หัวใจเต้นเร็ว ใจสั่น อาการที่ไม่ควรมองข้าม
หัวใจเต้นเร็ว ใจสั่น เป็นอาการที่หลายคนเคยพบเจอในชีวิตประจำวันครับ เช่น ออกกำลังกาย อยู่ในภาวะตื่นเต้น เครียด หรือวิตกกังวล ซึ่งไม่เป็นอันตราย และหายได้เอง เมื่อร่างกายกลับเข้าสู่ภาวะปกติ อย่างไรก็ตาม หากมีอาการใจสั่นบ่อยครั้ง หรือเกิดขึ้นโดยไม่มีสาเหตุที่ชัดเจน อาจเป็นสัญญาณเตือนถึงโรคเรื้อรัง หรือความผิดปกติของหัวใจที่ควรได้รับการตรวจเช็กครับ
หมอจะพามาทำความเข้าใจว่า อาการหัวใจเต้นเร็ว ใจสั่นเกิดจากอะไร ? อัตราการเต้นของหัวใจที่ปกติเป็นอย่างไร ? อาการแบบไหนที่ควรกังวล และเมื่อไหร่ที่ควรไปพบแพทย์ ? รวมถึงแนะนำแนวทางดูแลสุขภาพในเชิง Wellness เพื่อเสริมความแข็งแรงให้กับหัวใจและระบบประสาท ลดความเสี่ยงของอาการใจสั่น และช่วยให้ร่างกายโดยรวมทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นครับ
หัวใจเต้นเร็ว ใจสั่น
- ใจสั่น คือ ภาวะที่หัวใจเต้นเร็ว แรง กระแทก หรือเต้นไม่สม่ำเสมอ รู้สึกได้บริเวณหน้าอก ลำคอ หรือข้างในหู มีทั้งแบบที่เป็นอันตราย และไม่เป็นอันตราย ขึ้นอยู่กับสาเหตุ
- หัวใจเต้นเร็ว ใจสั่น สามารถเกิดจากสิ่งกระตุ้นต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น ความโกรธ ตกใจ วิตกกังวล ดื่มคาเฟอีน หรือแอลกอฮอล์ หรือเกิดจากความผิดปกติด้านร่างกาย เช่น โรคหัวใจ โลหิตจาง หรือไทรอยด์เป็นพิษ
- การดูแลสุขภาพร่างกายและหัวใจให้แข็งแรง เช่น ออกกำลังกาย ควบคุมน้ำหนัก หรือดริปวิตามิน สามารถลดความเสี่ยงเกิดอาการใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว ที่เกิดจากโรคเรื้อรังได้
สารบัญ หัวใจเต้นเร็ว ใจสั่น
หัวใจเต้นเร็ว ใจสั่น คืออะไร ? ทำไมต้องใส่ใจอาการนี้ ?
ใจสั่น (Palpitations) คือ ภาวะที่หัวใจเต้นเร็ว เต้นแรง หรือมีจังหวะการเต้นไม่สม่ำเสมอ ในบางรายอาจรับรู้ความรู้สึกได้ที่บริเวณลำคอ หน้าอก หรือข้างในหูร่วมด้วย หากอัตราการเต้นของหัวใจสูงกว่า 100 ครั้ง/นาที จะเรียกว่าภาวะหัวใจเต้นเร็ว (Tachycardia) ครับ
อาการหัวใจเต้นเร็ว ใจสั่น อาจเกิดขึ้นชั่วคราวและไม่เป็นอันตราย เช่น ในระหว่างออกกำลังกาย รู้สึกเครียด หรือดื่มคาเฟอีน แต่ในบางกรณีอาจเป็นสัญญาณเตือนของความผิดปกติเกี่ยวกับหัวใจ หรือโรคเรื้อรังอื่น ๆ ที่ควรดูแลทางการแพทย์ ดังนั้นการใส่ใจและสังเกตอาการเหล่านี้จึงมีความสำคัญครับ
หัวใจของเราทำงานอย่างไร ? อัตราการเต้นของหัวใจ โดยทั่วไปเป็นแบบไหน ?
ก่อนเราจะไปเจาะลึกถึงอาการและสาเหตุของหัวใจเต้นเร็ว ใจสั่น หมออยากให้คนไข้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับอัตราการเต้นและการทำงานของหัวใจก่อนครับ
หัวใจของเราในภาวะปกติ จะเต้นเป็นจังหวะสม่ำเสมอ อยู่ที่ 60-100 ครั้ง/นาที และความถี่ช้า-เร็วจะเปลี่ยนแปลงไปตามกิจกรรมที่ทำ ถ้ามีการเคลื่อนไหวมาก เลือดสูบฉีดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้น หัวใจก็จะเต้นเร็วขึ้น แต่ถ้าเคลื่อนไหวน้อย นอนหลับ ใช้พลังงานไม่มาก หัวใจก็จะเต้นช้าลงได้ ค่าเฉลี่ยทั่วไปดังนี้
ในกรณีที่หัวใจเต้นช้ากว่า 60 ครั้ง/นาที เรียกว่า ภาวะหัวใจเต้นช้า (Bradycardia) แต่ในกรณีที่เร็วกว่า 100 ครั้ง/นาที จะเรียกว่า ภาวะหัวใจเต้นเร็ว (Tachycardia) หากมากเกิน 150 ครั้ง/นาที จะเป็นระดับอันตรายครับ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยสุขภาพ อายุ และการใช้ชีวิตแต่ละคนร่วมด้วย
ยกตัวอย่างเช่น ผู้ที่ออกกำลังกายเป็นประจำ หรือนักกีฬา อัตราการเต้นของหัวใจระหว่างพักอาจอยู่ที่ 50-60 ครั้ง/นาที หรือกลุ่มที่อายุน้อย ๆ อาจมีอัตราการเต้นของหัวใจสูงถึง 150 ครั้ง/นาที ได้เป็นปกติ ดังนั้นการจะวินิจฉัยว่าหัวใจเต้นเร็ว ใจสั่นของคนไข้นั้น ถือเป็นความผิดปกติไหม ? ก็ต้องอาศัยการสังเกตอาการอื่น ๆ ร่วมด้วยครับ
สาเหตุของอาการหัวใจเต้นเร็ว ใจสั่น
หัวใจเต้นเร็ว ใจสั่น อันตรายไหม ? ขึ้นอยู่กับสาเหตุ และระดับความรุนแรงของอาการครับ เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น ในหัวข้อนี้หมอจะแบ่งสาเหตุไว้ 2 กลุ่ม ดังนี้
สาเหตุทั่วไป
ในการใช้ชีวิตประจำวันของเรา สามารถเจอสิ่งกระตุ้นที่ทำให้หัวใจเต้นเร็ว ใจสั่นได้ครับ ซึ่งอาการมักเกิดขึ้นแค่ชั่วครั้งชั่วคราว และหายได้เอง เมื่อร่างกายกลับสู่ภาวะปกติ
- การออกกำลังกายหนัก : เมื่อเรามีการเคลื่อนไหวร่างกายมาก ๆ และต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน หัวใจจะเต้นแรงและเร็วขึ้น เพื่อสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อ จึงอาจรู้สึกใจสั่น เหนื่อยได้
- ผลข้างเคียงจากยา : อาการหัวใจเต้นเร็ว ใจสั่น เป็นหนึ่งในผลข้างเคียงของยารักษาโรคประจำตัว หรือยาบางกลุ่มครับ เช่น ยาพ่นหอบหืด ยาปฏิชีวนะ ยาลดอาการหวัดคัดจมูก ยารักษาความดันโลหิตสูง หรือยารักษาโรคหัวใจ นอกจากนี้ยังเกิดจากการใช้สารเสพติดอีกด้วย
- อารมณ์และความรู้สึก : เมื่อรู้สึกวิตกกังวล เครียด กลัว หรือตื่นเต้น ร่างกายจะหลั่งอะดรีนาลีนและคอร์ติซอลออกมา เพื่อให้ร่างกายพร้อมป้องกันตัว ซึ่งส่งผลต่อความดันโลหิตและการเต้นของหัวใจ ทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น เหงื่อออกมาก ใจสั่น หายใจติดขัด หรือเจ็บหน้าอกได้
- การบริโภคคาเฟอีน : คาเฟอีนเป็นสารกระตุ้นที่ทำให้สมองตื่นตัว และร่างกายกระฉับกระเฉงขึ้น พบมากในกาแฟ ชา และเครื่องดื่มชูกำลัง หากดื่มมากเกินไป ก็อาจทำให้เกิดอาการใจสั่นได้ครับ
- การกินอาหารบางชนิด : หลังจากกินอาหารมื้อหนัก หรือผู้ที่มีภาวะไวต่ออาหารบางชนิด (Food Sensitivity) เช่น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อาหารไขมันสูง น้ำตาลสูง มีผงชูรสและโซเดียม
- การพักผ่อนไม่เพียงพอ : หากนอนน้อยกว่า 6 ชั่วโมง/วัน สมองลดการหลั่งเมลาโทนิน ทำให้ระบบประสาทอัตโนมัติทำงานเพิ่มขึ้น หัวใจเต้นเร็วขึ้น และความดันโลหิตสูงขึ้น ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจโตได้
- การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน : ระหว่างมีรอบเดือน ตั้งครรภ์ หรือวัยหมดประจำเดือน ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน บางรายอาจรู้สึกใจสั่นได้ นอกจากนี้ในระหว่างการตั้งครรภ์ หัวใจยังเต้นเร็วขึ้น เพราะมีการสูบฉีดเลือดเพิ่มมากขึ้น เพื่อเลี้ยงทารกในครรภ์อีกด้วย
- อาการติดเชื้อ : โดยทั่วไปเมื่อเราป่วย เป็นไข้หวัดร่างกายจะใช้พลังงานมากขึ้น เพื่อต่อสู้กับความเจ็บป่วยครับ ทำให้หัวใจสูบฉีดเลือดมากขึ้น และเต้นเร็วขึ้นได้
- น้ำตาลในเลือดต่ำ : สำหรับผู้ที่ลดน้ำหนักด้วยวิธีอดอาหาร หรือกินอาหารไม่ตรงเวลา อาจมีอาการมือสั่น เหงื่อออก อ่อนเพลีย ใจหวิว ๆ หรือใจสั่นได้ครับ หากร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่าเกณฑ์
ข้อควรรู้ : ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia) เกณฑ์ของบุคคลทั่วไปอยู่ที่ 55 Mg/dL ส่วนผู้ป่วยโรคเบาหวานอยู่ที่ 70 Mg/dL
สาเหตุที่ควรเฝ้าระวัง
บางครั้งหัวใจเต้นเร็ว ใจสั่น ก็อาจเป็นหนึ่งในอาการของโรคเรื้อรังบางกลุ่มครับ หากอาการเกิดขึ้นบ่อยครั้ง หรือหาสาเหตุที่ชัดเจนไม่ได้ ควรพบแพทย์ เพื่อวินิจฉัยและรักษาอย่างเหมาะสม
- โรคหัวใจ (Heart Disease) : โครงสร้างหัวใจผิดปกติแต่กำเนิด หรือในกลุ่มผู้สูงอายุที่เนื้อเยื่อเสื่อมสภาพ เช่น โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนาผิดปกติ
- ไทรอยด์เป็นพิษ (Hyperthyroidism) : ภาวะที่ร่างกายหลั่งฮอร์โมนไทรอยด์มากเกินความจำเป็น ซึ่งจะเข้าไปเร่งระบบเผาผลาญ และกระตุ้นการทำงานของหัวใจ ทำให้มีอาการใจสั่น มือสั่น หรือน้ำหนักลดลงผิดปกติ มักคลำเจอก้อนบริเวณลำคอ
- โลหิตจาง หรือภาวะซีด (Anemia) : ภาวะที่มีความเข้มข้นของเลือดแดงต่ำกว่าปกติ ทำให้ได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ มักมีอาการเหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย หัวใจเต้นเร็ว หรือรู้สึกเหนื่อยเวลาออกแรง วูบ หน้ามืด เวียนศีรษะ รวมถึงอาจมีปัญหาเล็บเปราะง่าย ผมร่วง และผิวแห้ง
- โรคทางจิตเวช (Mental Disorder) : โรควิตกกังวล (Anxiety Disorder) โรค PTSD (Post-Traumatic Stress Disorder) หรือโรคตื่นตระหนก (Panic Disorder)
หัวใจเต้นเร็ว ใจสั่น มีอาการอะไรบ้าง?
อาการหัวใจเต้นเร็ว ใจสั่น มักพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายครับ โดยมีลักษณะ ดังนี้
- หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ มากกว่า 100 ครั้ง/นาที หรือหัวใจเต้นสั่นไหว
- หัวใจเต้นแรง หัวใจเต้นกระแทก รู้สึกตุบ ๆ ไปถึงตำแหน่งอื่น ๆ เช่น ลำคอ หน้าอก หรือข้างในหู
- หัวใจเต้นผิดจังหวะ มีจังหวะขาด จังหวะเกิน คร่อมจังหวะ หรือเหมือนหยุดเต้นไปชั่วขณะ
และอาจมีอาการหายใจไม่อิ่ม หายใจลำบาก เวียนศีรษะ มึนงง และรู้สึกแน่นหน้าอกร่วมด้วย
อาการหัวใจเต้นเร็ว ใจสั่น แบบไหนที่ควรพบแพทย์ ?
หากมีอาการหัวใจเต้นเร็ว ใจสั่น เกิดขึ้นบ่อยครั้ง โดยหาสิ่งกระตุ้นที่ชัดเจนไม่ได้ หรือมีอาการรุนแรงอื่น ๆ เช่น วูบ หมดสติ เจ็บและแน่นหน้าอก เวียนศีรษะรุนแรง หายใจหอบเหนื่อยอย่างรุนแรง ควรรีบพบแพทย์ครับ
การวินิจฉัยมักใช้การซักประวัติร่วมกับการตรวจอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG/EKG) การเอกซเรย์ทรวงอก หรือการทดสอบสมรรถภาพหัวใจ (Stress Test)
ในเบื้องต้นแนะนำให้คนไข้เตรียมข้อมูลทางการแพทย์ เช่น โรคประจำตัว ยาและวิตามินที่กินเป็นประจำ และข้อมูลเกี่ยวกับอาการหัวใจเต้นเร็ว ใจสั่น ก็จะช่วยในการวินิจฉัยได้ง่ายยิ่งขึ้น ได้แก่
- ช่วงเวลาและความถี่ในการเกิดอาการ เช่น เกิดตลอดทั้งวันไหม แต่ละครั้งเกิดกี่นาที
- ปัจจัยที่เป็นตัวกระตุ้น เช่น อาหารบางชนิด ความรู้สึก หรือสาเหตุไม่แน่ชัด
- ลักษณะอาการ และความรู้สึก เช่น หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ มีอาการเจ็บหน้าอก หายใจลำบาก หรือหมดสติ
- อัตราการเต้นของหัวใจขณะที่เกิดอาการ เช่น การวัดชีพจรด้วยตัวเอง หรือข้อมูลจาก Smart Watch
- อาการตอนหายเป็นปกติ เช่น อาการค่อย ๆ ดีขึ้น อาการหายทันทีทันใด หรือทำอะไรที่ช่วยให้อาการดีขึ้น
หัวใจเต้นเร็ว ใจสั่น รักษาอย่างไร ?
โดยทั่วไป หากอาการไม่รุนแรง มักหายได้เอง อาจไม่จำเป็นต้องพบแพทย์ครับ แต่แนะนำให้หลีกเลี่ยงหรือหยุดพฤติกรรมที่เป็นตัวกระตุ้น เช่น หยุดดื่มแอลกอฮอล์ เลิกใช้สารเสพติด หรือหาวิธีผ่อนคลายเวลาเกิดความเครียด
ส่วนในกรณีอาการหัวใจเต้นเร็ว ใจสั่น เกิดจากโรคอื่น ๆ แพทย์จะเลือกใช้วิธีที่เหมาะสมกับโรคนั้น ๆ ครับ เช่น การจี้หัวใจรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ การใช้ยากินรักษาผู้ที่เป็นโรคตื่นตระหนก หรือการให้อาหารเสริมธาตุเหล็กในผู้ที่มีภาวะโลหิตจาง
วิธีดูแลสุขภาพเชิง Wellness เสริมความแข็งแรงของหัวใจ และร่างกาย ลดอาการใจสั่น
การดูแลสุขภาพเชิง Wellness เป็นการดูแลร่างกายและจิตใจให้แข็งแรง โดยมุ่งเน้นที่การป้องกันก่อนเกิดโรค และลดความเสี่ยงการเกิดโรคต่าง ๆ ครับ สำหรับผู้ที่ต้องการเสริมความแข็งแรงของหัวใจ หรือลดอาการใจสั่น มีหลายวิธี ดังนี้
1. ฝึกหายใจอย่างถูกวิธีจัดการกับความเครียด
ความเครียดเป็นภาวะปกติที่หลายคนต้องเผชิญในแต่ละวันอยู่แล้วครับ นอกจากการผ่อนคลายด้วยการทำงานอดิเรก ออกกำลังกาย หรือปรึกษากับผู้อื่น อีกวิธีที่สามารถทำได้ คือ การหายใจด้วยกล้ามเนื้อกะบังลม
เวลาเราเกิดความเครียด โกรธ หรือวิตกกังวล เราจะหายใจถี่ และตื้น ทำให้ออกซิเจนไปเลี้ยงร่างกายได้ลดลง หัวใจเต้นเร็ว และใจสั่นได้ ซึ่งหากปรับมาใช้กล้ามเนื้อกะบังลมในการหายใจแทน จะช่วยให้ร่างกายได้อากาศเข้าสู่ปอดเพิ่มขึ้น และเพิ่มออกซิเจนในเลือดได้ หัวใจก็จะเต้นช้าลงจนกลับสู่ภาวะปกติ เราก็จะรู้สึกผ่อนคลายครับ สามารถทำได้ตามแนวทางต่อไปนี้
- นั่งในท่าที่สบายและผ่อนคลาย หลับตาลง โดยวางมือประสานไว้บริเวณท้อง
- ค่อย ๆ หายใจเข้า พร้อมนับเลข 1-4 เป็นจังหวะช้า ๆ ให้รู้สึกว่าท้องพองออก
- กลั้นหายใจเอาไว้สักพัก นับ 1-4 เป็นจังหวะช้า ๆ
- ค่อย ๆ ผ่อนลมหายใจออกจนหมด นับ 1-8 เป็นจังหวะช้า ๆ ให้รู้สึกว่าหน้าท้องแฟบลง
ควรทำติดต่อกันประมาณ 4-5 ครั้ง เมื่อรู้สึกเครียด โกรธ ไม่สบายใจ หรือทุกครั้งที่นึกได้ครับ ในแต่ละวันควรทำให้ได้ประมาณ 40 ครั้ง แต่ไม่จำเป็นต้องทำต่อเนื่องให้ครบในรอบเดียว
2. นอนพักผ่อนให้เพียงพอ
เมื่อเราหลับสนิท หัวใจจะเข้าสู่ภาวะซ่อมแซมตัวเอง และพักผ่อนครับ อัตราการเต้นของหัวใจจะช้าลง และความดันโลหิตจะต่ำลงด้วย ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงเกิดโรคความดันโลหิตสูง หัวใจโต และหัวใจเต้นผิดจังหวะได้ อ้างอิงข้อมูลจาก National Sleep Foundation แนะนำให้ผู้ใหญ่นอนวันละ 7-9 ชั่วโมง
3. ออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ
การออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ (Cardio Exercises) ช่วยเสริมสร้างการทำงานของระบบหัวใจ และปอดได้ครับ ช่วยเพิ่มสมรรถภาพของหัวใจและหลอดเลือดให้ดีขึ้น สำหรับมือใหม่อาจเริ่มที่การออกกำลังกายที่ไม่รุนแรงมาก แต่เน้นความต่อเนื่อง เช่น การวิ่งเหยาะ ๆ การว่ายน้ำ การปั่นจักรยาน หรือกระโดดเชือก
4. ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
โรคอ้วนเพิ่มภาระให้หัวใจทำงานหนักขึ้น เนื่องจากต้องสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายมากขึ้น ทำให้ปริมาณเลือดและแรงดันในหัวใจสูงขึ้น เสี่ยงต่อภาวะหัวใจล้มเหลว ความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดผิดปกติ งานวิจัยหลายฉบับพบว่า BMI ที่สูงขึ้นสัมพันธ์กับความเสี่ยงโรคหัวใจที่เพิ่มขึ้น การควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ (BMI 18.5 – 22.90) ช่วยลดภาระหัวใจและป้องกันโรคหัวใจในระยะยาวครับ
5. เสริมวิตามินและสารอาหารที่ช่วยบำรุงหัวใจและหลอดเลือด
นอกจากการกินอาหารให้ครบห้าหมู่แล้ว อาจเน้นอาหารกลุ่มที่มีวิตามินและสารอาหารที่ส่งเสริมการทำงานของหัวใจ และหลอดเลือด เช่น
- โอเมก้า 3 : ช่วยลดระดับไตรกลีเซอไรด์ ความดันโลหิต และการจับตัวเป็นลิ่มเลือด ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงเกิดโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมองได้ครับ พบมากในปลาและปลาทะเล เช่น แซลมอน ปลาแมคคอเรล ปลาทูน่า
- วิตามินบี 3 : ส่งเสริมสุขภาพหัวใจและการไหลเวียนเลือด บำรุงสมอง และยังช่วยเรื่องสุขภาพผิว ป้องกันเซลล์ผิวหนังจากการทำลายของแสงแดด พบในอาหารหลายชนิด เช่น เนื้อสัตว์ สัตว์ปีก ปลา เมล็ดพืช และพืชตระกูลถั่ว
- วิตามินบี 6 : ช่วยสร้างสารสื่อประสาท ที่ทำหน้าที่ควบคุมอารมณ์และการทำงานของสมอง ช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน และลดระดับโฮโมซิสเตอีน (Homocysteine) ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด พบในอาหารหลายชนิด เช่น กล้วย มันฝรั่ง เนื้อไก่ ปลาแซลมอน
- วิตามินบี 9 : ช่วยสร้างหลอดเลือดแดงและการเติบโตของเซลล์ในร่างกาย รวมถึงลดความเสี่ยงต่อโรคมะเร็ง พบในอาหารหลายชนิด เช่น กล้วย อะโวคาโด ไข่ และกะหล่ำปลี
- วิตามินบี 12 : ช่วยสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดงที่แข็งแรง ป้องกันภาวะโลหิตจาง และช่วยลดระดับโฮโมซิสเตอีน พบมาในอาหารจำพวกเนื้อ ปลา ไข่ นม และตับ
- สารฟลาโวนอยด์ (Flavonoid) : สารต้านอนุมูลอิสระ ที่ช่วยต้านการอักเสบ และลดความเสี่ยงเกิดโรคหลายชนิด เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคมะเร็ง พบมากในผักและผลไม้ เช่น ผลไม้ตระกูลเบอร์รี องุ่นแดง ทับทิม ชาเขียว โกโก้ และช็อกโกแลต
6. ดริปวิตามิน เติมสารอาหารแบบเร่งด่วน ฉบับคนไม่มีเวลา
สำหรับในรายที่ไม่ชอบกินวิตามินหรืออาหารเสริม การดริปวิตามินเป็นอีกทางเลือกดูแลสุขภาพที่ได้รับความนิยมครับ เป็นการนำวิตามินเข้มข้น และสารอาหารที่จำเป็นกับร่างกาย มาฉีดเข้าสู่หลอดเลือดโดยตรง ช่วยให้ร่างกายนำไปใช้ประโยชน์ได้ทันที เหมาะกับผู้ที่ต้องการฟื้นฟูร่างกาย ลดความเหนื่อยล้าแบบเร่งด่วน ไม่มีเวลาดูแลตัวเอง
หากคนไข้ไม่แน่ใจว่า ตัวเองเหมาะกับการดูแลตัวเองด้วยวิธีไหน หรือต้องการปรับวิธีการดูแลตัวเองให้ดียิ่งขึ้น สามารถเข้ามาปรึกษา V Square Wellness Center ได้ครับ มีโปรแกรมตรวจสุขภาพเบื้องต้น พร้อมวางแผนการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ให้คำปรึกษาโดยแพทย์
IV Drip สูตร Brain Flow No Brain Fog ช่วยลดอาการหัวใจเต้นเร็ว ใจสั่นได้อย่างไร ?
Brain Flow No Brain Fog เป็นสูตร IV Drip ที่มีส่วนผสมหลัก คือ Vitamin B Complex และ Vitamin B12 ที่มีบทบาทสำคัญต่อการทำงานของหัวใจและระบบประสาท โดย Vitamin B12 ช่วยเสริมสร้างการผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดง ป้องกันภาวะโลหิตจาง ลดความเหนื่อยล้า ส่วน Vitamin B Complex โดยเฉพาะวิตามิน B1 และ B6 มีส่วนช่วยลดความเครียดจากภายในได้
นอกจากนี้ยังมีสารสกัดเปปไทด์ ที่ช่วยฟื้นฟูระบบประสาท เพิ่มความสามารถของสมองในการซ่อมแซมตัวเอง ส่งเสริมสมาธิ ลดอาการเหนื่อยล้า และช่วยให้ร่างกายรู้สึกสดชื่นมากขึ้น เมื่อสมองและระบบประสาททำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็จะช่วยลดความรู้สึกใจสั่น หัวใจเต้นเร็วที่เกิดจากความเครียดหรือความวิตกกังวลได้ครับ
IV Drip สูตร Brain Flow No Brain Fog ตัวช่วยบำรุงสมอง เสริมความจำ ลดความเครียด
นอกจากสูตรนี้แล้ว โปรแกรม IV Drip ของ V Square Clinic ยังมีให้เลือกหลายสูตร ทั้งสูตรบำรุงร่างกาย และสูตรบำรุงผิวพรรณครับ ก่อนดริปวิตามิน แพทย์จะช่วยประเมินสุขภาพของคนไข้ทุกเคส เพื่อความปลอดภัย และปรับสูตรให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล ให้คำปรึกษาฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย มาพร้อมโปรโมชันและแพ็กเกจราคาคุ้มค่า ให้เลือกตามความต้องการ
ราคาโปรโมชันดริปวิตามินที่ V Square Clinic
สรุปหัวใจเต้นเร็ว ใจสั่น เป็นสัญญาณเตือนสุขภาพหรือแค่เครียด ?
อาการหัวใจเต้นเร็ว ใจสั่น อาจเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ตั้งแต่ความเครียด การพักผ่อนไม่เพียงพอ ไปจนถึงภาวะทางสุขภาพที่ควรเฝ้าระวังครับ หากอาการเป็นชั่วคราว มักไม่อันตราย แต่ถ้าเกิดขึ้นบ่อย ๆ หรือมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น เวียนศีรษะ หายใจลำบาก แนะนำให้เข้ารับการตรวจประเมินโดยแพทย์
การเสริมสร้างสุขภาพหัวใจและระบบประสาทให้แข็งแรงเป็นแนวทางป้องกันที่สำคัญ ซึ่งสามารถทำได้ด้วยการออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ และบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ รวมถึงการดริปวิตามิน ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งครับ สิ่งสำคัญ คือ ต้องเลือกคลินิกที่ได้มาตรฐาน และฉีดโดยแพทย์เท่านั้น เพื่อความปลอดภัยและประสิทธิภาพสูงสุด
อ้างอิง
- National Sleep Foundation’s sleep time duration recommendations: methodology and results summary. Hirshkowitz, Max et al. Sleep Health: Journal of the National Sleep Foundation, Volume 1, Issue 1, 40 – 43
- Akil L, Ahmad HA. Relationships between obesity and cardiovascular diseases in four southern states and Colorado. J Health Care Poor Underserved. 2011;22(4 Suppl):61-72. doi: 10.1353/hpu.2011.0166. PMID: 22102306; PMCID: PMC3250069.
- คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. (2562), ดัชนีมวลกาย สำคัญอย่างไร | อ.ดร.พญ.ถิรจิต บุญแสน เข้าถึงได้จาก https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=1361
- กรมสุขภาพจิต. เทคนิคการผ่อนคลายความเครียด การฝึกหายใจ. เข้าถึงได้จาก https://dmh.go.th/download/politic_crisis/techno/เทคนิคการคลายเครียดด้วยการควบคุมลมหายใจ.pdf