อาการแพ้ฟิลเลอร์
อาการแพ้ฟิลเลอร์ มีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อยมากครับ ถ้าฉีดโดยใช้สารไฮยาลูรอนิกแอซิด (HA) ซึ่งมีข้อดีคือปลอดภัย ไม่ทำให้เกิดอาการแพ้ ไม่จำเป็นต้องทำการทดสอบอาการแพ้ก่อนฉีด มีความคงตัว อยู่ในร่างกายได้นานและสามารถสลายไปเอง แต่ใช่ว่าทุกคนสามารถฉีดฟิลเลอร์ได้ จะมีข้อยกเว้นในบางกรณี หมอจะอธิบายเพิ่มเติมในบทความนี้ครับ
ใครบ้างที่ไม่เหมาะกับการฉีดฟิลเลอร์ ?
ไม่ใช่ทุกคนที่สามารถฉีดฟิลเลอร์ได้ โดยการฉีดฟิลเลอร์ไม่เหมาะกับผู้ที่มีข้อจำกัด ดังนี้
- ผู้ที่มีอาการแพ้ฟิลเลอร์ หรือแพ้สารไฮยาลูรอนิก แอซิด ฉีดฟิลเลอร์ไม่ได้เด็ดขาด
- สตรีมีครรภ์ ผู้ที่ให้นมบุตร
- ผู้ที่มีปัญหาเลือดออกแล้วหยุดยาก มีแผลฟกช้ำง่าย โดยเฉพาะผู้ที่กำลังรับประทานยาที่มีผลต่อการแข็งตัวของเลือด เช่น แอสไพริน (ASA), ยาแก้อักเสบปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ (NSAIDS), ยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด (Warfarin), วิตามินอี (Vitamin E), สารสกัดจากใบแปะก๊วย (Gingko biloba) เป็นต้น
- กรณีที่เป็นเริม หรืองูสวัดอยู่ ควรหลีกเลี่ยงการฉีดฟิลเลอร์ เพราะอาจทำให้อาการกำเริบมากขึ้นได้ครับ
อาการแพ้ฟิลเลอร์และผลข้างเคียงที่อาจเกิดจากการฉีดฟิลเลอร์
ผลข้างเคียงหรืออาการแพ้ฟิลเลอร์สามารถเกิดขึ้นได้ แบ่งออกเป็นหลายประเภท ได้แก่
- เกิดรอยแดง หรือรอยช้ำบริเวณที่ฉีดฟิลเลอร์ ซึ่งหายได้เองภายใน 1-2 สัปดาห์
- การเกิดรอยนูน หรือผิวไม่เรียบ (beading) เนื่องจากใช้เทคนิคการฉีดที่ตื้นเกินไป เช่น การฉีดในบริเวณที่ชั้นผิวมีความบาง การฉีดฟิลเลอร์ปริมาณมากเกินไป หรือเลือกใช้ฟิลเลอร์ที่มีขนาดโมเลกุลไม่เหมาะสม ก็อาจทำให้เห็นฟิลเลอร์เป็นก้อน หรือเป็นรอยนูนได้ครับ
- เกิดปัญหาการเคลื่อนที่ของฟิลเลอร์ โดยฟิลเลอร์มีการเคลื่อนออกออกจากตำแหน่งที่ฉีด ไปยังบริเวณข้างเคียงที่ไม่ต้องการ มักเกิดเมื่อมีการฉีดฟิลเลอร์ใกล้ ๆ กับกล้ามเนื้อที่มีการขยับบ่อย ๆ ครับ
-
อาการแพ้ฟิลเลอร์ ที่มีลักษณะเป็นก้อน นูน แดงอักเสบ ซึ่งอาการแพ้ชนิดนี้บางครั้งอาจพบได้ ภายหลังการฉีด
ฟิลเลอร์ผ่านพ้นไปแล้วเป็นเวลาหลาย ๆ เดือนหรือเป็นปี ขึ้นกับอายุใช้งานของฟิลเลอร์ชนิดนั้น ๆ และภูมิคุ้มกันของผู้ที่รับการฉีด - อาการแพ้ฟิลเลอร์ที่มีลักษณะเป็นผื่น ลมพิษแบบรุนแรง (angioedema) จะพบได้น้อยมาก หากมีอาการต้องรีบพบแพทย์เพื่อรับการรักษาครับ
- การติดเชื้อภายหลังการฉีดฟิลเลอร์ มีอาการตั้งแต่ ปวดบวม แดง ร้อน มีตุ่ม หรือก้อนหนองบริเวณที่ฉีด เนื่องจากเทคนิควิธีการฉีดที่ไม่สะอาด คลินิกไม่ได้มาตรฐาน หรือฉีดกับหมอกระเป๋า
- การที่ฉีดฟิลเลอร์ผิดตำแหน่ง โดยฉีดเข้าไปโดนบริเวณหลอดเลือด โดยเฉพาะหลอดเลือดแดงอาจทำให้เกิดการอุดตันของหลอดเลือดได้นำไปสู่อาการเนื้อตาย (necrosis) บริเวณที่เส้นเลือดนั้นมาเลี้ยง
- ตาบอด ภายหลังการฉีดฟิลเลอร์เนื่องมาจาก ฟิลเลอร์ที่ฉีดเข้าไปอุดตัน บีบ หรือกดหลอดเลือดแดง (supratrochlear and supraorbital artery) ซึ่งมีแขนงต่อไปที่หลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงจอประสาทตา (ophthalmic artery) มีผลทำให้สูญเสียการมองเห็นได้
อย่างไรก็ตาม การเลือกฟิลเลอร์ที่มีขนาดโมเลกุลเหมาะสมและเทคนิคการฉีดที่ดีจะช่วยลดปัญหาฟิลเลอร์เคลื่อนที่จากบริเวณที่ฉีดและสามารถรักษาผลลัพธ์ของฟิลเลอร์ได้นานขึ้น
ฟิลเลอร์อักเสบคืออะไร ?
หลายคนที่กำลังคิดตัดสินใจว่าจะฉีดฟิลเลอร์ดีไหม? และกำลังชั่งใจเปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสียอยู่ เพราะเคยได้ยินได้ฟังมาว่าฉีดฟิลเลอร์แล้ว ฟิลเลอร์อักเสบ ซี่งเป็นหนึ่งในผลข้างเคียงหลังฉีดฟิลเลอร์ที่พบได้ครับ
โดยเฉพาะในกรณีที่ฉีดฟิลเลอร์ปลอม ฉีดฟิลเลอร์กับหมอเถื่อน หมอกระเป๋าที่ไม่รู้เทคนิคการฉีดฟิลเลอร์ที่ถูกต้อง เลือกคลินิกเสริมความงามที่ไม่ได้มาตรฐาน หรือการดูแลหลังฉีดฟิลเลอร์ที่ไม่ถูกวิธี ทั้งหมดนี้ทำให้เพิ่มโอกาสเกิดฟิลเลอร์อักเสบได้ครับ
ฟิลเลอร์อักเสบคืออะไร ? ฟิลเลอร์อักเสบ คือ เกิดการติดเชื้อภายหลังการฉีดฟิลเลอร์ ก่อให้เกิดการอักเสบ เป็นก้อน นูน แดง ปวด บวม ร้อน มีตุ่ม หรือมีก้อนหนองตรงบริเวณที่ฉีดได้ครับ
ถ้าหากมีอาการที่กล่าวมานี้ ต้องรีบมาพบแพทย์เพื่อทำการรักษา รับยาแก้ปวดไปรับประทานเพิ่ม หรือถ้าฟิลเลอร์อักเสบรุนแรง ต้องทำการฉีดสลายฟิลเลอร์ สลายได้เฉพาะฟิลเลอร์แท้เท่านั้น
วิธีสังเกตฟิลเลอร์อักเสบหรือไม่? อาการแรกที่แสดงให้เห็นก่อนคือ ฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อนบวมครับ ซึ่งเกิดจากรอยเข็ม จะค่อย ๆ ยุบหายได้เองใน 7-14 วัน แต่ถ้าหลังจากนั้นอาการบวมยังไม่ลดลง และมีอาการแสดงอื่น ๆ ร่วมด้วย ถือว่าผิดปกติครับ เช่น
- ปวดบริเวณที่ฉีดฟิลเลอร์มากขึ้น มากกว่าปกติ
- บวมขึ้นเรื่อย ๆ กดเจ็บบริเวณผิวหนังที่ฉีดฟิลเลอร์
- แดงหรือคล้ำที่ผิดปกติ บริเวณผิวหนังที่ฉีดฟิลเลอร์
- ร้อนบริเวณผิวหนังที่ฉีดฟิลเลอร์
ฉีดฟิลเลอร์แล้วบวมในลักษณะนี้ เป็นอันตราย เกิดจากฟิลเลอร์อักเสบจากการติดเชื้อ ต้องรีบพบแพทย์เพื่อทำการรักษาครับ
หลังฉีดฟิลเลอร์ห้ามกินอะไรเพื่อให้ฟิลเลอร์เข้าที่เร็วขึ้น ?
ถ้าอยากให้ฟิลเลอร์เข้าที่เร็วขึ้นและผลลัพธ์ดี ควรใส่ใจในการดูแลตัวเองหลังฉีดฟิลเลอร์ครับ และยังถือเป็นปัจจัยสำคัญในการรักษาผลลัพธ์ของฟิลเลอร์ให้อยู่ได้นานขึ้นอีกด้วย โดยเฉพาะเรื่องอาหารการกินที่บางอย่างควรหลีกเลี่ยงเพราะเป็นส่วนทำให้ฟิลเลอร์สลายเร็วขึ้นหรือกระตุ้นการอักเสบได้
- งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด เหล้า เบียร์ ไวน์ น้ำหมัก
- งดหมูกะทะ ปิ้งย่าง ชาบู ที่ต้องนั่งหน้าเตาร้อนๆ
- งดอาหารที่เผ็ดมากๆ แสบร้อนจนหน้าแดง
- งดอาหารหมักดอง เพราะมีสารที่ทำให้เส้นเลือดขยายตัว เช่น ปลาร้า หน่อไม้ดอง มะม่วงดอง
- งดอาหารที่หวานจัด ๆ นมวัว เพราะสามารถกระตุ้นการบวนการอักเสบได้
- หลีกเลี่ยงการกินอาหารดิบจากร้านอาหารที่ไม่สะอาดเนื่องจากพยาธิบางชนิดจะทำปฎิกริยากับฟิลเลอร์แล้วเกิดการอักเสบได้
- ควรงดสูบบุหรี่ ในบุหรี่มีสารหลายชนิดที่ขยายหลอดเลือด จะทำให้ยุบบวมช้า และผลการรักษาอยู่ได้สั้นลง
“ มีหลายงานวิจัยที่ระบุว่าสารชื่อ bromelain ที่อยู่ใน “แกน” สับปะรด สามารถกินเพื่อช่วยให้อาการปวดบวมช้ำหายได้ไวขึ้นอย่างชัดเจน ”
สรุป
จะเห็นได้ว่าอาการแพ้ฟิลเลอร์ ฟิลเลอร์อักเสบ เกิดได้จากหลายสาเหตุครับ หลัก ๆ คือ เทคนิควิธีการฉีดฟิลเลอร์ที่ไม่สะอาด คลินิกไม่ได้มาตรฐาน หรือฉีดกับหมอกระเป๋า ใช้ฟิลเลอร์ปลอม ซึ่งผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นจะมีอาการแสดงที่แตกต่างกันออกไป
นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับการดูแลหลังฉีดฟิลเลอร์ โดยเฉพาะเรื่องอาหารการกิน มีอาหารบางประเภทที่รับประทานเข้าไปแล้ว จะไปกระตุ้นกระบวนการอักเสบ เกิดเป็นก้อน นูน แดง ปวด บวม ร้อน มีตุ่ม หรือมีก้อนหนองตรงบริเวณที่ฉีด ส่งผลต่อความปลอดภัย การออกฤทธิ์ช้า-เร็ว และผลลัพธ์ที่ดีหลังฉีดฟิลเลอร์ครับ
ก่อนฉีดฟิลเลอร์จึงควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ให้เหมาะสมและถูกต้องตามกฎหมาย ควรฉีดโดยแพทย์เท่านั้น หากแพทย์มีเทคนิคการฉีดที่ดี มีประสบการณ์สูงก็จะช่วยลดโอกาสการเกิดปัญหาแพ้ฟิลเลอร์ ฟิลเลอร์อักเสบภายหลังและสามารถแก้ปัญหาของคนไข้ได้ตรงจุดครับ
สามารถ comment สอบถามเข้ามาด้านล่างได้เลยนะครับ หมอตอบเองครับ
โบท็อกถุงใต้ตา แก้ปัญหาถุงใต้ตาได้หรือไม่ เลือกวิธีไหนดี ?
Reading Time: 3 minutes- โบท็อกถุงใต้ตาดีไหม ? อันตรายหรือไม่ ? - ถุงใต้ตา-ริ้วรอยใต้ตา เกิดจากอะไร ? - วิธีแก้ไขปัญหาถุงใต้ตา - วิธีดูแลปัญหารอบดวงตา - สรุป โบท็อกถุงใต้ตา แก้ปัญหาถุงใต้ตาได้หรือไม่ ?
เลเซอร์ขนกี่ครั้งเห็นผล ? ต้องทำกี่ครั้ง ? ทำแล้วขนหายถาว...
Reading Time: 2 minutes- เลเซอร์ขนกี่ครั้งเห็นผล ? - เลเซอร์ขนทำแล้วขนหายถาวรไหม ? - เลเซอร์ขนต้องทำกี่ครั้ง ? - เลเซอร์ขนแล้วขนไม่หลุดเกิดจากอะไร ?
เลเซอร์ขน ราคาแต่ละตำแหน่ง ต่างกันไหม ? รวมราคาแต่ละบริเว...
Reading Time: 3 minutes- เลเซอร์ขน ราคาแต่ละบริเวณ - ปัจจัยที่ส่งผลต่อราคาเลเซอร์ขน - เลเซอร์ขนต้องทำกี่ครั้ง ? - เลือกเลเซอร์ขนที่ไหนดี ?
เลเซอร์ขนน้องชาย ทำดีไหม ? ต้องทำกี่ครั้ง ? เจ็บไหม ? เตร...
Reading Time: 3 minutes- เลเซอร์ขนน้องชาย ควรทำดีไหม ? - เลเซอร์ขนน้องชาย อันตรายไหม ? - เลเซอร์ขนน้องชาย เหมือนกับเลเซอร์บราซิลเลี่ยนของผู้หญิงไหม ? - รวมทุกเรื่องที่ควรรู้ ก่อนตัดสินใจเลเซอร์ขนน้องชาย - รีวิวเลเซอร์ขนน้องชาย ราคาถูก ๆ ปลอดภัยไหม พิจารณาอะไรบ้าง ?
เลเซอร์ขนขาครั้งแรกควรรู้อะไรบ้าง ข้อดี-ข้อควรระวัง เครื่...
Reading Time: 4 minutes- วิธีการกำจัดขนขา - หลักการทำงานของ Laser ขนขา - ข้อดี - ข้อควรระวังของการ Laser ขนขา - เลเซอร์ขนขาครั้งแรกควรเตรียมตัวอย่างไร ? - ข้อควรรู้ก่อนเลเซอร์ขนขา
เลเซอร์หนวด เครา มีกี่แบบ ? เจ็บไหม ? อยู่ได้ถาวรไหม ?
Reading Time: 4 minutes- เลเซอร์หนวด เครา คืออะไร ? - เลเซอร์หนวด เครา อันตรายไหม ? - เครื่องเลเซอร์หนวด เครา มีกี่แบบ ? - เลเซอร์หนวดผู้หญิง กับเคราผู้ชาย ต่างกันไหม ? - ก่อนเลเซอร์หนวด เคราเตรียมตัวอย่างไร ?