ขนคุดเกิดจากอะไร ? เข้าใจถึงสาเหตุและแนวทางป้องกัน พร้อม 9 วิธีรักษา จบปัญหาผิวเป็นตุ่มกวนใจ

Reading Time: 3 minutes

ขนคุดเกิดจากอะไร รักษาอย่างไร ?

ขนคุดเกิดจากอะไร

ขนคุดเกิดจากอะไร ? อาการตุ่มขนคุดบริเวณใบหน้าและร่างกาย ไม่ใช่โรคทางผิวหนังที่ร้ายแรงครับ แต่ก็มักสร้างความรำคาญใจ หรือทำให้หลายคนขาดความมั่นใจ ไม่กล้าแต่งตัว

ในบทความนี้หมอรวบรวมวิธีรักษาขนคุด ทั้งแบบที่ทำได้ด้วยตัวเอง และวิธีทางการแพทย์ พร้อมสรุปถึงสาเหตุ และแนวทางป้องกัน เพื่อไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำครับ

สารบัญ ขนคุดเกิดจากอะไร


ขนคุดเกิดจากอะไร ?

ขนคุด (Keratosis Pilaris) เกิดจากความผิดของการสะสมเคราติน (Keratin) บนผิวหนังครับ เคราตินเป็นโปรตีนที่เซลล์ผิวหนังสร้างขึ้นมา เพื่อป้องกันเชื้อโรคและการดูดซึมสารอันตรายเข้าสู่ร่างกาย หากสะสมมากเกินไป จะอุดตันบริเวณรูขุมขน ทำให้เส้นขนไม่สามารถงอกขึ้นมาได้ตามปกติ

เส้นขนจะขดม้วนอยู่ใต้ผิวหนังและดันให้ผิวขึ้นมาเป็นตุ่มแข็ง บริเวณดังกล่าวมักมีปัญหาผิวแห้งและหยาบกร้าน ลูบแล้วรู้สึกสากมือ โดยทั่วไปขนคุดจะไม่ก่อให้เกิดอาการเจ็บหรือคัน ยกเว้นในกรณีที่มีอาการอักเสบร่วมด้วย

ขนคุดเกิดจากอะไร
ขนคุด

ในทางการแพทย์ยังไม่ทราบถึงปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดการสะสมเคราตินมากเกินไป แต่เงื่อนไขสุขภาพ และพฤติกรรมเหล่านี้ มักทำให้เกิดขนคุดตามจุดต่าง ๆ ของร่างกายครับ เช่น

  • การกำจัดขน : หากกำจัดขนส่วนเกินด้วยการถอน แวกซ์ โกน ไม่ถูกวิธี ทำให้เส้นขนขาดและค้างอยู่ภายในรูขุมขน ไม่สามารถงอกขึ้นมาได้ เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดขนคุด
  • พันธุกรรม : ผู้ที่มีปัญหาขนคุด มักพบว่าภายในครอบครัวมีปัญหานี้เช่นเดียวกัน หรือมีภาวะความผิดปกติทางผิวหนังอื่น ๆ เช่น โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (Atopic Dermatitis) ไข้ละอองฟาง (Hay Fever)
  • โรคประจำตัว : ขนคุด ที่มีอาการอักเสบ เป็นตุ่มแดง คัน มักพบในผู้ป่วยที่เป็นโรคภูมิแพ้ โรคเบาหวาน และโรคไทรอยด์
  • ผิวแห้ง : ผู้ที่มีผิวแห้งมักมีโอกาสเกิดขนคุดได้มากกว่าคนทั่วไป
  • สภาพอากาศ : หากเป็นผู้ที่ผิวแห้งอยู่แล้ว ช่วงฤดูหนาวอาการขนคุดมักจะรุนแรงขึ้นครับ เพราะความชื้นในอากาศน้อย ทำให้ผิวยิ่งแห้ง
  • อายุ : ขนคุดสามารถพบได้ในทุกช่วงวัย แต่ส่วนใหญ่จะพบมากที่วัยเด็กเล็กและวัยรุ่น อาการจะค่อย ๆ ดีขึ้น หรือหายได้เองเมื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่
ขนคุดเกิดจากอะไร
ปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดขนคุด

ขนคุดเกิดบริเวณไหนได้บ้าง ?

ขนคุดเกิดได้ทุกตำแหน่งของร่างกาย ที่มีรูขุมขนและเส้นขน มักพบมากที่สุดบริเวณต้นแขนและต้นขา แต่ละตำแหน่งขนคุดเกิดจากอะไร ? หมอสรุปให้ครับ

  • แขนและขา : บริเวณแขนและขามีพื้นที่กว้าง และมักสัมผัสกับอากาศและมลภาวะเป็นประจำ ทั้งยังเป็นจุดที่หลาย ๆ คนไม่ทาสกินแคร์บำรุงผิวให้ชุ่มชื้น จึงมีโอกาสเกิดขนคุดได้ง่าย ที่ต้นแขน ต้นขา ข้อศอก หรือหัวเข่า
  • รักแร้ : บริเวณรักแร้เป็นจุดที่มักเสียดสีกับเสื้อผ้า และเป็นจุดที่หลายคนนิยมกำจัดขน หากทำไม่ถูกวิธี จะทำให้ผิวระคายเคือง และเกิดขนคุดได้
  • ผิวกายและแผ่นหลัง : หลังและลำตัวเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ภายใต้ร่มผ้า หากดูแลความสะอาดไม่ทั่วถึง เกิดการสะสมแบคทีเรียและเชื้อโรค มักมีปัญหาสิวและขนคุดตามมาได้
  • แก้มและใบหน้า : บนใบหน้ามีขนอ่อนขนาดเล็ก และรูขุมขนเป็นจำนวนมาก เกิดการอุดตันได้ง่ายครับ ยิ่งผู้ชายที่โกนหนวดเคราบ่อย ๆ ก็ยิ่งมีโอกาสเกิดขนคุด
  • จุดซ่อนเร้น : ทั้งบริเวณอวัยวะเพศและแก้มก้น เป็นจุดที่ผิวบอบบางมากกว่าจุดอื่น ๆ มักเกิดปัญหาอับชื้น และเสียดสีกับเสื้อผ้า
ขนคุดเกิดบริเวณไหน
ตำแหน่งที่มักเกิดขนคุด

ขนคุดรักษาอย่างไร ?

อาการขนคุดไม่ได้เป็นอันตราย และมักหายไปเองเมื่อเราอายุเพิ่มมากขึ้นครับ เบื้องต้นควรหลีกเลี่ยงการเกาแรง ๆ ในตำแหน่งที่มีขนคุด เพราะอาจทำให้เกิดบาดแผล รอยดำ รอยแดง จนต้องใช้เวลารักษานานขึ้น

สำหรับใครที่ต้องการรักษาขนคุดให้หายขาด สามารถเริ่มจากการดูแลตัวเอง ร่วมกับปรึกษาแพทย์ผิวหนัง เพื่อเลือกวิธีที่เหมาะสมที่สุดครับ วิธีรักษาขนคุดที่ทำได้ด้วยตัวเอง และวิธีทางการแพทย์ มีดังนี้

  • ถอนขนคุด : ถ้ามีขนคุดเฉพาะบางจุดของร่างกาย ปริมาณไม่มาก สามารถใช้แหนบขุดเส้นขนให้โผล่และดึงออกมาได้ครับ วิธีนี้เป็นการรักษาขนคุดที่ปลายเหตุเท่านั้น ถ้าทำแรงเกินไป เสี่ยงเกิดการระคายเคืองและผิวหนังอักเสบได้
  • ขัดหรือสครับผิว : แนะนำให้ใช้การผลัดเซลล์ผิวด้วยวิธีธรรมชาติ เช่น ใยบวบ ขมิ้น มะขามเปียก ช่วยให้เซลล์ผิวไม่อุดตันรูขุมขน ผิวบริเวณที่เป็นขนคุดบางลง เส้นขนจึงหลุดออกได้ง่าย
ใยบวบรักษาขนคุด
การใช้ใยบวบสครับผิว เพื่อรักษาขนคุดด้วยตัวเอง
  • ประคบอุ่น : ใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำอุ่นประคบในตำแหน่งที่เป็นขนคุด นิยมทำบริเวณพื้นที่กว้าง ๆ เช่น ขา ช่วยให้รูขุมขนเปิดและขนคุดอ่อนลง ตุ่มนูนบนผิวหนังมีขนาดเล็กลง ผิวเรียบเนียนขึ้น รวมถึงช่วยบรรเทาอาการปวดในกรณีที่มีอาการรูขุมขนอักเสบ เป็นหนองได้
  • เครื่องเพิ่มความชื้นในอากาศ : หากมีขนคุด ร่วมกับผิวอักเสบ ผิวแห้ง และมีอาการคัน การเปิดเครื่องเพิ่มความชื้นในอากาศ เพื่อให้บรรยากาศในห้องไม่แห้งจนเกินไป ช่วยบรรเทาอาการคันและระคายเคืองได้ครับ
  • ใช้ผลิตภัณฑ์เพิ่มความชุ่มชื้น : ในกรณีที่อาการขนคุดแย่ลง เพราะผิวแห้ง หรือการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ ควรใช้ผลิตภัณฑ์เพิ่มความชุ่มชื้น และมอยส์เจอไรเซอร์ครับ แนะนำให้เลือกสูตรที่ผ่านการทดสอบ Non-comedogenic ซึ่งไม่มีส่วนผสมที่ทำให้เกิดภาวะรูขุมขนอุดตัน
รักษาขนคุด
ใช้มอยส์เจอไรเซอร์ ที่ผ่านการทดสอบ Non-comedogenic
  • ยากำจัดเซลล์ผิวที่ตายแล้ว : ยาที่มีส่วนผสมของกรดอัลฟาไฮดรอกซี, กรดแลคติก, กรดซาลิไซลิก, หรือยูเรีย ช่วยผลัดเซลล์ผิวที่ตายแล้ว และช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิว แต่อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองได้ ไม่แนะนำให้ใช้ในเด็ก หรือซื้อมาใช้เองครับ ควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์เท่านั้น
  • ครีมป้องกันการอุดตันของรูขุมขน : ยาเตรทติโนอิน มีส่วนผสมของวิตามินเอ ช่วยให้เกิดการหมุนเวียนของเซลล์และป้องกันการอุดตันของรูขุมขน ข้อเสียอาจก่อให้เกิดการระคายเคือง และผิวแห้งได้ รวมถึงเป็นอันตรายต่อผู้ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร จึงควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาครับ
  • ทำ IPL : เครื่อง IPL (Intense Pulsed Light) ช่วยรักษารอยแดง รอยดำ จากขนคุด และสิวอักเสบได้ครับ แต่ไม่สามารถแก้ปัญหาความขรุขระ และหยาบกร้านของผิวได้ ส่วนใหญ่แพทย์จะแนะนำให้ทำเลเซอร์กำจัดขนก่อน
  • เลเซอร์กำจัดขนคุด : การทำเลเซอร์ขน ไม่ว่าจะเป็น Diode Laser หรือ Yag Laser สามารถทำลายรากขนที่พยายามแทงผิวออกมาได้อย่างตรงจุด ทำให้ตุ่มนูนยุบลง ผิวเรียบเนียน โดยไม่เป็นอันตรายกับผิวบริเวณใกล้เคียง เป็นวิธีรักษาที่ดีและรวดเร็วที่สุดในการแก้ปัญหาขนคุดครับ รวมถึงยังช่วยป้องกันการเกิดขนคุดสำหรับผู้ที่ต้องการกำจัดขนส่วนเกินอีกด้วย
เลเซอร์ขนคุด
โปรแกรม Cool Yag 1064 นำเข้าจากอิตาลีและเยอรมัน
ใช้เครื่องเลเซอร์ Light B Evo-Long Pulse Nd: YAG 1064 nm กำจัดขนได้ลึกกว่า YAG Laser ทั่วไป
ทำงานร่วมกับเครื่องเป่าลมเย็น Cryo 7 ปรับระดับได้ ไม่เจ็บ ไม่เสียเวลาแปะยาชา

วิธีป้องกันขนคุด

หลังจากรู้ถึงสาเหตุขนคุดเกิดจากอะไร และรักษาอย่างไรแล้ว หมอแนะนำให้ดูแลผิวให้มีความชุ่มชื้น และแข็งแรงครับ ช่วยป้องกันไม่ให้กลับมาเป็นขนคุดซ้ำอีก

  • บำรุงผิวให้ชุ่มชื้นอยู่เสมอ เช่น มอยส์เจอไรเซอร์ กลีเซอรีน ควรหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของน้ำมัน เพราะทำให้รูขุมขนอุดตันได้
  • หลีกเลี่ยงการใช้โลชัน หรือน้ำหอมทาผิว ที่มีส่วนผสมของพาราเบน, สารปรอท, ไฮโดรควิโนน, กรดเรติโนอิก, สเตียรอยด์ เพราะทำให้ผิวอ่อนแอ และไวต่อมลภาวะต่าง ๆ ติดเชื้อได้ง่าย
  • หลีกเลี่ยงเสื้อผ้าที่รัดรูป หรือคับจนเกินไป เพื่อลดการเสียดสีในขณะเคลื่อนไหวร่างกาย โดยเฉพาะหลังจากการทำเลเซอร์ขน เช่น หลังเลเซอร์รักแร้ เลเซอร์บราซิลเลี่ยน
  • ทำความสะอาดผิวหน้าและผิวกายให้หมดจด ป้องกันการอุดตันในรูขุมขนได้
  • หลีกเลี่ยงการอาบน้ำร้อน หรืออยู่ในน้ำเป็นเวลานานเกินไป เพราะทำให้ผิวสูญเสียความชุ่มชื้น ผิวแห้งได้
  • เลือกผลิตภัณฑ์อาบน้ำที่ไม่ทำให้ผิวแห้งจนเกินไป ในผู้ที่มีปัญหาผิวแห้ง ลอก เป็นขุย ควรเลือกสบู่อาบน้ำที่มีสารเติมความชุ่มชื้นจากธรรมชาติ เช่น ว่านหางจระเข้, เซราไมด์, ไฮยาลูรอนิก แอซิด
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ เพื่อให้ระบบในร่างกายทำงานได้อย่างเป็นปกติ และป้องกันปัญหาผิวแห้งกร้านจากภาวะขาดน้ำ
  • ทาครีมกันแดด เพราะภายในแสงแดดมีทั้งรังสี UVA และ UVB ที่ทำให้ผิวอ่อนแอ แห้งกร้าน แก่กว่าวัย และผิวไหม้แดด
VSqare Tips (VSQ Tips)

ข้อควรรู้ : ระยะเวลาอาบน้ำที่เหมาะสม อยู่ระหว่าง 5-10 นาทีครับ ช่วยชะล้างคราบสกปรก โดยไม่ทำให้ผิวสูญเสียความชุ่มชื้น จนเกิดปัญหาผิวแห้งกร้าน ลอก เป็นขุย


สรุปขนคุดเกิดจากอะไร ? รักษาด้วยวิธีไหนเร็วและดีที่สุด

ขนคุดเกิดจากอะไร ? เกิดจากการอุดตันรูขุมขน ทำให้เส้นขนม้วนอยู่ใต้ผิวหนัง และดันผิวขึ้นมาเป็นตุ่มแข็งครับ เกิดได้ทั้งบริเวณใบหน้าและร่างกาย วิธีรักษามีทั้งการดูแลตัวเอง และวิธีทางการแพทย์ ซึ่งการทำเลเซอร์กำจัดขนเป็นวิธีที่รวดเร็วและตรงจุดที่สุด สามารถทำได้ทุกตำแหน่งของร่างกาย ไม่เป็นอันตรายต่อผิวหนังบริเวณใกล้เคียง

หากต้องการรักษาขนคุด หรือกำจัดขนส่วนเกิน ที่ V Square Clinic ให้บริการเลเซอร์ขนด้วยโปรแกรม Cool Yag 1064 ครอบคลุมพื้นที่ทั่วกรุงเทพฯ และปริมณฑล สามารถจองคิวและเข้ามาปรึกษาที่สาขาใกล้บ้านได้ครับ


สำหรับผู้อ่านทุกท่านที่มีข้อสงสัยเพิ่มเติม ทีมแพทย์ V Square Clinic ทุกคนยินดีให้คำปรึกษาฟรี โดยไม่มีค่าใช้จ่าย หรือสามารถปรึกษาหมอทาง inbox facebook หรือ Line นี้ได้เลยครับ หมอตอบเองครับ
Banner_Web_หมอให้คำปรึกษา_หมอ41คน

สามารถ comment สอบถามเข้ามาด้านล่างได้เลยนะครับ หมอตอบเองครับ

บทความแนะนำ

ตอบข้อสงสัย ฉีดฟิลเลอร์หน้าผากเป็นคลื่น เป็นก้อน ทั้งที่ใช้ฟิลเลอร์แท้ เกิดจากอะไร ?

Reading Time: 2 minutes - ลักษณะฉีดฟิลเลอร์หน้าผากแล้วเป็นคลื่น - ฉีดฟิลเลอร์หน้าผากเป็นคลื่น เป็นก้อน เกิดจากสาเหตุใด ? - เลือกฉีดฟิลเลอร์หน้าผากอย่างไรไม่ให้เป็นคลื่น เป็นก้อน - สรุป ฉีดฟิลเลอร์หน้าผากเป็นคลื่น ป้องกันได้

September 11, 2024 อ่านต่อ

ขูดฟิลเลอร์หน้าผาก คืออะไร ? อันตรายไหม ? ก่อนทำควรรู้อะไ...

Reading Time: 2 minutes - ขูดฟิลเลอร์หน้าผากอันตรายไหม ? - ขูดฟิลเลอร์หน้าผากเจ็บไหม ? - การเตรียมตัวก่อนขูดฟิลเลอร์หน้าผาก - ขั้นตอนขูดฟิลเลอร์หน้าผาก - วิธีดูแลหลังฉีดฟิลเลอร์ ไม่ให้ต้องมาขูดออก

ร้อยไหมมิ้นท์ (MINT Lift) คืออะไร ? เหมาะกับใคร ? ต่างจาก...

Reading Time: 4 minutes - ร้อยไหมมิ้นท์ เหมาะกับใคร ? - ร้อยไหมมิ้นท์ ช่วยอะไรได้บ้าง ? - ร้อยไหมมิ้นท์ ราคาเท่าไหร่ ? - การเตรียมตัวก่อนร้อยไหมมิ้นท์ - ขั้นตอนการร้อยไหมมิ้นท์

Fibroblast คืออะไร ? สำคัญต่อผิวพรรณและร่างกายอย่างไร ?

Reading Time: 2 minutes -Fibroblast คืออะไร ? -หน้าที่ของ Fibroblast -Fibroblast ทำงานอย่างไร ? -Fibroblast กับ ฟิลเลอร์ ทำด้วยกันได้ไหม ? -การเจริญเติบโตของ Fibroblast

ระบบผิวหนัง สำคัญอย่างไร ? มีกี่ชั้นผิว ? อยากให้ระบบผิวห...

Reading Time: 4 minutes - โครงสร้างระบบผิวหนัง คืออะไร ? มีอะไรบ้าง ? - ผิวหนังแต่ละชั้นช่วยอะไรบ้าง ? - ระบบผิวหนังที่ดี แข็งแรง มีลักษณะอย่างไร ? - รู้หรือไม่ ? อายุที่มากขึ้น ระบบผิวหนังและการดูแล ก็จะต่างกันออกไปด้ว - วิธีดูแลระบบผิวหนังให้แข็งแรง ด้วยตัวเอง

ขนคุด คืออะไร ? อันตรายไหม ? รู้สาเหตุ พร้อมแนะวิธีรักษาข...

Reading Time: 3 minutes - ทำความรู้จักขนคุด คืออะไร ? - ขนคุดมีลักษณะอย่างไร ? - ขนคุด อันตรายไหม ? - ขนคุด ขึ้นที่ไหนได้บ้าง ? - สาเหตุของการเกิดขนคุด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ สามารถศึกษานโยบายความเป็นส่วนตัวและจัดการความเป็นส่วนตัว ได้ที่ปุ่มตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า