน

ulthera prime รุ่นใหม่ เทียบกับรุ่นเก่าต่างกันอย่างไร ? เ...

Reading Time: 3 minutes- ulthera prime คืออะไร ? - ulthera prime ช่วยอะไรได้บ้าง ? - ulthera prime ทำตำแหน่งไหนได้บ้าง ? - ขั้นตอนการทำ ulthera prime - ulthera prime กี่วันเห็นผล ?

5 อาการหลังทำ HIFU ผลข้างเคียง เจ็บ บวม ช้ำ ปกติหรือไม่ ด...

Reading Time: 2 minutes- หลัง HIFU ผลข้างเคียง มีอะไรบ้าง? - วิธีดูแลตัวเองหลังทำ hifu เพื่อคงผลลัพธ์ได้นานขึ้น - เลือกคลินิกทำ hifu ที่ไหนปลอดภัย เห็นผล

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ สามารถศึกษานโยบายความเป็นส่วนตัวและจัดการความเป็นส่วนตัว ได้ที่ปุ่มตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า