ง่วงนอนตลอดเวลา
อาการง่วงนอนตลอดเวลา เป็นปัญหาหนึ่งในปัญหาที่พบได้บ่อย ๆ ครับ โดยเฉพาะผู้ที่ต้องทำงานในออฟฟิศ ที่มีอาการง่วงนอนบ่อย ๆ ง่วงนอนตลอดทั้งวัน จนกลายเป็นอุปสรรคในการทำงาน
จริง ๆ แล้ว การนอนเป็นกิจกรรมพื้นฐานที่สำคัญต่อร่างกายและจิตใจของมนุษย์ การได้นอนหลับพักผ่อนอย่างเต็มที่ช่วยให้ร่างกายได้ซ่อมแซมตัวเอง สมองได้ประมวลข้อมูล และระบบภูมิคุ้มกันได้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ แต่สำหรับหลายคน แม้จะนอนหลับเป็นเวลาที่เพียงพอแล้ว กลับยังรู้สึกง่วงนอนอยู่เสมอ ความรู้สึกเหนื่อยล้าและง่วงซึมติดตัวไปตลอดทั้งวัน
ในบทความนี้ เราจะมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับอาการง่วงนอนตลอดเวลา สาเหตุ โรคที่อาจเกี่ยวข้อง ผลกระทบ และวิธีการรับมือ รวมถึงทางเลือกในการรักษาต่าง ๆ เพื่อให้สามารถกลับมามีชีวิตที่กระปรี้กระเปร่าและมีพลังอีกครั้ง
- ปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการง่วงนอนตลอดเวลา มาจากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นความเครียด การนอนหลับที่ไม่ดี พักผ่อนไม่เพียงพอ ฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง การได้รับยาบางชนิด ไม่ชอบออกกำลังกาย เป็นต้น
- การบำรุงสมองให้แข็งแรงอยู่เสมอเป็นสิ่งที่เราควรให้ความสำคัญ แนะนำพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่เครียด การเลือกทานอาหาร หรือดริปวิตามินบำรุงสมอง ป้องกันภาวะสมองล้า
- การดริปวิตามินบำรุงสมอง Brain Flow No Brain เป็นหนึ่งในตัวช่วยสำคัญในการลดความเหนื่อยล้าของสมอง เสริมสมาธิ เพิ่มความจำ ช่วยให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
สารบัญ ง่วงนอนตลอดเวลา
ง่วงนอนตลอดเวลาเกิดจากสาเหตุใด ผิดปกติหรือไม่ ?
อาการง่วงนอนตลอดเวลาสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น การอดนอน, นอนไม่พอ, หลับไม่สนิท, การเปลี่ยนแปลงของระบบการนอนหลับที่ไม่เหมาะสม, ภาวะเครียดสะสม สมองล้า, ปัญหาสุขภาพทางจิต, การใช้ยา ตลอดจนโรคต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการนอน ซึ่งล้วนเป็นสิ่งที่ควรระมัดระวัง เพราะหากละเลย หรือปล่อยให้เกิดอาการลักษณะนี้เป็นเวลานาน ๆ ก็อาจจะส่งผลต่อสุขภาพระยะยาวหรือเกิดโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมาได้
รวมรายละเอียดสาเหตุอาการง่วงนอนตลอดเวลาที่พบได้บ่อย ๆ
- พฤติกรรมการนอนไม่เหมาะสม
การนอนไม่เพียงพอเป็นสาเหตุหลักที่พบบ่อยที่สุดครับ ผู้ใหญ่ทั่วไปต้องการการนอนหลับประมาณ 7-9 ชั่วโมงต่อคืนครับ
ในกรณีที่นอนน้อยกว่านี้เป็นประจำ ร่างกายจะสะสม “หนี้การนอน” (Sleep Debt) ซึ่งทำให้รู้สึกเหนื่อยล้าตลอดเวลา
นอกจากนี้ การที่มีตารางการนอนที่ไม่สม่ำเสมอ เช่น นอนดึกในวันหยุดและตื่นเช้าในวันทำงาน ก็ทำให้นาฬิกาชีวภาพ (Circadian Rhythm) ของร่างกายสับสน ส่งผลให้รู้สึกง่วงในเวลากลางวันได้
- คุณภาพการนอนไม่ดี
แม้ว่าบางคนจะนอนครบ 8 ชั่วโมง แต่หากคุณภาพการนอนไม่ดี ร่างกายก็จะไม่ได้รับการพักผ่อนที่เพียงพอเช่นกันครับ ทั้งนี้คุณภาพการนอนที่ไม่ดีอาจเกิดจากการตื่นบ่อยระหว่างคืน การนอนในสภาพแวดล้อมที่มีเสียงรบกวน แสงสว่างมากเกินไป หรืออุณหภูมิไม่เหมาะสม เป็นต้น
- ความเครียดและปัญหาสุขภาพจิต
ความเครียด ความวิตกกังวล และภาวะซึมเศร้า มีผลต่อคุณภาพการนอนอย่างมากครับ ผู้ที่มีความเครียดสูง ทำงานหนัก มีเรื่องให้คิดตลอดเวลาจนสมองล้า (Brain Fog) มักมีปัญหาในการเข้านอน หรือตื่นกลางดึกและไม่สามารถหลับต่อได้ สภาวะทางจิตใจเหล่านี้ยังส่งผลให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนความเครียด เช่น คอร์ติซอล (Cortisol) ซึ่งรบกวนวงจรการนอนและทำให้รู้สึกเหนื่อยล้า มึนงง อ่อนล้าในเวลากลางวัน
- ผลข้างเคียงจากยา
ยาหลายชนิดมีผลข้างเคียงทำให้เกิดอาการง่วงนอน ได้แก่ ยาแก้แพ้ ยาลดความดันโลหิต ยาคลายกล้ามเนื้อ ยากล่อมประสาท ยาระงับปวด และยาลดการอักเสบบางชนิด หากรับประทานยาเหล่านี้แล้วเริ่มรู้สึกง่วงผิดปกติหลังจากเริ่มใช้ยาใหม่ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อพิจารณาปรับเปลี่ยนยาหรือขนาดยาครับ
- พฤติกรรมการใช้ชีวิตและโภชนาการ
การขาดการออกกำลังกาย การรับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์หรือมีน้ำตาลสูง การดื่มแอลกอฮอล์และคาเฟอีนมากเกินไปโดยเฉพาะในช่วงเย็นหรือก่อนนอน ล้วนส่งผลต่อคุณภาพการนอนและทำให้รู้สึกเหนื่อยล้าในวันถัดไป
นอกจากนี้ การขาดวิตามินและแร่ธาตุบางชนิด เช่น วิตามินบี วิตามินดี ธาตุเหล็ก กรดอะมิโน เปปไทด์ วิตามิน เกลือแร่ และสารต้านอนุมูลอิสระต่าง ๆ ก็สามารถทำให้รู้สึกเหนื่อยและขาดพลังงาน ทำให้รู้สึกง่วงนอนตลอดเวลาได้ครับ
ง่วงนอนตลอดเวลา อันตรายไหม ผิดปกติหรือไม่ ?
ในกรณีที่มีอาการง่วงนอนตลอดเวลาเป็นครั้งคราว ยังถือเป็นเรื่องปกติครับ โดยเฉพาะในช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงตารางชีวิต การเดินทางข้ามเขตเวลา (Jet lag) หรือหลังจากช่วงที่นอนน้อยเนื่องจากการทำงานหรือการเรียนที่หนัก
อย่างไรก็ตาม หากอาการง่วงนอนเกิดขึ้นเป็นประจำแม้ว่าจะพยายามที่เข้านอนเร็ว เพื่อให้ได้เวลาการนอนที่เพียง แต่ก็ยังรู้สึกง่วงนอน อ่อนเพลีย จนส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน ลักษณะเช่นนี้ ถือว่าเป็นความผิดปกติที่ควรปรึกษาแพทย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น การนอนกรน การหยุดหายใจขณะหลับ หรือมีอาการง่วงที่รุนแรงจนทำให้หลับโดยไม่ตั้งใจในระหว่างวัน
อาการง่วงนอนตลอดเวลา เป็นโรคอะไรได้บ้าง ?
ในกรณีที่อาการง่วงนอนตลอดเวลา ที่ผิดปกติ อาจเป็นสัญญาณของโรคบางโรค ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัยและรักษาอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะโรคเหล่านี้
- ภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น (Obstructive Sleep Apnea)
เป็นโรคที่พบบ่อยที่สุดในกลุ่มความผิดปกติของการนอนหลับ เกิดจากทางเดินหายใจส่วนบนถูกปิดกั้นชั่วคราวขณะหลับ ทำให้การหายใจหยุดชะงักเป็นช่วง ๆ ส่งผลให้คุณภาพการนอนลดลงและรู้สึกง่วงในเวลากลางวันครับ
ผู้ที่มีภาวะนี้มักจะมีอาการนอนกรนดัง หายใจติดขัด รู้สึกเหนื่อยเมื่อตื่นนอน และมีอาการปวดศีรษะในตอนเช้า โรคนี้พบบ่อยในผู้ที่มีน้ำหนักเกิน มีคอสั้นและหนา หรือมีเนื้อเยื่ออ่อนในช่องคอมากเกินไป
- โรคลมหลับ (Narcolepsy)
เป็นโรคทางระบบประสาทที่ทำให้สมองไม่สามารถควบคุมวงจรการหลับและการตื่นได้อย่างปกติ ผู้ป่วยมักมีอาการง่วงนอนอย่างรุนแรงในเวลากลางวันและอาจหลับโดยไม่ตั้งใจแม้ในขณะทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ขับรถ หรือทำงาน
นอกจากนี้ ยังอาจมีอาการอื่น ๆ เช่น อาการหลับโดยกะทันหันเมื่อมีอารมณ์แรง (Cataplexy) ประสบการณ์คล้ายฝันขณะเคลื่อนไหวไม่ได้ก่อนหลับหรือหลังตื่น (Sleep Paralysis) และภาพหลอนขณะใกล้หลับหรือใกล้ตื่น (Hypnagogic / Hypnopompic Hallucinations)
- โรคนอนไม่หลับ (Insomnia)
โรคนอนไม่หลับทำให้ผู้ป่วยมีปัญหาในการเข้านอน การนอนหลับต่อเนื่อง หรือการตื่นเช้าเกินไปและไม่สามารถหลับต่อได้ แม้ว่าอาการหลักของโรคนี้คือการนอนไม่หลับ แต่ผลลัพธ์ที่ตามมาคืออาการง่วงและเหนื่อยล้าในเวลากลางวัน โรคนี้อาจเกิดจากความเครียด ความวิตกกังวล การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน หรือแม้แต่ความเชื่อและทัศนคติที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการนอน
- โรคซึมเศร้าและโรควิตกกังวล
โรคทางจิตเวชเหล่านี้มักส่งผลต่อการนอนหลับ ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าอาจมีทั้งอาการนอนมากเกินไปหรือนอนน้อยเกินไป และยังมีความเหนื่อยล้าเป็นหนึ่งในอาการสำคัญ ส่วนโรควิตกกังวลมักทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับการนอน ส่งผลให้นอนไม่หลับและรู้สึกเหนื่อยในวันถัดไป
- โรคไฮโพไทรอยด์ (Hypothyroidism)
เป็นภาวะที่ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยเกินไป ทำให้เมตาบอลิซึมของร่างกายช้าลง ส่งผลให้รู้สึกเหนื่อยล้าและง่วงนอนตลอดเวลา
นอกจากนี้ ยังอาจมีอาการอื่น ๆ เช่น ผิวแห้ง ทนความหนาวได้น้อยลง ผมร่วง น้ำหนักเพิ่ม และท้องผูก
- โรคทางเดินหายใจอื่น ๆ
โรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจ เช่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) โรคหอบหืด หรือโรคถุงลมโป่งพอง อาจทำให้การหายใจขณะนอนหลับเป็นไปได้ยากขึ้น ส่งผลให้คุณภาพการนอนลดลงและรู้สึกเหนื่อยล้าในเวลากลางวัน
- โรคขาดสารอาหารและวิตามิน
การขาดวิตามินและแร่ธาตุที่สำคัญบางชนิด เช่น วิตามินบี 1 วิตามินบี12 ธาตุเหล็ก วิตามินดี หรือแมกนีเซียม อาจทำให้รู้สึกเหนื่อยล้าและง่วงนอนตลอดเวลาได้ โดยเฉพาะภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก (Iron Deficiency Anemia) ที่พบได้บ่อยในผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์
ผลเสียของปัญหาง่วงนอนตลอดเวลา
อาการง่วงนอนตลอดเวลาที่ไม่ได้รับการแก้ไข นอกจากจะส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตโดยตรงแล้ว ยังอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงในระยะยาว ดังนี้
- ผลกระทบต่อการทำงานและการเรียน
อาการง่วงนอนทำให้สมาธิและความจำลดลง ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการทำงาน เรียนลดลง ทำให้การตัดสินใจช้าลง เสี่ยงเกิดข้อผิดพลาดมากขึ้น ความคิดสร้างสรรค์ลดลง นอกจากนี้ ยังอาจส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุในที่ทำงานได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะงานที่ต้องใช้ความแม่นยำหรือเครื่องจักรที่อันตราย
- ความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ
การขับรถขณะง่วงนอนเป็นสาเหตุสำคัญของอุบัติเหตุบนท้องถนนครับ ร่างการอ่อนเพลีย ง่วงนอนมาก ๆ มีความเสี่ยงเทียบเท่ากับการขับรถขณะมึนเมา ซึ่งการหลับในขณะขับรถแม้เพียงเสี้ยววินาทีก็สามารถนำไปสู่อุบัติเหตุที่ร้ายแรงได้ครับ
นอกจากนี้ อาการง่วงนอนยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุในชีวิตประจำวันอื่น ๆ เช่น การตกบันได การใช้เครื่องใช้ไฟฟ้า หรือการทำงานบ้านเป็นต้น
- ง่วงนอนตลอดเวลาเสี่ยงปัญหาสุขภาพจิต
อาการง่วงนอนตลอดเวลาเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพจิต เช่น ภาวะซึมเศร้าและความวิตกกังวล ในขณะเดียวกัน ปัญหาสุขภาพจิตที่มีอยู่แล้วก็อาจแย่ลงเนื่องจากการนอนหลับที่ไม่เพียงพอ เกิดเป็นวงจรที่ทำให้ทั้งอาการง่วงนอนและปัญหาสุขภาพจิตแย่ลงไปพร้อมกัน
- ผลกระทบต่อความสัมพันธ์และชีวิตทางสังคม
คนที่นอนไม่พอ มีอาการง่วงนอนตลอดเวลาสามารถส่งผลทำให้อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย ขาดความอดทน และมีพลังงานไม่เพียงพอในการทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น ซึ่งแน่นอนว่าส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง
นอกจากนี้ อาการง่วงนอนยังอาจทำให้ขาดความสนใจในกิจกรรมทางสังคมที่เคยชื่นชอบ นำไปสู่การแยกตัวจากสังคม
- ผลเสียต่อสุขภาพร่างกายในระยะยาว
การอดนอนเรื้อรังและคุณภาพการนอนที่ไม่ดีมีความเชื่อมโยงกับการเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคเรื้อรังหลายชนิด ได้แก่
- โรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจขาดเลือด และโรคหลอดเลือดสมอง
- โรคเมตาบอลิก เช่น เบาหวานชนิดที่ 2 และโรคอ้วน
- ภูมิคุ้มกันบกพร่อง ทำให้ติดเชื้อได้ง่ายขึ้น
- ระบบย่อยอาหารผิดปกติ เช่น กรดไหลย้อน และกระเพาะอาหารอักเสบ
- ความเสื่อมของระบบประสาทและสมอง ซึ่งอาจนำไปสู่การเสื่อมถอยของความจำและความเสี่ยงต่อโรคสมองเสื่อมในระยะยาว
- ผลกระทบต่อการควบคุมน้ำหนัก
การนอนไม่เพียงพอส่งผลต่อการทำงานของฮอร์โมนที่ควบคุมความอยากอาหาร ได้แก่ เลปติน (Leptin) ซึ่งช่วยให้รู้สึกอิ่ม และเกรลิน (Ghrelin) ที่กระตุ้นความรู้สึกหิว การขาดการนอนหลับทำให้ระดับเลปตินลดลงและเกรลินเพิ่มขึ้น ส่งผลให้รู้สึกหิวมากขึ้น กินอาหารมากขึ้น โดยเฉพาะอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตและไขมันสูง นำไปสู่การเพิ่มขึ้นของน้ำหนักและความเสี่ยงต่อโรคอ้วนได้ง่ายครับ
- ผลกระทบต่อระบบประสาทและสมอง
การนอนไม่เพียงพอเป็นประจำอาจส่งผลต่อการทำงานของสมอง ได้แก่
- ความจำและการเรียนรู้ลดลง เนื่องจากสมองไม่ได้รับการประมวลข้อมูลอย่างเพียงพอในช่วงการนอนหลับ
- ความสามารถในการแก้ปัญหาและคิดวิเคราะห์ลดลง
- การตอบสนองช้าลง ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย
- ความคิดสร้างสรรค์ลดลง
- อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย
วิธีการรับมืออาการง่วงนอนตลอดเวลา
วิธีการรับมืออาการง่วงนอนตลอดเวลาสามารถทำได้ตัวเราเองไปถึงการเข้ารับการรักษาตามความรุนแรงของอาการ ดังนี้
1. ปรับปรุงสุขอนามัยการนอน (Sleep Hygiene)
- กำหนดเวลานอนและตื่นให้สม่ำเสมอ : พยายามนอนและตื่นในเวลาเดียวกันทุกวัน แม้แต่ในวันหยุดสุดสัปดาห์ เพื่อรักษาจังหวะนาฬิกาชีวภาพของร่างกาย
- สร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการนอน : ห้องนอนควรมืด เงียบ และมีอุณหภูมิที่เหมาะสม (ประมาณ 18-22 องศาเซลเซียส) อาจใช้ม่านกันแสง ที่อุดหู หรือเครื่องสร้างเสียงธรรมชาติ (White noise) ช่วยได้
- หลีกเลี่ยงการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ก่อนนอน : แสงสีฟ้าจากหน้าจอโทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ หรือโทรทัศน์ รบกวนการผลิตเมลาโทนิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ช่วยในการนอนหลับ ควรหยุดใช้อุปกรณ์เหล่านี้อย่างน้อย 1 ชั่วโมงก่อนนอน
- จำกัดการนอนกลางวัน : หากจำเป็นต้องงีบหลับในตอนกลางวัน ไม่ควรนอนนานเกิน 20-30 นาที และไม่ควรงีบหลังเวลา 15.00 น. เพราะอาจส่งผลต่อการนอนในตอนกลางคืน
2. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและอาหารการกิน
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ : การออกกำลังกายเป็นประจำช่วยปรับปรุงคุณภาพการนอน แต่ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหนักภายใน 2-3 ชั่วโมงก่อนนอน เนื่องจากอาจทำให้นอนยากขึ้น
- เลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนและแอลกอฮอล์ : หลีกเลี่ยงการดื่มชา กาแฟ น้ำอัดลม หรือเครื่องดื่มชูกำลังที่มีคาเฟอีนหลังเที่ยงวัน แอลกอฮอล์อาจช่วยให้หลับง่ายขึ้น แต่จะรบกวนการนอนในช่วงหลังของคืนและทำให้คุณภาพการนอนแย่ลง
- รับประทานอาหารให้เหมาะสม : หลีกเลี่ยงอาหารหนักในตอนเย็น โดยเฉพาะอาหารที่มีไขมันสูง เผ็ด หรือมีกรดมาก ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการกรดไหลย้อนและรบกวนการนอน ควรรับประทานอาหารเย็นอย่างน้อย 2-3 ชั่วโมงก่อนนอน
- จัดการความเครียด : ฝึกเทคนิคการผ่อนคลาย เช่น การฝึกหายใจลึกๆ การทำสมาธิ โยคะ หรือการนวด เพื่อลดความเครียดและความวิตกกังวลซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการนอนไม่หลับ
- รับแสงแดดให้เพียงพอ : การได้รับแสงแดดธรรมชาติในตอนเช้าช่วยปรับนาฬิกาชีวภาพและกระตุ้นการตื่นตัว ในขณะที่ช่วงเย็นควรลดแสงสว่างลงเพื่อเตรียมร่างกายสำหรับการนอน
3. เข้ารับการรักษาทางการแพทย์
ในกรณีที่มีอาการรุนแรงมีอาการง่วงนอนตลอดเวลานาน ๆ หรือในช่วงกลางคืนมีภาวะนอนไม่หลับ หลับไม่สนิท ตื่นกลางดึกบ่อย ๆ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง และเข้ารับการรักษาอย่างตรงจุดครับ เนื่องจากอาจมีความเสี่ยงเกิดโรค ซึ่งวิธีการตรวจรักษาอาจมีทั้ง
- การตรวจการนอนหลับ (Polysomnography) เพื่อประเมินคุณภาพการนอนและค้นหาความผิดปกติต่าง ๆ
- การตรวจเลือดเพื่อหาภาวะขาดธาตุเหล็ก โรคไทรอยด์ หรือเบาหวาน
- การประเมินทางจิตวิทยาเพื่อวินิจฉัยโรคซึมเศร้าหรือวิตกกังวล
ทั้งนี้การตรวจรักษาในแต่ละเคสอาจแตกต่างกันขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ครับ
4.ฟื้นฟูร่างกาย ดริปวิตามินบำรุงสมอง
การดริปวิตามิน (Vitamin Drip) หรือการให้วิตามินทางหลอดเลือดดำ เป็นอีกวิธีที่ช่วยเรียกคืนความสดใส ปัจจุบันกำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นในการแก้ปัญหาอาการเหนื่อยล้าและง่วงนอน โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ที่มีตารางชีวิตที่เร่งรีบและต้องการผลลัพธ์ที่รวดเร็ว
การดริปวิตามินบำรุงสมอง เป็นการให้สารอาหาร วิตามิน แร่ธาตุ และสารต้านอนุมูลอิสระทางหลอดเลือดดำโดยตรง แทนที่จะรับประทานในรูปแบบอาหารหรืออาหารเสริม ซึ่งทำให้ร่างกายดูดซึมสารอาหารได้ 100% และออกฤทธิ์เร็วกว่า เนื่องจากไม่ต้องผ่านระบบทางเดินอาหาร สูตรการดริปที่นิยมใช้เพื่อบำรุงสมอง ที่ V Square Wellness Center จะเป็นสูตร Brain Flow No Brain ที่เน้นช่วยลดความเหนื่อยล้าของสมอง ช่วยให้มีสมาธิและความจำดีขึ้น ร่วมถึงช่วยให้สภาพร่างกายกลับมากระปรี้กระเปร่าอีกครั้งครับ
รู้จักสูตรดริปวิตามินบำรุงสมอง (Brain Flow No Brain)
การดริปวิตามินบำรุงสมอง ที่ V Square Wellness Center จะเป็นสูตร Brain Flow No Brain เป็นการฉีดสารเปปไทด์ที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาทหลายชนิด ช่วยเพิ่มความสามารถของสมองในการซ่อมแซมตัวเองโดยการกระตุ้นการฟื้นฟูของระบบประสาท รวมถึงวิตามินต่าง ๆที่ช่วยลดความเหนื่อยล้า เพิ่มความสดชื่น พร้อมทำงาน
เหมาะสำหรับ : ผู้ที่ประสบความเหนื่อยล้าของสมอง ผู้ที่ต้องการตัวช่วยเพิ่มสมาธิ เพิ่มประสิทธิภาพในการรับรู้และความจำ
ประโยชน์ สูตรดริปวิตามินบำรุงสมอง (Brain Flow No Brain)
สูตรวิตามินบำรุงสมอง Brain Flow No Brain จะประกอบด้วยวิตามินและตัวยาสำคัญที่ช่วยเพิ่มความสามารถของสมองดังนี้
- วิตามินบีรวม (B Complex)
ประโยชน์ของวิตามิน B Complex คือมีวิตามินบีหลายชนิดประกอบเข้าด้วยกัน ซึ่งจะทำงานร่วมกันเพื่อสนับสนุนกระบวนการทางชีวเคมีและสุขภาพของร่างกาย เช่น
- B1 : ช่วยระบบประสาทและเผาผลาญพลังงาน
- B2 : ต้านอนุมูลอิสระและสนับสนุนการผลิตพลังงาน
- B3 : ส่งเสริมสุขภาพหัวใจและการไหลเวียนเลือด
- B5 : ช่วยสร้างฮอร์โมนและเผาผลาญไขมัน
- B6 : สนับสนุนระบบประสาทและภูมิคุ้มกัน
- B7 : เสริมสร้างเส้นผม ผิวหนัง และเล็บ
- B9 : สำคัญต่อการพัฒนาของเซลล์
- B12 : บำรุงระบบประสาทและสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง
- วิตามิน B12
วิตามินบี 12 ในสูตรดริปวิตามินบำรุงสมอง (Brain Flow No Brain) จะช่วยในการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดงและการทำงานของระบบประสาท ช่วยป้องกันภาวะโลหิตจาง (Anemia) ที่ทำให้ร่างกายอ่อนเพลียและเหนื่อยง่าย
สามารถช่วยในการบำรุงการทำงานของสมอง ความจำ และซ่อมแซมเส้นประสาท ช่วยลดระดับโฮโมซิสเตอีน (Homocysteine) ซึ่งเป็นสารที่มีความเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด รวมถึงช่วย ช่วยให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งและลดความเสี่ยงของผมร่วงหรือเล็บเปราะได้ด้วยครับ
- เปปไทด์ ( Cerebrolysin)
Cerebrolysin เป็นชื่อยี่ห้อของสารสกัดเปปไทด์ที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาทหลายชนิด ช่วยเพิ่มความสามารถของสมองในการซ่อมแซมตัวเองโดยการกระตุ้นการฟื้นฟูของระบบประสาท สามารถกระตุ้นการสร้างและซ่อมแซมเซลล์สมอง (neuroregeneration) โดยช่วยเพิ่มการสร้างเซลล์ประสาทและการงอกใหม่ของเส้นใยประสาท ช่วยฟื้นฟูเนื้อเยื่อสมองที่เสียหายจากการบาดเจ็บ, โรคหลอดเลือดสมอง, หรือภาวะสมองเสื่อม และ ช่วยปรับปรุงการทำงานของสมองในด้านการเรียนรู้ ความจำ และสมาธิ
ข้อดีการดริปวิตามินบำรุงสมอง (Brain Flow No Brain)
- เพิ่มพลังงานทันที : ผู้ที่ได้รับการดริปวิตามิน Brain Flow No Brain จะรู้สึกกระปรี้กระเปร่าและมีพลังงานเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งสามารถช่วยแก้ปัญหาอาการง่วงนอนในระยะสั้นได้
- การทำงานของสมองดีขึ้น : สูตรดริปวิตามิน Brain Flow No Brain จะประกอบด้วยวิตามินบีเป็นส่วนประกอบหลัก ซึ่งสามารถ ช่วยเพิ่มความสามารถในการจดจำ สมาธิ และความคิดสร้างสรรค์ได้
- ลดความเครียดและความวิตกกังวล : วิตามินบียังช่วยลดความเครียดและความวิตกกังวล ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของปัญหาการนอนหลับ
- แก้ไขภาวะขาดวิตามินอย่างรวดเร็ว : สำหรับผู้ที่มีภาวะขาดวิตามินอย่างรุนแรง การดริปวิตามินสามารถเติมเต็มระดับวิตามินในร่างกายได้อย่างรวดเร็วกว่าการรับประทานอาหารเสริม
- ช่วยฟื้นฟูร่างกายหลังการเจ็บป่วย : การดริปวิตามินช่วยเร่งการฟื้นฟูร่างกายหลังการเจ็บป่วย ช่วยให้ร่างกายกลับมามีพลังงานและตื่นตัวได้เร็วขึ้น
ข้อควรระวังในการดริปวิตามินบำรุงสมอง
สูตรดริปวิตามิน Brain flow no Brain fog มีข้อห้ามในการใช้ในกลุ่มบุคคลเหล่านี้
- ผู้ที่อยู่ระหว่างการตั้งครรภ์
- ผู้ที่มีประวัติแพ้ยา Sodium hydroxide
- ผู้ป่วยโรคลมชัก ผู้ป่วยโรคไต
ทั้งนี้ การดริปวิตามินสามารถช่วยบำรุงสมอง และแก้ปัญหาอาการง่วงนอนตลอดเวลาได้เพียงชั่วคราว และไม่สามารถทดแทนการนอนหลับที่มีคุณภาพหรือการแก้ไขสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา คนไข้จำเป็นต้องดูแลตัวเองร่วมด้วย
ดริปวิตามินสูตร Brain Flow No Brain Fog ที่ V Square Wellness Center
ที่ V Square Wellness Center มีให้บริการ ดริปวิตามินบำรุงสมอง Brain Flow No Brain ราคา 2,900.-/ 1 ครั้ง สามารถให้ได้ทุก 2-4 สัปดาห์ ซึ่งต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์ครับ
นอกจาก การดริปวิตามินสูตร Brain Flow No Brain Fog แล้ว ที่ V Square Wellness Center ยังมีบริการให้คำปรึกษาโดยแพทย์ ไม่มีค่าใช้จ่าย และมีวิตามินหลายสูตรให้เลือกครับ ทั้งในกลุ่ม Healthy Booster และมี Aura White Booster สำหรับคนที่ต้องการเน้นงานผิวโดยเฉพาะ
สรุป ง่วงนอนตลอดเวลา อย่าละเลย เช็กสาเหตุเพื่อดูแลตัวเองอย่างเหมาะสม
สำหรับผู้ที่มีอาการง่วงนอนตลอดเวลา รู้สึกอ่อนเพลียทั้งที่พักผ่อนเพียงพอ ควรเข้าปรึกษาเเพทย์เพื่อวินิจฉัยโรคให้ถูกต้องครับ เพื่อร่างกายจะได้กลับมามีสุขภาพกายดี สุขภาพจิตสดใสอีกครั้ง
สำหรับผู้ที่สนใจการดริปวิตามิน สามารถเข้ามาปรึกษาแพทย์ได้โดยตรง โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ที่ V Square Wellness Center สาขา เซ็นทรัลเวิลด์ ชั้น 5 โซน Wellness ใกล้ลิฟต์แก้ว